Skip to main content

ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา

 

 

แกลลอรีนี้มีงานของศิลปินดังๆ และงานศิลปะยุโรปสำคัญๆ ครบยุค แม้จะไม่มาก ไม่สามารถอวดแข่งประชันอะไรกับใครได้ แต่ก็มีงานดีพอ มากพอ ที่จะให้คนที่นี่ได้เรียนรู้ งานที่ประทับใจผมเองมีหลายชิ้น 

 

ที่ชอบมากคืองานสเก็จของพอล รูเบนส์ ที่เคยเห็นแต่ในหนังสือ เมื่อได้เห็นของจริงก็ยิ่งตื่นตะลึง ที่จริงที่นี่มีงานสีน้ำมันของพอล รูเบนส์ด้วย ชิ้นใหญ่มาก หรือประติมากรรมแกะงาช้างชิ้นหนึ่ง น่าประทับใจมาก ส่วนงานรุ่นอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็พอมี อย่าง The Thinker ของออกุส โรแดงเวอร์ชั่นเล็ก ที่นี่ก็มี กับมีงานของคามิล ปิซาโรหลายชิ้นทีเดียว 

 

ที่น่าสังเกตคือวิธีเล่าเรื่อง แม้ว่าจะยังตามขนบการเล่าหลักตามลำดับเวลาและความเปลี่ยนแปลงของแนวการเขียนรูป แต่ก็มีคำอธิบายสรุป และก็เน้นการให้คนเข้าใจความเป็นยุคสมัยรวมๆ ไปพร้อมๆ กับการแสดงงานเดี่ยวของศิลปิน อีกนัยหนึ่งคือเน้นทั้งความเป็นประวัติศาสตร์ส่วนรวม และทักษะกับการสร้างสรรค์ส่วนตน 

 

คอลเลกชั่นที่น่าทึ่งมากคือบรรดางานประติมากรรมขนาดมหึมาของเฮนรี่ มัวร์ ที่มักเคยเห็นสักชิ้นสองชิ้นในแต่ละแกลลอรี แต่ที่นี่อุทิศห้องใหญ่แสดงงานเฮนรี มัวชนิดที่ว่า เดินเข้าไปแล้วราวกับเข้าไปในสุสาน แถมก่อนเข้าห้องนี้ยังมีการอธิบายว่า มัวร์ได้อิทธิพลและพัฒนางานต่อจากโรแดง ที่เริ่มมีงานประติมากรรมเรือนร่างคนแบบตัดส่วน จนทำให้กลายเป็นรูปทรงนามธรรม 

 

เมื่อดูไปสักพัก ก็เริ่มสงสัยว่าแล้วศิลปินแคนาดาล่ะ มีไหม เขาทำอะไรกัน แล้วเมื่อขึ้นไปชั้นสองก็ได้เจอผลงานของศิลปินแคนาดาทันที (ความจริงมีคอลเลกชี่นศิลปะแอฟริกันและศิลปะอินเดียนพื้นเมืองอยู่อีกมากเช่นกัน) 

 

 

งานของศิลปินแคนาดามักค้นหาอัตลักษณ์ตนเองผ่านชีวิตคนพื้นเมือง เน้นแลนด์สเคปของแคนาดา และวัสดุที่บอกเล่าความเป็นนักบุกเบิก นักเดินทางเข้ามาในทวีป กลุ่มศิลปินที่บุกเบิกค้นหารูปแบบศิลปะสมัยใหม่แบบแคนาดามามีตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 

 

ที่ท้าทายหน่อยคือการจัดแสดงรูปโดยไม่ติด caption ด้วยคำอธิบายว่า ไม่อยากให้คนดูสาละวนอยู่กับการอ่านข้อความ อยากให้ดูรูปมากกว่า แล้วค่อยไปอ่านเอาจากแผ่นคำอธิบาย ที่เขาก็มีให้ดูใกล้ๆ กับรูปนั่นแหละ แต่ไม่อยากติดข้างรูป 

 

สุดท้าย ผมตื่นตาตื่นใจกับห้องใต้ดินที่มีคอลเลกชั่นเรือจำลองจำนวนมาก เรียกว่าถ้าจะค่อยๆ ละเลียดดูรายละเอียดจริงๆ เฉพาะห้องนี้ก็ต้องสักหนึ่งชั่วโมงแล้ว 

 

ถ้าใครบังเอิญผ่านมาโตรอนโต ก็ขอแนะนำนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรดูงานของศิลปินท้องถิ่น แต่ก็ยังหวังว่าเขาน่าจะมีงานชาวอินเดียนมากกว่านี้ และในอนาคต เนื่องจากมีประชากรเอเชียนและแอฟริกันในโตรอนดตไม่น้อย พวกเขาก็น่าจะได้เล่าเรื่องตนเองบ้างเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว