Skip to main content

น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน

แต่เมื่อทำท่าอ้างหลักการโน่นนี่นั่นว่าสถาบันที่เคารพรักบ้างล่ะ ว่าไม่เข้าข่ายสิทธิเสรีภาพบ้างล่ะ มันมันแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของสถาบันรัฐสภา และแสดงการไม่เคารพอำนาจของประชาชนที่เลือกพวกคุณเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทนของพวกเขา 
 
อย่าลืมว่าเขาไม่ได้เลือกพวกคุณมาเพื่อออกกฎหมายเท่านั้น และยิ่งกว่านั้นคือ ประชาชนไม่ได้เลือกพวกคุณมาปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในนามของการปกป้องความมั่นคงคงรัฐ แต่เขาเลือกพวกคุณมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาด้วย
 
เหตุผลที่รัฐสภาปฏิเสธข้อเรียกร้องของประชาชนราวสามหมื่นคนที่เข้าชื่อเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้น มีการแยกองค์ประกอบความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่ผ่อนคลายลง และอัตราโทษที่น้อยลง ย่อมจะต้องทำให้มีการละเมิด กล่าวหา ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตรมาดร้ายได้โดยง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐได้" นับเป็นการปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง 
 
อันที่จริง การวิจารณ์กษัตริย์เป็นคนละเรื่องกันกับการละเมิด ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย กษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่ได้รับการคุ้มครองโดย ม. 112 เหตุผลในการบอกปัดข้อเสนอของประชาชนครั้งนี้จึงแสดงการบิดเบือนในหลายๆ ประการด้วยกัน 
 
1) หากพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เข้าใจไม่ได้เลยว่าการมีโทษสูงจะทำให้เกิดการละเมิดสถาบันน้อยได้อย่างไร ในเมื่อข้อเท็จจริงที่ประจักษ์แจ้งคือ การที่ผู้ต้องหาคดี ม 112 เพิ่มเป็นจำนวนมหาศาลในปี 2552-2553 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการลดโทษ ม. 112 ลงเลย 
 
2) ด้วยตรรกเดียวกันนี้ สภาผู้แทนราษฎรไทยจะตอบอย่างไรว่า ในบางประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ อย่างญี่ปุ่น กษัตริย์เขาทรงกระทำการอย่างไรหรือจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายแบบ ม. 112 มาปกป้องเป็นพิเศษ กษัตริย์เขาเข้มแข็งหรือมีพระบรมเดชานุภาพอย่างไรหรือจึงไม่ต้องการกฎหมายใดๆ มาคุ้มครองเป็นพิเศษเหมือนกษัตริย์ ราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย 
 
3) ข้อโต้แย้งของสภาผู้แทนราษฎรตอบโต้แต่เพียงกล่าวว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ" แต่ข้อเสนอของ ครก. 112 นั้น ครอบคลุมทั้งกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นี่เป็นความจงใจสร้างความสับสนให้ปราชนเข้าใจผิดคิดว่า ครก. 112 มุ่งแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น
 
4) ข้อเสนอของ ครก. 112 ประสงค์ให้แยกแยะการวิจารณ์โดยบริสุทธิ์ใจ ด้วยข้อเท็จจริง ออกจากการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตรมาดร้าย เพราะทุกวันนี้เพียงแค่มีการวิจารณ์ใครต่อใครในครอบครัวของกษัตริย์ ก็อาจถูกเหมารวมว่าเป็นการละเมิดได้แล้ว
 
5) คงไม่ต้องอธิบายกันมากมายว่า การคงอยู่ของ ม. 112 แบบในปัจจุบันเอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในร่างกาย มีการกักขังหน่วงเหนี่ยว การไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากถือว่าโทษรุนแรงถึงขนาดเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และยังละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น ไม่ให้พิสูจน์ความจริง 
 
6) ม. 112 เองคือกฎหมายที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ มีส่วนดึงให้สถาบันตกต่ำ เนื่องจากสถาบันถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองและกลั่นแกล้งส่วนบุคคล รวมทั้งการไม่สามารถวิจารณ์สถาบันได้ ทำให้สถาบันไม่ถูกตรวจสอบ การตรวจสอบกับการละเมิดเป็นคนละเรื่องกันแน่นอน พระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงงาน จึงต้องถูกวิจารณ์ได้
 
ประการสุดท้าย การปัดข้อเสนอของปราชนครั้งนี้โดยสภาผู้แทนราษฎรนับเป็นภัยต่อความมั่นคงของ "สถาบันประชาชน" เหตุผลของสภาผู้แทนราษฎรชวนให้เข้าใจว่า สภาผู้แทนราษฎรไทยไม่เห็นว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนคือความมั่นคงของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรไทยเลือกปกป้องความมั่นคงของรัฐเหนือสิทธิเสรีภาพของประชาชน สภาผู้แทนราษฎรไทยยอมให้มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแลกกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ราวกับว่า ประเทศนี้ไม่ต้องมีก็ประชาชนได้ แต่ไม่มีกษัตริย์ไม่ได้
 
สภาผู้แทนราษฎรคงลืมไปแล้วว่า รัฐไทยในโลกปัจจุบันคือรัฐ-ชาติ และชาติคือประชาชน ไม่ใช่สถาบันอื่นใด ดังนั้น ถ้าสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองเหนือสถาบันอื่นใด ถ้าประชาชนถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ถ้าประเทศนี้ไม่มีสถาบันประชาชนที่เข้มแข็ง ถ้าไม่ปกป้องความมั่งคงของประชาชน จะมีรัฐประชาธิปไตยที่มั่นคงได้อย่างไร แล้วสภาผู้แทนราษฎรจะเกิดมาจากไหน จะมีอำนาจมาจากที่ใด จะเป็นสภาผู้แทนพระมหากษัตริย์หรืออย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย