ภาษา

ยุกติ มุกดาวิจิตร: นะค่ะ น่ะคะ

เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร

ยุกติ มุกดาวิจิตร: อ่านเสี้ยวสังคมไทยจากนักเรียนมัธยม

ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ห้องเรียนมานุษยวิทยาภาษา #3

เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ห้องเรียนมานุษยวิทยาภาษา #2

TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ห้องเรียนมานุษยวิทยาภาษา

ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน

วิกฤตของภาษา

ตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษแสดงความเห็นกันว่า ภาษาอังกฤษอยู่ในภาวะ “วิกฤต” โดยอ้างว่า ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือมีการสะกดผิดมากมาย แนวคิดแบบนี้มีอยู่ในเกือบทุกภาษา ผู้ใช้ของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของภาษาที่หวังดีกับภาษาของตน เป็นห่วงกับ “คุณภาพการใช้ภาษา” ในสังคม ซ

ประวิตร โรจนพฤกษ์: ภาษาแบบ คสช. กับการสร้างความจริง

3 July, 2014 - 15:39 -- pravit

หนึ่งในเครื่องมือหลักของการยึดอำนาจของคณะรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หาใช้อาวุธสงครามเพียงอย่างเดียวไม่ หากรวมถึงการใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความพร่ามัวหรือแม้กระทั่งการมองความจริงแบบที่คณะรัฐประหารหรือที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ต้องการ

Pages

Subscribe to ภาษา