Skip to main content


การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่

ที่ว่า "รัฐไทย" โดยรวมเพราะองค์กรที่ข่มเหงให้คนรักประมุขของประเทศนี้ไม่ได้มีเพียงหน่วยงานของรัฐเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นองคาพยพด้านต่างๆ ของรัฐ อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ศาล และไม่เว้นแม้กระทั่งผู้คุมนักโทษ ตลอดจนนักการเมืองที่อาศัย ม.112 เพื่อกลั่นแกล้งศัตรูทางการเมือง ไม่เลือกว่าจะเป็นนักการเมืองฝ่ายใด

นักวิเคราะห์สังคมที่ยังก้าวทันโลกวิชาการปัจจุบันเย่อมเห็นพ้องกันว่า อำนาจในการปกครองของสังคมที่ก้าวหน้าไม่ใช่อำนาจกีดกัน บังคับ กดทับ (exclusion) หากแต่เป็นอำนาจที่เปิดกว้างให้เกิดการยอมรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนทางการเมือง (inclusion) ในสังคมที่ก้าวหน้าแล้ว ย่อมไม่ปกครองด้วยอำนาจจากการทำให้ผู้คนเกรงกลัว และที่ยิ่งจะต้องไม่ทำใหญ่คือ การข่มขืนใจให้ประชาชนรักศูนย์รวมจิตใจของประเทศ ด้วยอำนาจที่เหี้ยมโหด ป่าเถื่อน ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลปกติ
 
นักสังคมศาสตร์ทั่วไปรู้กันดีว่า ข้อเขียนจากคุกของอันโทนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci 1891-1937) เสนอว่า การปกครองนั้นอาศัยเครื่องมือสองด้าน คือการข่มเหงประชาชนด้วยกำลังด้านหนึ่ง กับการยินยอมพร้อมใจของประชาชนด้วยตนเองอีกด้านหนึ่ง สำหรับสังคมในศตวรรษที่ 20 กรัมชี่เห็นว่าอำนาจลักษณะหลังต่างหากที่ทำงานอยู่ ส่วนอำนาจลักษณะแรกแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว 
 
ส่วนนักประวัติศาสตร์แนววิพากษ์สังคมอย่างมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault 1926-1984) เห็นว่า การปกครองที่แยบยลที่สุดก็คือการปกครองที่ผู้คนยินยอมพร้อมใจจนกระทั่งไม่รู้สึกถึงการถูกปกครองอยู่ อำนาจที่แยบยลคืออำนาจที่คนไม่รู้สึกถึงการใช้อำนาจ ต่างจากอำนาจในยุคก่อนสมัยใหม่ ที่ยังป่าเถื่อน ต้องมีการประหัตประหารอย่างโหดเหี้ยม ต้องแสดงความรุนแรงของบทลงโทษ ต้องประจานความผิด ต้องบังคับข่มเหง
 
หากแต่ผู้มีอำนาจในรัฐไทยกลับไม่เข้าใจ ใจแคบ ใช้อำนาจแบบดิบเถื่อน โหดเหี้ยม จึงทำให้สังคมไทยตลอดจนประชาคมโลกมองว่า ขณะนี้รัฐไทยมุ่งปกป้องเกียรติยศของประมุข เหนือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
 
"คดีหมิ่นฯ" ที่ผ่านมา ไม่ได้มีความใกล้เคียงแต่ประการใดกับการที่ผู้ต้องหาสามารถที่จะประทุษร้ายพระประมุขได้ หากแต่เป็นเพียงคดีที่สงสัยในความผิดอันเนื่องมาจาก "คำพูด" "ข้อความ" หรือ "ท่าทาง" ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาตรร้ายพระประมุขเท่านั้น ทว่าผู้ต้องหาล้วนเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีและได้รับการตัดสินลงโทษอย่างโหดเหี้ยม ผิดจากมาตรฐานของนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน รัฐไทยจึงดูล้าหลัง ป่าเถื่อนกว่านานาอารยะประเทศ
 
ในรัฐประชาธิปไตย จะต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่น้อยไปกว่าความมั่นคงของรัฐ สิทธิในการได้รับการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้บริสุทธิ์จนกว่ากระบวนการยุติธรรมจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานได้ว่าผิด จะต้องได้รับการคุ้มครอง แต่ดูเหมือนในการดำเนินคดีตามมาตรา 112 รัฐไทยเลือกที่จะละเลยการเคารพสิทธิเหล่านั้่น จนถึงกับอาจจะละเมิดสิทธินั้น เพียงเพื่อปกป้องไม่ให้ใครใช้ "คำพูด" หมิ่นประมุขของรัฐ
 
ยิ่งกว่านั้น ในบางกรณีชวนให้สงสัยว่า รัฐไทยไม่ได้ใช้หลักเหตุผลปกติ แต่กลับบิดเบือนหลักเหตุผลเพื่อเอาผิดกับผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ให้ได้ ดังเช่นที่บางครั้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ถ้อยคำสบประมาทประชาชนที่ถูกดำเนินคดี แสดงทัศนะราวกับตัดสินผู้ต้องหาล่วงหน้าก่อนแล้ว ชวนให้ประชาชนสงสัยว่า หรือแม้กระทั่งว่าหากใช้เหตุผลแบบปกติแล้ว หลักฐาน พยานต่างๆ ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ใช้ "คำพูด" นั้นๆ เองหรือไม่ ดังเช่นการทำให้ผู้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องลงมือเขียนข้อความด้วยตนเองหรือไม่ กลับกลายเป็นผู้กระทำผิดไป เพราะเจ้าหน้าที่เชื่อว่า คนผิดย่อมปิดบังความผิดของตนเอง หรือหากรู้ทั้งรู้ว่าผู้นั้นไม่ใช่ผู้กระทำผิดเองโดยตรง เจ้าหน้าที่รัฐก็ยังหาทางสร้างเงื่อนไขให้ความผิดครอบคลุมไปถึงผู้ต้องหา เพื่อทำให้เขากลายเป็นผู้กระทำผิดไปได้ ดังเช่นการทำให้พนักงานคนหนึ่งของสำนักพิมพ์ที่อาจไม่รู้เห็นกับการตีพิมพ์ข้อความหมิ่นฯ ด้วยตนเองด้วยซ้ำ ต้องกลายเป็นผู้กระทำผิดไป
 
อันที่จริงหากผู้มีอำนาจสำเหนียกต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างแท้จริง เฝ้าสังเกตประชาชนอย่างใกล้ชิดอย่างแท้จริง ก็ย่อมทราบดีว่า ในปัจจุบัน แม้ว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยจะแผ่อิทธิพลกว้างขวางและเริ่มฝังลึกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมไทย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่จงเกลียดจงชังองค์พระประมุขของประเทศแต่อย่างใด หากแต่การเติบโตของ "คดีหมิ่น" เกิดขึ้นจากงื่อนไขเฉพาะทางการเมืองในปัจจุบัน
 
ไม่ต้องกล่าวย้ำกันอีกมากมายก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "คดีหมิ่น" ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเพียงในระยะที่มีความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมานี้เอง และยิ่งเพ่ิมยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุรุนแรง มีการสลายการชุมนุมจนมีคนเสียชีวิตเกือบร้อยคน มีคนบาดเจ็บร่วมสองพันคน และมีคนถูกจับกุมคุมขังกลายเป็นนักโทษการเมืองอีกนับพันคน เมื่อปี 2553 ความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในขนาด ความกว้างขวาง และครอบคลุมแทบทุกอนูขงสังคมไทยมากเท่านี้มาก่อน 
 
พูดง่ายๆ คือ คดีม.112 เติบโตขึ้นในภาวะทางสังคมที่ไม่ปกติ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 
 
นัยหนึ่ง เป็นผลมาจากการใช้กฎหมายนี้เพื่ือกลั่นแกล้งศัตรูทางการเมือง ข้อนี้เห็นได้ไม่ยากจากการที่ ศอฉ. กุเรื่อง "ผังล้มเจ้า" ขึ้นมา จนในท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องนี้กลับออกมายอมรับเองว่า ผังล้มเจ้าเป็นเรื่องที่กุกันขึ้นมาโดยไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงรองรับใดๆ ทั้งสิ้น
 
แต่อีกนัยหนึ่ง เกิดจากความอึดอัดคับข้องใจของผู้คนที่มีต่อความไม่ยุติธรรมของระบบการเมืองไทย เป็นปฏิกิริยาต่อการรัฐประหาร ต่อการใช้กำลังทหารยึดอำนาจด้วยการสนับสนุนทางการเมืองของมวลชนคนกลุ่มน้อยซึ่งแพ้เลือกตั้ง คนทั่วไปอึดอัดกับการที่พวกกบฎสามารถกลายเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ ฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้อย่างลอยนวล คนทั่วไปอึกอัดกับการที่ไม่มีใครสามารถทัดทานพวกกบฏได้ และจึงมีประชาชนจำนวนมากต้องการส่งเสียงสะท้อนให้พระประมุขเข้าใจถึงความอึดอัดคับข้องใจของตน
 
อีกนัยหนึ่ง ในภาวะของความรุนแรงทางการเมือง ภาวะทรราช คนทั่วไปคาดหวังต่อบทบาทของพระประมุข ว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้คนจากรัฐบาลที่กลายเป็นทรราชไล่ฆ่าประชาชนกลางถนนได้ ดังในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา และในความรุนแรงทางการเมืองครั้งนี้ ประชาชนก็คาดหวังเช่นนั้น ปฏิกิริยาที่ประชาชนมีต่อพระประมุข จึงเป็นเพียงเสียงสะท้อนเพื่อให้พระประมุขได้ยิน
 
เราๆ ท่านๆ ย่อมรู้กันดีอยู่่แก่ใจว่า ความเสื่อมหรือเจริญขึ้นของประมุขของรัฐใด ไม่ได้อยู่ที่ "คำพูด" หรือ "ข้อความ" หรือ "ท่าทางบอกใบ้" ใดๆ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ประมุขของรัฐทั่วโลกคงดิ้นพล่านไปมา นอนไม่หลับ กินไม่ได้ กระสับกระส่าย อยู่ทุกๆ วินาที เพราะประมุขของรัฐใดก็ตามย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกนินทาว่าร้าย อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะปรากฏในที่สาธารณะหรือเป็นที่รับรู้ของคนหมู่มากแค่ไหนก็ตาม เนื่องจากประมุขของรัฐเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสารทุกข์สุขดิบของประชาชนทั่วไป 
 
วิญญูชนย่อมทราบดีว่า ลำพังประชาชนเพียงหยิบมือไม่มีทางที่จะทำลายเกียรติยศของประมุขประเทศใดได้ และลำพังคำพูด ท่าทางบอกใบ้ ข้อความ ไม่สามารถทำลายเกียรติยศของประมุขรัฐใดในโลกนี้ได้ หากแต่ผู้มีอำนาจควรพยายามทำความเข้าใจว่า ปฏิกิริยาเหล่านั้นสะท้อนอะไรในประชาคมการเมืองนั้นๆ กันแน่ 
 
แต่หากพวกท่านไม่เข้าใจ คนทั่วโลกเขาก็ตั้งข้อสงสัยได้เช่นกันว่า แล้วการลงโทษด้วยวิธีรุนแรงจะสามารถทำให้ผู้คนรักประมุขอย่างสนิทใจได้อย่างไร หากประชาคมทางการเมืองใดจะมีประชาชนไม่รักประมุขของรัฐหนึ่งสักเพียงหยิบมือหนึ่ง เราจะต้องข่มเหงพวกเขาเพียงหยิบมือหนึ่งนั้นอย่างเหี้ยมโหด เพื่อขืนให้เขาฝืนใจหันหน้ามารักประมุขให้ได้ อย่างนั้นหรือ
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา