Skip to main content

 

ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง

 
พร้อมๆ กับความสนุกสนานจากเสียงเพลงและลุ้นว่าผู้เข้าประกวดที่ชอบจะเข้ารอบหรือไม่ ผมยังพยามยามทำความเข้าใจการฟังเพลง หรือจะเรียกให้เจาะจงกว่านั้นคือ การสร้างความหมายให้กับการแสดงและการร้องเพลงของคนชั้นกลางชาวกรุงปัจจุบัน เท่าที่ดูมา ผมอดคิดสงสัยไม่ได้ว่าความบันเทิงแบบเดอะวอยซ์เป็นอย่างไรกันแน่
 
เห็นได้ชัดว่า แม้เดอะวอยซ์จะพยายามชูเรื่องการใช้เสียง และผู้เข้าแข่งขันหลายต่อหลายคนก็จะพูดย้ำซ้ำซากว่า "เดอะวอยซ์เขาไม่ดูที่หน้าตา เขาวัดกันที่เสียง" แต่รายการนี้ยึดมั่นหลักนั้นจริงๆ หรือ ยึดมั่นแค่ไหน หรือถึงที่สุดแล้ว ลำพัง "เสียง" จะใช้เป็นเกณฑ์กำหนดความสามารถในการให้ความบันเทิงจากการร้องเพลงได้จริงๆ หรือ
 
เช่นว่า เอาเข้าจริงผู้เข้าแข่งขันหลายคนที่เข้ารอบเป็นผู้หญิงสวย หรือถ้าไม่สวยก็เป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์ หรือไม่ก็ "ผู้หญิง" ในร่างชายที่มีเสน่ห์ แม้รายการจะชวนให้เชื่อว่า โค้ชทั้งสี่ไม่มีส่วนในการเลือกผู้แข่งขันจากหน้าตา แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมการในรอบออดิชั่นไม่ได้เลือกผู้สมัครจากหน้าตาด้วย ทำไมสัดส่วนผู้เข้าแข่งขันที่หน้าตาดี รูปร่างสมส่วนแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน จึงได้รับคัดเลือกเข้ามามาก อย่างน้อยก็ในรอบออดิชั่น
 
แต่เมื่อผ่านเข้ามารอบลึกๆ ดูเหมือนเดอะวอยซ์พยายามยืนยันการคัดเลือกจากเสียง ไม่ใช่ที่หน้าตามากขึ้น มากเสียจนผมเผลอคิดไปว่า เดอะวอยซ์กลายเป็นสมาคมสังคมสงเคราะห์ของวงการดนตรีไปเสียแล้ว เพราะคนที่มีอัตลักษณ์แบบ "เด็กใสซื่อ" "ชาวลูกทุ่ง" "ชาวเพศทางเลือก" "คนไม่สวย" "คนหน้าใหม่ในวงการ" ดูจะมาแรงกว่ามาตรฐานของวงการบันเทิงปกติ กระทั้งไม่แน่ใจว่า ตกลงเกณฑ์เรื่องเสียงหรือเกณฑ์เรื่อง "การให้โอกาส" กันแน่ที่สำคัญ ข้อนี้ทำให้เดอะวอยซ์ไทยแลนด์แทบจะกลายเป็นธุรกิจขายความเอื้ออาทรไปเลยทีเดียว
 
ยิ่งหากลงรายละเอียดในรายของชาวลูกทุ่ง ความเป็นลูกทุ่งในรายการเดอะวอยซ์เหมือนการกินอาหารฟิวชั่นของคนกรุง คือจะเป็นปลาร้าหลนแท้ก็ไม่ใช่ แต่เป็นปลาร้าฟิวชั่นที่จัดใส่จานปรุงแสงสีตกแต่งหน้าตา เสียจนกลายเป็นปลาร้าเสิร์ฟในโรงละครบรอดเวย์ ไม่ใช่ลูกทุ่งแบบที่คอลูกทุ่งเขาจะชอบกัน เราเห็นความไม่เข้าใจลูกทุ่งตั้งแต่การที่โค้ชแต่ละคนไม่ใช้ถ้อยคำประเภท "ลูกทุ่ง-สตริง" ที่ชาวลูกทุ่งใช้ ไปจนถึงความไม่สามารถในการแนะนำแนวการเปล่งเสียง สำเนียงของลูกทุ่งให้เด่นชัดขึ้น แถมโค้ชบางคนยังพยายามแนะให้นักร้องลูกทุ่งพยายามตัดลูกคอลูกทุ่งออกไปเสียอีก
 
ผมไม่ได้จะมาปกป้องความเป็นลูกทุ่งแท้อะไรหรอก เพราะที่จริงถ้าจะพูดกันให้สุดทางไป อย่าว่าแต่ลูกทุ่งสมัยนี้ที่พยายามจะเอาลูกคอและน้ำเสียง "สตริง" ไปผสม และพวกร็อคแนวๆ ที่นำแนวทางของลูกทุ่งไปดัดแปลงแล้ว ลูกทุ่งที่มีอยู่แต่เดิมมันก็ "ไม่ลูกทุ่ง" พออยู่แล้ว เนื่องจากมันเพี้ยนจากของเดิมของมันคือความเป็นพื้นบ้านมาไกลจนขายได้ แต่เรื่องนั้นเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่ต้องยกไว้ก่อน เพียงแต่ในกรณีเดอะวอยซ์ โค้ชเองก็ยอมรับว่าไม่มีความสามารถในการโค้ชลูกทุ่ง และจึงไม่สามารถเข้าใจลูกทุ่งแบบที่ลูกทุ่งเข้าใจกันเอง ลูกทุ่งที่เข้ารอบจึงไม่ได้มาจากเกณฑ์ของเสียงดีแบบลูกทุ่ง เท่ากับว่าเสียงดีในหูแบบชาวกรุง 
 
ถึงที่สุดแล้ว เห็นได้ชัดว่าลำพัง "เสียงร้อง" ไม่ใช่ทั้งหมดของความบันเทิงจากการร้องเพลง แต่ยังมี พื้นผิวของน้ำเสียง ตัวบทเพลงที่เหมาะกับผู้แสดง ประสบการณ์ชีวิตผู้แสดงที่มีส่วนดัดแปลงหรือส่งผ่านความหมายของบทเพลง การแสดงออกบนเวที (เช่นที่โค้ชบางคนบอกว่า นักร้องคนนี้เสียงดีอยู่แล้ว แต่เขากังวลเรื่องการเต้นมากกว่า) ตลอดจนเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงและควบคุมไม่ได้คือ "ผู้ชม"  (ทั้งที่โหวตมา และผู้ชมในจินตนาการของโค้ชคนหนึ่ง ที่บอกว่าเธอเลือกนักร้องคนนี้เพราะคนไทยชอบแบบนี้)

แน่นอนว่าทุกคนเสียงดี แต่หากพวกเขาดีที่เสียงอย่างเดียว ก็ไม่เพียงพอสำหรับ "ความบันเทิงแบบชาวกรุงไทยสมัยนี้" ความสวย การแสดง ตลอดจนคุณค่าของสังคมร่วมสมัยที่พยายามเน้นอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ล้วนมีส่วนกำหนดความบันเทิงแบบเดอะวอยซ์ไทยแลนด์

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 บ้านเก่าเมืองหลัง เป็นสำนวนของคนไทดำในเวียดนาม เมื่อก่อน พอได้ขึ้นไปเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวไทดำที่เซอนลาแต่ละครั้ง ก็จะถูกพวกคนเฒ่าคนแก่ล้อว่า “เหมือนพวกหลานๆ กลับมาเยี่ยมบ้านเก่าเมืองหลังสินะ” ในความหมายที่ว่า เหมือนผมได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนนั่นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น ก็ห่างหายไปแค่เพียงหลายเดือน หรืออย่างมากก็ในรอบปี