Skip to main content

"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ

เมื่ออยู่เวียดนามกว่า 3 ปีเมื่อหลายปีก่อน ผมรู้สึกถึงการกำกับของเวลาโดยเทศกาล "เต๊ด" (Tết) ปีใหม่เวียดนามก็ตรงกับตรุษจีนนั่นเอง แต่คนเวียดนามไม่มีทางเรียกมันว่าตรุษจีน เพราะเขาไม่ชอบคนจีนเหมือนคนไทยไม่ชอบพม่าและเขมรนั่นแหละ แม้ว่าส่วนใหญ่ของวัฒนธรรมเวียดคือวัฒนธรรมที่มาจากชาวจีน รวมทั้งปีใหม่เวียดนาม

เต๊ดกำกับชีวิตชาวเวียดนามด้วยการทำให้ทุกกลุ่มชาติพันธ์ุต้องฉลองปีใหม่ตรงกันหมด ขณะที่ปีใหม่แบบฝรั่งตามปฏิทินฝรั่ง ไม่ได้รับความสำคัญอย่างเป็นทางการเท่าเต๊ด เช่นว่า เทศกาลเต๊ดไม่ได้มีเพียงวันไหว้ผีบรรพบุรุษ แต่เต๊ดของเวียดนามยังถูกทำให้เป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดู จากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีดอกท้อ (hoa đào) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ

สำหรับชาวเวียดนามทางเหนือก็พอจินตนาการตามได้ถึงการเปลี่ยนฤดู แต่สำหรับชาวเวียดนามใต้ สำหรับชาวกรอม (เขมร) และชาวจามทางใต้ ไม่รู้จะเอาอะไรมาคิดถึง "ฤดูใบไม้ผลิ" ท่ามกลางอากาศร้อนระอุเกือบตลอดทั้งปี ส่วนชาวเขาในเวียดนามใต้ แม้อากาศจะไม่ร้อนเท่าลุ่มนำ้โขงทางใต้ ก็ไม่มีจินตกรรมเวลาแบบชาวเวียดนามเหนือแน่นอน

เต๊ดถูกโปรโมตในสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่เพียงเวลา แต่กระทั่งอาหารการกิน โดยเฉพาะขนมประจำเทศกาลอย่าง bánh chưng (แบ๋ญจึง) ข้าวต้มสี่เหลี่ยมไส้หมูสามชั้นผสมถั่วเหลืองรสชาติเค็มๆ มันๆ เลี่ยนๆ คาวๆ ที่ต้มหรือซื้อหากันมาแทบทกบ้าน แต่ไม่เคยเห็นบ้านไหนกินกันหมด เห็นมีแต่ทำแจกกันไปมาจนเหลือทิ้ง หรือไม่ก็ต้องเอามาทอดกินแล้วกินเล่าจนต้องทิ้งในที่สุด ทุกวันนี้ ในทุกๆ ปี ชาวเวียดนามไม่ว่าจะชนกลุ่มใด ก็ต้องทำข้ามต้มคาวๆ นี้กินและทิ้งกันไปทั้งประเทศ

ด้วยความเป็น "ชาติเดียวกัน" เวียดนามจึงไม่มีปีใหม่แบบอื่นๆ ที่จะมีฐานะเทียบเท่าเต๊ด และด้วยหลักจักรวรรดินิยมของเวลาในลักษณะเดียวกัน ไทยจึงไม่มีปีใหม่ไหนๆ เทียบเท่าสงกรานต์ที่หยุดยาวกว่าปีใหม่อื่นๆ บ้าคลั่งมากกว่าเทศกาลอื่นๆ ส่วนงานเดือนสิบของภาคใต้ (เดือนสิบจัทรคติ) งานบุญบั้งไฟ (เดือนหกจันทรคติ) ฮารีรายอ (ที่สำคัญคือราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ใกล้งานบุญเดือนสิบ) ปีใหม่ม้ง (เคยมีต่างหาก) ปีใหม่กระเหรี่ยง (ก็น่าจะมีต่างหาก) หรือกระทั่งตรุษจีน และคริสต์มาส ซึ่งสำคัญต่อคนกลุ่มอื่นๆ มากกว่า ก็ไม่ได้มีฐานะเทียบเท่าสงกรานต

สงกรานต์ไม่เพียงกำหนดให้คนไทยและไม่ไทยต้องฉลอง แต่บังคับให้ทุกคนต้องยอมรับการเฉลิมฉลอง ต้องเปียก ต้องหยุดทำงาน จนปีหลังๆ มาต้องทนฟังเพลงดังๆ แล้วรัฐบาลก็ค่อยๆ คืบเข้ามากำหนดให้ชาวไทยต้องไหว้พระ ต้องรดนำ้ดำหัวผู้ใหญ่ ต้องโทรหาพ่อแม่เพราะถูกกำหนดให้เป็นวันครอบครัว รวมทั้งต้องไปเสี่ยงตายบนถนนหลวงพร้อมๆ กัน 

เมื่อไหร่เราจะมีเสรีภาพในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของแต่ละปี เราจะได้เลือกได้ว่าจะฉลองหรือไม่ฉลองอะไรเมื่อไหร่ เมื่อไหร่เราจะยกย่องการเปลี่ยนผ่านของเวลาหลายๆ แบบ ตามแต่ความหมายของชีวิตของแต่ละคน

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์