Skip to main content

เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 

เขายังให้ข้อมูลที่น่าตกใจมากเข้าไปอีกว่า "แต่นั่นเขาทดเวลาแล้วนะครับ คือที่เขาถือว่า "ตรงเวลา" นั้น หมายถึงสามารถคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงได้ 30 นาที" สรุปแล้ว 30% ที่ไม่เลทนั้น อาจะเลทไปแล้ว 30 นาที คนเดียวกันนั้นยังบอกผมต่อว่า "แล้วที่ญี่ปุ่น โอกาสที่รถไฟเลทมีเท่าไหร่รู้ไหมครับ" เขาถามเองตอบเองเสร็จว่า "0.006%" (ผมอาจจำคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ประมาณนี้แหละ) 

 

คนเดียวกันยังถามผมอีกว่า "อาจารย์มีอะไรแนะนำเรื่องนโยบายนี้ไหม" ผมบอก "ผมจะไปรู้อะไรกับเรื่องรถไฟและการกู้เงิน จะแนะนำอะไรได้ มีอยู่เรื่องเดียวที่ผมว่าจำเป็นคือ ต้องทำให้มันเป็น "ระบบ" จริงๆ" 

 

ผมมาคิดต่อว่า ความเป็นระบบที่ว่าน่าจะมี 3 ส่วน หนึ่งคือระบบของการขนส่งมวลชน ที่ต้องเชื่อมโยงกันจริงๆ ไม่ใช่มีเพียงรถไฟความเร็วสูงที่เร็ว แต่ที่ช้าก็เชื่องช้าไร้ระบบอยู่ต่อไปอย่างนั้น หากแต่ต้องเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟความเร็วธรรมดา เชื่อมโยงกับรถเมล์สาธารณะกับรถไฟทั้งระบบ ทำแบบที่ประเทศญี่ปุ่น หรือที่ระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์คหรือชิคาโกเขาทำกัน  

 

ความเป็นระบบอีกอย่างคือ ต้องเป็นขนส่ง "มวลชน" ที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ไม่ใช่เพียงราคาถูก แต่ต้องทั่วถึง มีทุกภาค ไม่ใช่มีวิ่งไปวิ่งมาแค่ในใจกลางประเทศ เหมือนเมื่อสร้าง BTS แรกๆ ที่สนองเฉพาะชีวิตคนที่มั่งคั่งในเขตกรุงเทพชั้นใน ไม่ใช่เป็นของเล่นคนรวยแบบรถไฟแอ็มแทรกในสหรัฐอเมริกา ที่เอาไว้ให้คนมีสตางค์นั่งท่องเที่ยวบนรถไฟกัน ไม่ใช่แบบรถไฟตุ๊กตาแบบ "ดุสิตธานี" เมืองจำลองที่เอาไว้สร้างตำนานประชาธิปไตยโดยกษัตริย์หลอกลูกหลานไทย 

 

แต่ระบบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบชีวิตที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและสังคม รถไฟความเร็วสูงเกี่ยวข้องกับเวลาของชีวิตในหลายๆ มิติด้วยกัน เพราะรถไฟความเร็วสูงไม่เพียงสร้างระบบการขนส่งแบบใหม่ แต่มันจะมีส่วนสร้างหรือเสริมการสร้างระบบสังคมแบบใหม่ด้วย 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ผมเพิ่งกลับจากญี่ปุ่น ได้เจอเพื่อนเก่าหลายคน เพื่อนคนหนึ่งเป็นชาวโอซากา เคยทำวิจัยในเวียดนามในช่วงเวลาเดียวกัน จึงพูดคุยกันหลายเรื่อง พอมีคำถามถึงเขาว่า "รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรเมื่อไปทำวิจัยในหมู่บ้านที่เวียดนามมา" ดร.จบใหม่คนนั้นซึ่งที่จริงเป็นนักประวัติศาสตร์แต่จำเป็นต้องไปเก็บข้อมูลโดยอาศัยอยู่กับชาวบ้านที่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ก็ตอบว่า "รู้สึกได้ว่า เวลาที่นั่นแตกต่างจากเวลาที่เคยอยู่" 

 

เวลาในสังคมเกษตรย่อมแตกต่างจากเวลาของสังคมอุตสาหกรรม จังหวะชีวิตที่ข้ึนกับดินฟ้าอากาศ ความจำเป็นทางการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตร และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญหน้ากับญาติพี่น้องเสมอๆ ย่อมแตกต่างกับเวลาตามเข็มนาฬิกา เวลาของตลาดเงิน เวลาของการผลิตทางอุตสาหกรรม เวลาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เวลาของสังคมมวลชน เวลาของคนที่ส่วนใหญ่อยู่กับตนเองหรือครอบครัวขนาดเล็ก 

 

เวลาในหมู่บ้านในเวียดนามไม่เพียงแตกต่างกับเวลาของชาวเมืองโอซากาในเชิงคุณลักษณะหรอก แต่ยังแตกต่างกันในเชิงความแน่นอนและความรีบเร่งของการเคลื่อนไหว สำหรับเรื่องความเร็ว ไม่ต้องพูดถึงว่าเมืองใหญ่ขนาดโอซากานั้นใช้ความเร็วกันขนาดไหน หากแต่ก็ไม่ได้เร็วจนใครตามไม่ทัน เพราะในเมืองใหญ่ ในสังคมขนาดใหญ่ ความเร็วของแต่ละคนต้องพอเหมาะกับคนอื่น ต้องประสานกันได้ สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ความเร็วจึงได้แก่ความแม่นยำ 

 

พูดถึงความแม่นยำ มีครั้งหนึ่ง ผมรอรถเมล์ในเมืองเกียวโตที่สถานีชุมทางแห่งหนึ่ง ตามตารางรถ จะต้องเข้าเทียบท่าเวลา 9.48 น. ตรงท่ารถมีนาฬิกาบอกเวลาด้วยเข็มเรือนใหญ่ เมืองเข็มเคลื่อนถึง 9.48 ปุ๊บ รถก็หยุดสนิทที่ท่าปั๊บ แทบจะในวินาทีเดียวกัน 

 

ความแน่นอนแม่นยำดูจะเป็นสิ่งที่สำคัญเสียยิ่งกว่าความเร็ว เพราะถ้าเร็วไปโดยไม่มีความเชื่อมโยงกันอย่างแม่นยำ ระบบก็จะไม่สอดประสานกันได้ ความแม่นยำแน่นอนเป็นเครื่องมือของสังคมที่ต้องการการสอดประสานกันของสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นระบบ ความแม่นยำของระบบการขนส่งช่วยให้ชีวิตที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเชื่อมโยงประสานกัน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ความแม่นยำเป็นสะพาน "เชื่อมประมาน" ระบบที่อยู่กันคนละระนาบกันให้เจอกันได้ 

 

ในระหว่างบทสนทนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น จึงมีเพื่อนร่วมวงสนทนาพูดขึ้นมาว่า สำหรับการขนส่งสินค้าทางการเกษตร "รอเพียงนาทีเดียวก็เสียหายได้" ฉะนั้น เกษตรกรเขาก็อยากได้ความเร็วสูงในการขนส่งพืชผลเช่นกัน หากแต่เราอาจต้องคิดระบบขนส่งที่ ทั้งรวดเร็วและแม่นยำที่เหมาะกับสินค้าหลายๆ แบบ 

 

แต่สำหรับคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ ก็คงจะยังอยากอยู่ในระบบสังคมแบบที่การรถไฟจินตกรรม (คือทั้งจินตนาการและก่อกรรมให้) คือแบบที่ผู้โดยสารพบรักกันบนรถไฟ เรียนรู้ชีวิตผู้คนบนรถไฟ ยอมช้าไปบ้างอะไรบ้าง พลาดนัดผิดสัญญาอะไรบ้าง ก็ช่างประไร ส่วนใครที่อยากเร็ว อยากถูกบีบอัดอยู่ในพื้นที่และเวลาในโลกหลังสมัยใหม่อย่างไร ก็ปล่อยเขาฝันต่อไปเถิด ใช่ไหมล่ะ 

 

ใครบางคนคงยังไม่อยากอยู่ในเวลาแบบใหม่ ยังไม่พร้อมจะออกไปจากเวลาในหมู่บ้าน หรือที่จริง ใครบางคนที่มีอำนาจวาสนา คงอยากจำกัดโอกาสการเข้าถึงเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำ เอาไว้กับเฉพาะบางคนที่รวยพอจะเร็วได้ เฉพาะคนที่ใหญ่พอจะเห็นความสำคัญของเวลา ส่วนใครที่ยังยากจนอยู่น่ะ ก็ต้องก้มหน้ายอมรับความพอเพียงที่จำกัดให้เขาเชื่องช้าอยู่ต่อไปอย่างนั้น ใช่ไหมล่ะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้