Skip to main content

 

ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ

 
หนึ่ง ที่ว่ากันว่าการเลือกตั้งไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเนื่องจากมีการซื้อเสียงนั้น คุณเคยคิดไหมว่า ใน 80 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา เรามีโอกาสได้อยู่ในการปกครองแบบประชาธิปไตยกันมากน้อยแค่ไหน การเลือกตั้งเคยเป็นความหวังให้กับการปกครองประเทศนี้หรือไม่ เรามีการรัฐประหาร 18 ครั้ง เราอยู่ในการปกครองแบบเผด็จการและประชาธิปไตยครึ่งใบมาร่วม 40 ปี และเราอยู่ใต้อำนาจของการกำหนดนโยบายจากคณะบุคคลไม่กี่คนมานานยิ่งกว่านั้นอีก
 
ในเงื่อนไขแบบนั้น โอกาสที่นักการเมืองจะสามารถได้แสดงบทบาทจริงๆ มีมากน้อยแค่ไหน โอกาสที่การเลือกตั้งจะสะท้อนความต้องการของประชาชนมีมากน้อยแค่ไหน นี่ต่างหากที่ทำให้การเลือกตั้งมีค่าแค่เพียงประชาธิปไตย 4 วินาทีในคูหา ระบบอุปถัมภ์ของชนชั้นนำต่างหากที่ทำให้การซื้อเสียงเกิดขึ้น เพราะชนชั้นนำกีดขวางการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของนักการเมืองและประชาชนมาโดยตลอดต่างหากที่ทำให้นักการเมืองไม่สามารถเป็นสถาบันทางการเมืองได้ เพราะชนชั้นนำไม่เปิดโอกาสต่างหากที่ทำให้เราได้นักการเมืองเลว 
 
พวกคุณที่สนับสนุนเสธ.อ้ายน่ะ อยากให้เรากลับไปอยู่ในการเมืองแบบกีดกันบทบาทนักการเมือง จำกัดอำนาจของประชาชนที่แสดงผ่านการเลือกตั้ง ก่อเงื่อนไขให้เกิดการซื้อเสียงต่อไป อย่างนั้นหรือ
 
สอง ผมมาประชุมที่เชียงใหม่ ได้นั่งข้างๆ เพื่อนนักวิชาการจากเวียดนาม ผมรู้จักเขามานานพอสมควร แต่ไม่เคยได้คุยกันมากเท่านี้มาก่อน หลังจากคุยกันสั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ผมเป็นฝ่ายฟังด้วยความสนใจ เขาให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวล่าสุดของภาคประชาสังคมในเวียดนามในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสธ.อ้าย 
 
ประชาชนเวียดนามจำนวนมากในขณะนี้ไม่พอใจระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว พวกเขาอยากเปลี่ยนระบบใหม่ เพราะอะไร เพราะการครอบงำประเทศโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวมานานกว่า 50 นั้นล้มเหลว เวียดนามมีการเลือกตั้งที่ผู้สมัครส่วนใหญ่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์เอง อีกส่วนหนึ่งไม่สามารถตั้งพรรคได้ ได้เฉพาะผู้สมัครเสรี เพราะเขาห้ามมีพรรคมากกว่าหนึ่งพรรค
 
พวกคุณที่เข้าร่วมชุมนุมหรือที่สนับสนุนเสธ.อ้าย พวกคุณอยากอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยพรรคเดียวแบบเวียดนามหรือ พวกคุณอยากอยู่ในประเทศที่การสื่อสารทุกอย่างต้องถูกควบคุมโดยรัฐ อยากให้พรรคเดียวเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกอย่าง อยากไม่มีปากมีเสียงทางการเมือง ไม่มีปากมีเสียงในการวิจารณ์รัฐบาล อยากไม่มีสิทธิตั้งพรรคการเมืองของตนเอง อยากทำมาหากินไปวันๆ โดยให้ใครไม่กี่คนกำหนดชะตาชีวิตและความคิดความอ่านของพวกคุณ อย่างนั้นหรือ
 
สาม หลังจากเหลือบมาเห็นข่าวการพยายามฝ่าแนวตำราจเข้ามาในที่ชุมนุมของผู้ชุมนุม และตำรวจก็ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม นี่นับเป็นสัญญาณของความรุนแรงครั้งแรกของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทยในครั้งนี้ ผมยิ่งสงสัยมากขึ้นว่า พวกคุณเตรียมการมาเพื่อก่อความรุนแรง กระตุ้นในเกิดความรุนแรง เร้าให้เจ้าหน้าที่และรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำด้วยการก่อความรุนแรงหรือไม่ 
 
ผมไม่อยากเรียกประชาชนผู้ชุมนุมว่าพวกเขาจะเป็นเหยื่อของยุทธวิธีของผู้นำการชมนุม แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทั้งผู้ชุมนุมและผู้นำการชุมนุมน่ะ พวกคุณต้องการชุมนุมเพื่อแสดงความเห็นทางการเมือง หรือต้องการชุมนุมเพื่อปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกันแน่
 
สี่ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์จึงสนับสนุน ดี๊ด๊าไปกับการชุมนุมของเสธ.อ้าย ไม่เห็นหรือไงว่าเขากำลังด่าพวกคุณด้วย พวกคุณจะทำหน้าที่เพียงแค่คอยรับเศษเนื้อ น้ำข้าว ของพวกอำมาตย์อยู่อย่างนี้ต่อไปหรือ ถ้าพวกคุณไม่คิดว่าจะต้องปกป้องเกียรติภูมิของความเป็นนักการเมืองของตนเอง พวกคุณไม่คิดจะปกป้องศักดิ์ศรีของเสียงประชาชนที่เลือกพวกคุณมาบ้างหรือ เหลือขอจริงๆ
 
หากพวกคุณพิจารณากันรอบคอบแล้วว่า ในนามของความรักสถาบันกษัตริย์ เราจะยอมอยู่ในประเทศที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ก็แล้วแต่พวกคุณ แต่ผมจะต่อต้านพวกคุณอย่างที่สุด ด้วยเหตุด้วยผลเท่าที่ผมจะมีสติปัญญา
 
ท้ายสุดขณะนี้ ผมหวังว่ารัฐบาลจะไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป และไม่ย่ามใจกับเสียงสนับสนุนมากเกินไป จนเลือกใช้วิธีจัดการกับการชุมนุมที่สร้างเงื่อนไขให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง หวังว่าน้ำตาหยดแรกจากแก๊สน้ำตาเมื่อเช้าจะไม่เร่งเร้าให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์