Skip to main content

อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น

 
การได้รู้จักโรงเบียร์นี้ก็เป็นความบังเอิญอย่างมาก คือเริ่มจากคืนแรกที่ไปถึงโตรอนโต ซึ่งก็ดึกดื่นแล้ว แต่เป็นคืนที่หนาวเหน็บพอสมควร แถมเมื่อไปถึงก็เท่ากับเป็นเวลาเที่ยงวันของประเทศไทย ก็ย่อมหิวโหยเป็นธรรมดา ผมก็เลยเลือกเข้าบาร์ ซึ่งเปิดถึงตีหนึ่งและตีสอง บาร์แห่งหนึ่งอยู่ตรงข้ามที่พักเป็นที่เดียวที่ยังเปิดอยู่
 
นั่งสักพัก ผมก็สั่งเบียร์ชื่อเตะตาชื่อ Steam Whistle ในใจนึกถึงความเป็นเมืองท่าเพราะติดทะเลสาบออนทาริโอ หนึ่งในทะเลสาบขนาดยักษ์ 5 แห่งของทวีปอเมริกาเหนือ ทีแรกนึกว่าชื่อเชื่อมโยงกับเรือกลไฟ ที่ไหนได้ เมื่อจิบไป ดูข้อมูลเบียร์ในอินเตอร์เน็ตไป ก็กลายเป็นว่าที่ตั้งของโรงเบียร์นี้อยู่บริเวณที่เป็นศูนย์กลางสถานีรถไฟของแคนาดามาก่อน แล้วเขามีทัวร์ด้วย ก็เลยคิดว่าต้องไปเยี่ยมชมให้ได้
 
ที่ตั้งโรงเบียร์นี้เป็นอาคารเก่าที่เลิกใช้แล้ว เดิมทีเป็นอาคารที่จอดซ่อมบำรุงหัวรถไฟ* ของศูนย์รถไฟของประเทศเลยทีเดียว เรียกว่าเรือนกลม (Round House) ปัจจุบันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ในบริเวณนั้นก็คือที่ตั้งหอคอยโตรอนโต ซึ่งถือว่าเป็นหอคอยสูงที่สุดในโลกแห่งหนึ่งทีเดียว
 
การได้นั่งรถรางแล้วเดินไปยังโรงเบียร์แห่งนี้ทำให้ได้เห็นสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้ทะเลสาบออนทอริโอ พร้อมๆ กับได้เห็นบรรยากาศที่พักหรูๆ ริมทะเลสาบ หากแต่เมืองก็ไม่ได้ปิดกั้นการใช้พื้นที่หรูหรานี้แต่อย่างใด บริเวณนั้นมีทั้งร้านอาหาร ร้านของชำที่ไม่ได้ราคาโหดร้าย แถมมีโรงเบียร์ที่ราคาปกติกว่าคราฟเบียร์ไทยตั้งอยู่แห่งหนึ่งด้วย
 
เมื่อเข้าไป ก็จะเจอบาร์ของโรงเบียร์ ซึ่งก็ขายเบียร์ชนิดเดียว กับขายของกินเล่นและเอบร์เกอร์ของที่นี่เอง ผมไม่กินอะไรเพราะอิ่มแล้ว เลยซื้อทัวร์ 12 เหรียญแคนาดา จะได้ดื่มแก้วเล็กชิมก่อน แล้วระหว่างเดินก็จะได้ถือเดินจิบไปอีกขวดนึง เดินชมเสร็จก็ได้ชิมแบบไม่กรองอีกแก้วนึง
 
โรงเบียร์แห่งนี้ตั้งโดยคนรุ่นใหม่ อายุสี่สิบกว่าๆ ในปี 1998 สิ่งที่น่าสนใจของสตีมวิสเทิ่ลมีหลายอย่าง
 
อย่างแรกคือ เขายืนยันที่จะทำเบีบร์ชนิดเดียวคือ pilsner ผมเพิ่งสงสัยกับเพื่อนดื่มในกรุงเทพฯ ว่า พิลสเนอร์คือเบียร์อย่างไรกันแน่ พอมาที่นี่ก็เจอกับพิลสเนอร์มากมายของหลายโรงเบียร์ แต่ละแห่งทำรสไม่เหมือนกัน ถามคนนำทัวร์ในโรงเบียร์นี้ เขาก็ให้คำตอบแค่ว่า "ก็เป็นลาเกอร์อย่างหนึ่งนั่นแหละ"
 
ที่สำคัญคือ เขายืนยันว่าจะใช้วัตถุดิบเพียง 4 อย่างคือ น้ำ (จากแหล่งน้ำแห่งหนึ่ง ต้องขนมา) มอลต์ ฮอบ และยีส เท่านั้น ไม่ปรุงแต่งอะไรอีกเลย เมื่อเดินชม ได้ดมกลิ่นมอลต์กับฮอบแล้ว จึงได้รู้ว่า ความสด หอมกลมกล่อม และชวนหลงไหลของเบียร์ของเขา มาจากวัตถุดิบง่ายๆ แค่นี้เอง
 
เบียร์ของที่นี่จึงรสชาติซื่อตรงกับวัตถุดิบมาก ดื่มแล้วสดชื่น ยิ่งความสดใหม่ที่เขาประดันว่าต้องไม่เกิน 3 เดือนหลังบรรจุแล้ว ยิ่งทำให้กลิ่นวัตถุดิบชัดเจน ยิ่งหากดื่มแบบไม่กรอง ซึ่งน้ำขุ่น (ดูจากรูปเทียบกับที่กรองแล้ว ซึ่งปกติเขาจะขายแบบกรองแล้ว) ยิ่งได้รสวัตถุดิบ ได้ความแน่นของเนื้อเบียร์
 
นอกจากนั้น ที่นี่ยังยืนยันที่จะใช้ขวดแก้ว เขาบอกว่าต้นทุนการล้างขวดแก้ว การใช้ขวดแก้วซ้ำนั้น ถูกกว่าการใช้กระป๋อง ขวดแก้วยังน่าจะเป็นภัยกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แถมยังได้อารมณ์ของความเก๋าของเครื่องดื่มรุ่นเก่าด้วย แต่เขาก็ส่งเบียร์สดตามบาร์ด้วย นอกจากกระป๋องและขวดแล้ว ก็ยังหาดื่มได้ตามแทปเบียร์ในบาร์ทั่วเมือง
ดูจากขนาดแล้ว โรงเบียร์แห่งนี้ผลิตไม่มาก น่าจะแค่พอขายในประเทศแคนาดา ไม่มีการผลิตที่ไหนอีก แต่ราคาเขาก็ปกติของเบียร์ที่แคนาดา คือถ้าเบียร์สดในบาร์แก้วขนาด 500-600 cc ก็ราวๆ 6-7 เหรียญแคนาดา (150-180 บาท) ถ้าใส่กระป๋องหรือขวด ก็ถูกลงไปครึ่งหนึ่ง
 
ความมึนเมาถ้าฉลาดจัดการ ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาที่ตรงไหน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่กับวัฒนธรรมการกินดื่มของมนุษย์มานานกว่าศาสนาไม่กี่ศาสนาที่มาห้ามการดื่มกิน แต่ก็คงอีกนานที่ประเทศไทยจะเลิกดัดจริตกับเรื่องการดื่ม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์