Skip to main content

"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ

เมื่ออยู่เวียดนามกว่า 3 ปีเมื่อหลายปีก่อน ผมรู้สึกถึงการกำกับของเวลาโดยเทศกาล "เต๊ด" (Tết) ปีใหม่เวียดนามก็ตรงกับตรุษจีนนั่นเอง แต่คนเวียดนามไม่มีทางเรียกมันว่าตรุษจีน เพราะเขาไม่ชอบคนจีนเหมือนคนไทยไม่ชอบพม่าและเขมรนั่นแหละ แม้ว่าส่วนใหญ่ของวัฒนธรรมเวียดคือวัฒนธรรมที่มาจากชาวจีน รวมทั้งปีใหม่เวียดนาม

เต๊ดกำกับชีวิตชาวเวียดนามด้วยการทำให้ทุกกลุ่มชาติพันธ์ุต้องฉลองปีใหม่ตรงกันหมด ขณะที่ปีใหม่แบบฝรั่งตามปฏิทินฝรั่ง ไม่ได้รับความสำคัญอย่างเป็นทางการเท่าเต๊ด เช่นว่า เทศกาลเต๊ดไม่ได้มีเพียงวันไหว้ผีบรรพบุรุษ แต่เต๊ดของเวียดนามยังถูกทำให้เป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดู จากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีดอกท้อ (hoa đào) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ

สำหรับชาวเวียดนามทางเหนือก็พอจินตนาการตามได้ถึงการเปลี่ยนฤดู แต่สำหรับชาวเวียดนามใต้ สำหรับชาวกรอม (เขมร) และชาวจามทางใต้ ไม่รู้จะเอาอะไรมาคิดถึง "ฤดูใบไม้ผลิ" ท่ามกลางอากาศร้อนระอุเกือบตลอดทั้งปี ส่วนชาวเขาในเวียดนามใต้ แม้อากาศจะไม่ร้อนเท่าลุ่มนำ้โขงทางใต้ ก็ไม่มีจินตกรรมเวลาแบบชาวเวียดนามเหนือแน่นอน

เต๊ดถูกโปรโมตในสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่เพียงเวลา แต่กระทั่งอาหารการกิน โดยเฉพาะขนมประจำเทศกาลอย่าง bánh chưng (แบ๋ญจึง) ข้าวต้มสี่เหลี่ยมไส้หมูสามชั้นผสมถั่วเหลืองรสชาติเค็มๆ มันๆ เลี่ยนๆ คาวๆ ที่ต้มหรือซื้อหากันมาแทบทกบ้าน แต่ไม่เคยเห็นบ้านไหนกินกันหมด เห็นมีแต่ทำแจกกันไปมาจนเหลือทิ้ง หรือไม่ก็ต้องเอามาทอดกินแล้วกินเล่าจนต้องทิ้งในที่สุด ทุกวันนี้ ในทุกๆ ปี ชาวเวียดนามไม่ว่าจะชนกลุ่มใด ก็ต้องทำข้ามต้มคาวๆ นี้กินและทิ้งกันไปทั้งประเทศ

ด้วยความเป็น "ชาติเดียวกัน" เวียดนามจึงไม่มีปีใหม่แบบอื่นๆ ที่จะมีฐานะเทียบเท่าเต๊ด และด้วยหลักจักรวรรดินิยมของเวลาในลักษณะเดียวกัน ไทยจึงไม่มีปีใหม่ไหนๆ เทียบเท่าสงกรานต์ที่หยุดยาวกว่าปีใหม่อื่นๆ บ้าคลั่งมากกว่าเทศกาลอื่นๆ ส่วนงานเดือนสิบของภาคใต้ (เดือนสิบจัทรคติ) งานบุญบั้งไฟ (เดือนหกจันทรคติ) ฮารีรายอ (ที่สำคัญคือราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ใกล้งานบุญเดือนสิบ) ปีใหม่ม้ง (เคยมีต่างหาก) ปีใหม่กระเหรี่ยง (ก็น่าจะมีต่างหาก) หรือกระทั่งตรุษจีน และคริสต์มาส ซึ่งสำคัญต่อคนกลุ่มอื่นๆ มากกว่า ก็ไม่ได้มีฐานะเทียบเท่าสงกรานต

สงกรานต์ไม่เพียงกำหนดให้คนไทยและไม่ไทยต้องฉลอง แต่บังคับให้ทุกคนต้องยอมรับการเฉลิมฉลอง ต้องเปียก ต้องหยุดทำงาน จนปีหลังๆ มาต้องทนฟังเพลงดังๆ แล้วรัฐบาลก็ค่อยๆ คืบเข้ามากำหนดให้ชาวไทยต้องไหว้พระ ต้องรดนำ้ดำหัวผู้ใหญ่ ต้องโทรหาพ่อแม่เพราะถูกกำหนดให้เป็นวันครอบครัว รวมทั้งต้องไปเสี่ยงตายบนถนนหลวงพร้อมๆ กัน 

เมื่อไหร่เราจะมีเสรีภาพในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของแต่ละปี เราจะได้เลือกได้ว่าจะฉลองหรือไม่ฉลองอะไรเมื่อไหร่ เมื่อไหร่เราจะยกย่องการเปลี่ยนผ่านของเวลาหลายๆ แบบ ตามแต่ความหมายของชีวิตของแต่ละคน

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ