Skip to main content

แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 

ผมได้กลับมาโตเกียวอีกครั้งเมื่อสองวันก่อน (9 มีนาคม 2556) เพื่อมาเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นหัวข้อที่ผมใช้หากินในเวทีวิชาการนานาชาติมากว่าเรื่องประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผมไปอยู่ในอีกซีกโลกทางวิชาการ แต่เอาเถอะ พักเรื่องวิชาการไปหน่อย แล้วไปหาอะไรดื่มกินกันอีกสักข้อเขียนหนึ่ง

 

เมื่อวาน หลังจากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำมาสองคืนก่อนหน้า เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็ตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกับงานอื่นๆๆๆ เมื่อตัดใจได้ว่าควรจะส่งงานได้แล้ว ก็จึงส่งไปในรูปแบบที่ตนเอง “พอรับได้” 

 

ส่งงานแล้วจะให้ทำอะไร ถ้าไม่ใช่หาราเมนสไตล์เกียวโตอร่อยๆ กิน ซึ่งน่าจะได้มาจากกลิ่นน้ำแกงใสแต่เข้มข้นด้วยปลาแห้งชิ้นหนาที่ซอยจนบางราวกระดาษ ซึ่งมักประดับโรยหน้าโอโคนามิยากิ (แปลว่า ผักจับฉ่ายนาบกะทะ) แต่ไม่ปรากฏเนื้อตัวปลาในน้ำซุปราเมนช้ั้นดี ถ้าไม่ใช่ออกไปเดินรับลมหนาวเคล้าสายฝนยามต้นฤดูใบไม้ผลิ (อุณหภูมิ 13 เซลเซียส) ถ้าไม่ใช่ไปเดินดูผู้คนที่พูดจาภาษาถิ่น ถ้าไม่ใช่หาอะไรดื่มเบาๆ เคล้าความหนาวเย็นที่ไม่ถึงระดับเย็นยะเยือก (ใครที่เรียนหนังสือกับผม อย่าเขียนประโยคยาวๆ แบบนี้ส่งงานผมมาเด็ดขาดนะครับ เอาไว้เรียนจบแล้วค่อยเขียนประโยคยาวๆ)

 

สุดท้าย เมื่ออ่ิมท้องแล้ว ยามบ่ายวานนี้ ก็เดินไปหลบฝนไปหาที่คลายหนาวไปจนสิ้นสุดที่ร้านขายสุราแห่งหนึ่ง ไม่ได้ซื้อ "สุรา" ในความหมายเฉพาะเจาะจง แต่หาซื้อไวน์ เพราะรู้จากการมาเยือนคราวก่อนๆ แล้วว่า ไวน์ราคา "ปกติ" ของญี่ปุ่น ที่ถูกสุดราคา 100 บาทไทย (มีจริงๆ) ไปจนถึงแค่ 2,000 เยน (ราว 600 บาท) ซึ่งแค่นี้ทางร้านก็ตื่นเต้นล็อคตู้ไม่ให้หยิบชมเล่นแล้ว แต่ที่ราคาสูงลิ่วจริงคือขวดละ 20,000 เยน (ราว 6,000 บาท) ที่แช่ตู้เย็นลงกลอนไว้แล้วห่อด้วยพลาสติกแร็บ (ไม่รู้ทำไม)

 

ตรรกะของไวน์ในร้านไวน์-เหล้าที่เกียวโตก็น่าสนใจ ของถูก (100, 150 ถึง 300 บาท) ใส่กะบะบ้าง วางตรงระดับเพียงตาบ้าง วางอยู่กลางร้านบ้าง แต่ของราคาแพงกลับวางอยู่ระดับต่ำกว่าสายตา หรือไม่ก็เข้าถึงยากด้วยการลงกลอน แต่ถ้าในอเมริกา เขาจะไม่ได้วางอย่างนี้ ของถูกวางต่ำกว่าระดับสายตา ของแพงปานกลางวางระดับสายตาไปจนถึงของราคาสูงวางระดับเหนือสายตา

 

ไม่ต้องคิดอะไรมาก อากาศหนาวแถมฝนพรำยามบ่าย แถมเพิ่งปั่นงานที่นั่งเขียนตั้งแต่บนเครื่องบินเสร็จส่งไป จะให้ทำอะไรได้มากกว่านี้ สู้ซื้อไวน์ราคา 300 บาทไทย (ซึ่งไวน์ระดับนี้ หากซื้อหาในเมืองไทยก็ต้องราวๆ 600-800 บาทไทย) กลับมานั่งชิลที่โรงแรมไม่ดีกว่าหรือ ว่าแล้วก็ถอยมา 2 ขวด (ถึงขณะที่เขียนนี้ผ่านไป 2 ชั่วโมง แก้หนาวกับไวน์แดงจากสเปนหมดไปแล้วครึ่งขวด) 

 

ส่วนหนึ่งของความยุ่งยากในเกียวโตคือ การหลีกเลี่ยงที่จะเสียเงินไปกับไวน์ราคายุติธรรม

 

ตกเย็น เพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของไวน์ราคายุติธรรม ประกอบกับแดดเริ่มออกหลังฝนตกยามบ่ายจนต้องหาเหตุกลับมาจิบไวน์หลบฝนในโรงแรม ก็คิดได้ว่า ควรออกไปเดินแล้วหาอะไรอร่อยๆ ในเกียวโตกิน 

 

ไปเดินหาอาหารในตำนานส่วนตัว ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ น่าจะต่ำกว่า 10 เซลเซียส บวกลมแรงแล้ว อุณหภูมิคงต่ำลงไปอีกจนถึง 5 ถึง 3 เซลเซียส ที่จริงตั้งใจไปหาร้านราเมนในตำนานของใครหลายๆ คน ร้านนี้สืบทอดตำนานมาจากเพื่อนอาจารย์ญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่พาไปกินเมื่อสาม-สี่ปีก่อน คราวนี้ไปเกียวโตทีไร ก็จะต้องไปเดินหาร้านนี้ แล้วก็เจอทุกที จนจำได้ว่า ปากทางเข้าเป็นร้านไอครีมยี่ห้อดังเจ้าหนึ่ง 

 

แต่คราวนี้ได้ไปพักในย่านอีกย่านหนึ่ง ไม่คุ้นเคยมาก่อน เดินเรื่อยเปื่อยไปทางถนน Sanjo ข้ามแม่น้ำ Kamo ข้ามห้วยเล็กสายหนึ่ง เจอสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย เดินลงไปทางฝต้พักหนึ่ง แวะร้านขายเครื่องเขียนที่เคยมาหลายปีก่อน จากนั้นก็เดินหาร้านราเมนต่อ แต่หาไม่เจอ หิวแล้วและหนาวลงเรื่อยๆ

 

เลยหันทิศทางเดินกลับมาทางที่พัก เดินตามทางริมห้วยเล็กๆ ที่่มีร้านอาหารเรียงรายเต็มไปหมด แล้วทันใดนั้น ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ต้องเป็นย่านนี้แน่เลยที่เคยเจอร้านอาหารในตำนานส่วนตัว

 

มาหยุดอยู่ที่หน้าร้านแห่งหนึ่ง ป้ายร้านมีรูปปลาหมึกยักษ์สีแดง ยื่นหน้าเข้าไปดู คิดว่าต้องเป็นร้านนี้แน่ๆ ที่เคยหลงทางมากับเพื่อนคนหนึ่ง แล้วพบร้านนี้เข้า แต่หลายปีต่อมาพยายามหาทีไรก็ไม่เจอ แต่วันนี้มาเจออีกครั้งเข้าจนได้

 

ร้านนี้ไม่มีเมนูภาษาอังกฤษเลย คนกินมีแต่คนญี่ปุ่นหรือไม่ก็คนต่างชาติที่รู้จักร้านนี้ดี ร้านมีที่ปรุงอาหารอยู่กลางร้านเลย รายล้อมด้วยที่นั่งเป็นเคาท์เตอร์รอบๆ บริเวณที่ปรุงอาหาร ในร้านมีคนทำงานอยู่สองคน หญิงหนึ่งชายหนึ่ง น่าจะเป็นแม่-ลูกกัน พอบอกว่าเคยมาและมาหาร้านนี้ถึงสามปีแล้ว เขาดีใจมาก

 

อาหารที่เด็ดมากของร้านนี้ เรียกว่าใครเข้ามาก็ต้องกินคือ Tamako Yaki (ทีแรกไม่รู้ว่าเรียกอะไร เพื่อนอาจารย์ที่เคยอยู่เกียวโตบอกชื่อให้) แต่วันนี้เห็นคนขายทำเต้าหู้ชุปแป้งบางๆ ทอดแล้วเสิร์ฟในน้ำซ้อส เต้าหู้นุ่มมาก ไม่รู้เขาใช้มือหยิบมันคลุกแป้งแล้วใส่ได้อย่างไร เพราะมันนุ่มมาก เรียกว่าต้องใช้ตะเกียบประคองตักใส่ปาก

 

ส่วน Tamako Yaki นั้นต่างจาก Tako Yaki ทั่วไปตรงที่ อาหารจานนี้มีแต่ไข่ล้วนๆ แล้วบรรจงวางปลาหมึกลงไปในหลุมเท่าหลุมขนมครกที่เต็มไปด้วยไข่ เหมือนขนมครกไข่ไส้ปลาหมึก ได้ไข่นุ่มๆ กลมๆ เสิร์ฟเป็นแนวมาสองแถวสวยงามบนถาดสีแดง

 

ในที่สุดก็เจอร้านในตำนานส่วนตัว แต่วันหลังต้องดั้นด้นพิชิตร้านอาหารตามลายแทงส่วนตัวให้ครบ ก่อนจะดั้นด้นสร้างตำนานใหม่ๆ ให้ตัวเองต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน