Skip to main content

ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด

ในมุมมองทางนิติศาสตร์ กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ในฐานะประมุขในระบอบประชาธิปไตยถูกกำหนดให้ “ไม่สามารถทำผิดได้” เนื่องจากประมุข “ไม่สามารถทำอะไรเองได้” ต่อกรณีของประเทศไทย ดังที่หยุด แสงอุทัย สรุปไว้ว่า

"ในขณะนี้ปรากฏว่าได้มีการวิพาษ์วิจารณ์การกระทำของพระมหากษัตริย์ในที่ชุมนุมสาธารณะหรือในทางหนังสือพิมพ์อยู่บ้าง ซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะตามรัฐธรรมนูญนั้น องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ฉะนั้นในทางรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์จึงทรงกระทำผิดมิได้ (The King Can Do No Wrong) แต่ทรงกระทำตามคำแนะนำของรัฐมนตรีหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนพระองค์"

 

"องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดอันเป็นปัญหาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" (อ่านได้จากบทความของปิยบุตร แสงกนกกุล http://prachatai.com/journal/2008/06/17092)

ที่น่าสนใจคือ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเห็นต่อ “การทำอะไร” ของพระองค์เองอย่างไร ในพระราชดำรัส ที่ทรงพระราชทาน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 พระองค์ตรัสตอนหนึ่งว่า

“ความจริงในระบอบประชาธิปไตย ในระบอบรัฐธรรมนูญ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระเจ้าอยู่หัวผิดไม่ได้ เค้าพูดอย่างนั้น The king can do no wrong. เหมือนทำนองคมนตรีชอบพูดว่าต้องภาษาอังกฤษ แต่ว่าเวลาบอกว่า The king can do no wrong. ก็เป็นสิ่งที่ wrong แล้ว ที่ผิดแล้ว ไม่ควรจะพูดอย่างนั้น...

 

“แต่ข้อสำคัญที่สุด ข้าพเจ้าเป็น the king แล้ว เค้าบอกว่า does no wrong เราก็เห็นด้วยกับเค้า เพราะว่าการทำอะไรถ้าคนเราถือว่าต้องมีสติ หมายความว่ารู้ว่ากำลังทำอะไร รู้ว่ากำลังคิดอะไร แล้วไม่ปล่อยให้มันผิดออกมา มันก็ไม่มีผิด ผิดไม่ได้ อันนี้ก็เป็นการพูดว่า ข้าพเจ้าเอง ไม่ผิด ไม่มีวันผิด...”

จากพระราชดำรัสข้างต้น 

 

(1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ “ทำอะไร” หรือทรงเป็น actor ของกิจการอะไรบางประการ 

 

(2) การกระทำการในที่นี้ย่อมต้องไม่ใช่การกระทำการในชีวิตปกติประจำวันแน่ๆ เพราะพระองค์ตรัสถึงการกระทำการในฐานะ “พระมหากษัตริย์” “เป็นประมุข” กล่าวคือ พระองค์ตระหนักว่าพระองค์เองในฐานะพระมหากษัตริย์เป็นผู้ “ทำอะไร” บางอย่าง "อะไร" นั้นจึงไม่น่าจะจำกัดเฉพาะกิจการในชีวิตประจำวัน

 

(3) ส่วนข้อที่ว่า "the king can do no wrong." นั้น พระมหากษัตริย์ทรงต้องทรง “ทำอะไร” ให้ถูกต้อง อย่าง “มีสติ” “ไม่ปล่อยให้มันผิดออกมา” 

 

ด้วยเหตุนั้นพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสว่าด้วยการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริง พระราชทัศนะต่อการวิจารณ์พระมหากษัตริย์มีนัยที่สำคัญหลายประการด้วยกัน จากพระราชดำรัสคราวเดียวกันนี้ พระองค์ตรัสว่า

“คนเราถ้าอยู่ในที่แจ้ง ในที่ๆ คนเห็นมากๆ ย่อมถูกติได้ง่ายๆ เพราะว่าคนเห็นมาก ถ้าเห็นมาแล้วเราทำอะไรไม่มีดี หรือมีดีก็ที่ไม่ดีมาก...

 

“ที่เดอะคิงทำอะไร เค้าไม่วิจารณ์ แล้วก็บอก อย่าวิจารณ์ ที่จริงอยากให้วิจารณ์ เพราะว่าเราทำอะไรก็ต้องรู้ว่าเค้าเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าไม่พูด ก็หาว่าทำดีแล้ว...

 

“แต่ว่าความจริงก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวถ้าใครมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่า ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน...

 

“ฉะนั้นที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่า ละเมิดพระมหากษัตริย์ ให้ละเมิดได้ และถ้าเค้าละเมิดผิด เค้าก็ถูกประชาชนบอม ว่างั้น คือเป็นเรื่องขอให้เค้ารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเค้าวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิดไม่ดี...”

กล่าวคือ ตามพระราชดำรัสนี้ พระองค์ทรงแสดงทัศนะว่า

 

(1) การวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวนั้นเกิดเนื่องมาจาก “คนเราถ้าอยู่ในที่แจ้ง” ย่อมต้องถูกวิจารณ์ 

 

(2) การวิจารณ์เท่ากับเป็นการทำให้คนถูกวิจารณ์ "เป็นคน" เพราะ “ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน”

 

(3) จะวิจารณ์ก็ต้องวิจารณ์ให้ถูก “ถ้าเค้าวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิดไม่ดี” ฉะนั้น จะรู้ว่าวิจารณ์ผิดหรือวิจารณ์ถูกได้ก็ด้วยการพิสูจน์ข้อความที่กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวว่าถูกหรือผิด ว่าเป็นความจริงหรือเป็นเท็จใส่ร้ายกัน พระองค์จึงน่าจะทรงเห็นว่า ต้องสามารถมีการพิสูจน์ได้ว่า ที่วิจารณ์นั้น ผิดหรือถูก ก่อนที่จะตัดสินว่าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์หรือไม่

 

สรุปแล้ว ในเมื่อพระองค์เองทรงเห็นว่า พระองค์ “ทำอะไร” และจึง “ย่อมถูกติได้ง่ายๆ” แล้ว หลัก the king can do no wrong ก็ดูจะเป็นอุดมคติที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสังคมไทยขณะนี้ หากจะให้กฎหมายสะท้อนความเป็นจริงในสังคม กฎหมายจึงควรอนุวัตรปรับแก้ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ว่าการวิจารณ์พระมหากษัตริย์โดยสุจริตใจ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำอันมีผลต่อประโยชน์สาธารณะ ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ไม่เช่นนั้นก็จะต้องปรับบทบาทพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลัก the king can do no wrong แบบสากล

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้