Skip to main content

นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*

ข้อเขียนนี้จึงไม่ได้จะต่อต้านซีเอ็ดเท่านั้น แต่ต่อต้านทัศนคติแบบซีเอ็ด ต้องการบอกกล่าวว่า หากสังคมปล่อยให้ทัศนคติแบบนี้ของซีเอ็ดดำรงอยู่ต่อไป ก็เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังถอยหลังในเรื่องภาษา วรรณคดี และความเข้าใจต่อเพศวิถี 
 
1) ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถี และความรัก เป็นเรื่องที่ยิ่งต้องส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เข้าใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่จะต้องมาเก็บซุกไว้ราวกับเป็นเรื่องเสียหายน่าอับอาย ขนาดสถาบันทางวิชาการอย่างศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) ก็ยังส่งเสริมให้ศึกษาเร่่ืองนี้ หรือซีเอ็ดจะไม่วางหนังสือของศูนย์มานุษย์ฯ อีกด้วย
 
ในระดับของข้อมูลข่าวสาร เช่น รู้กันทั่วไปว่ากษัตริย์ในโลกนี้บางพระองค์มีรสนิยมทางเพศแบบที่ซีเอ็ดกีดกัน หากจะปิดกั้นกัน สังคมไทยก็จะไม่ได้เรียนรู้ว่า รสนิยมทางเพศแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ สังคมไหนๆ ก็มีได้เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร
 
2) ซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ที่อ่านยากเย็นเท่านั้น แต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ หรือใครจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้ปฏิสนธิมาจากความใคร่ของบุพการี ที่มีจินตนาการทางเพศปะปนอยู่ในความรักและแรงปรารถนาจะสืบวงค์วาน 
 
หากสังคมไหนกำหนดว่า ห้ามคนร่วมเพศในวรรณกรรม ห้ามตัวละครแสดงอาการร่วมเพศ ก็นับได้ว่าสังคมนั้นกำลังปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
3) ซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ บ่มเพาะเชื้อความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ สร้างอคติทางเพศ อาจจะเข้าข่ายดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ไม่ต่างอะไรกับการกีดกันไม่ให้ "คนดำ" เข้าร้านอาหารในอเมริกาสมัยก่อน แน่นอนว่าแผงหนังสือในร้านซีเอ็ดเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของซีเอ็ด แต่หากร้านหนังสือทำอย่างนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกลูกค้า กีดกันลูกค้า ด้วยอคติทางเพศ
 
4) ซีเอ็ดกำลังจะทำลายภาษา การคัดเลือกเซ็นเซอร์จากเกณฑ์ของภาษาเป็นเกณฑ์ที่กำกวม ใครจะเป็นคนตัดสินว่าเล่มไหนหยาบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว การปิดกั้นนี้จะเป็นการทำลายภาษา "คำหยาบโลน ลามก ฯลฯ" มีพัฒนาการทางสังคมของมันเอง มีท้องถิ่นมีชาติพันธ์ุของมัน เช่นคำว่า "เหี้ย" นอกจากเป็นคำแล้ว ปัจจุบันยังกลายเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก หมายถึง "มากๆ" "อย่างยิ่ง" หรือคำว่า "หำ" ในหนังสือที่ใช้สำนวนภาษาอีสาน หรือคำที่คนลาวใช้เรียก "ควาย" คนคัดเลือกของซีเอ็ดจะเข้าใจสถานะความหยาบหรือไม่หยาบในภาษาถิ่นแค่ไหน เป็นต้น
 
การทำลาย กีดกันการใช้ถ้อยคำ เป็นการทำลายสังคมของการสื่อสาร คำหยาบ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากเราจะกีดกันกันอย่างนั้นจริงๆ สังคมภาษานี้ก็จะแบนราบ ไร้อารมณ์ หมดรสนิยมของความหลาบโลน กีดกันการใช้ภาษาของคนในบางชนชั้น บางสังคม บางท้องถิ่น
 
5) ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง จึงเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้าย ทั้งที่คนอ่านเองก็มีวิจารณญาณตัดสินอะไรดีอะไรชั่วเองได้ หากจะเพิ่มความระมัดระวัง ก็อาจเลือกใช้วิธีติดเรทหนังสือตามวัยก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ขอให้คนขายของซีเอ็ดปฏิบัติตามจริงอย่างเคร่งครัดก็แล้วกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศที่เจริญทางปัญญาแล้วเขาทำกัน หรือซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่
 
ร้านหนังสือก็เหมือนห้องสมุด มันบอกสถานะทางปัญญาของสังคม เป็นมันสมอง บ่งบอกรสนิยมของสังคม หากร้านหนังสือกำหนดจัดวางคัดกรองเนื้อหาอย่างหนึ่ง นั่นก็กำลังสะท้อนให้เห็นส่วนหนึ่งว่า สังคมนั้นจะได้เห็นและไม่ได้เห็นอะไร สังคมนั้นมีฐานความรู้ความคิดกว้างหรือแคบแค่ไหน มีทัศนคติเช่นไร ยิ่งร้านหนังสือที่มีฐานลูกค้ากว้างอย่างซีเอ็ดด้วยแล้ว ยิ่งสามารถใช้บ่งบอกภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี
 
หากซีเอ็ดยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่าสังคมไทยควรงดสนับสนุนสินค้าซีเอ็ด ควรต่อต้านร้านหนังสือซีเอ็ด เพื่อไม่ให้ทัศนคติคับแคบแบบนี้สืบทอดในสังคมไทยต่อไป
 
* หมายเหตุ ร่วมลงชื่อคัดค้านซีเอ็ดได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dHJuMWUxWEF0NTF0ZVNGNnNTZUFfV0E6MQ&ifq

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ