Skip to main content

ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน

วิธีที่จะทำให้พวกเขาได้แสดงความเห็นคือ จัดเก้่าอี้นั่งเป็นครึ่งวงกลม แม้ว่าบางปีห้องเรียนจะใหญ่ขนาด 50-60 คน ผมก็ทำอย่างนี้ นอกจากนั้น ต้องให้พวกเขาเตรียมตัวมาก่อน ผมแบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2-3 คน แล้วให้ทุกคนอ่านเอกสารก่อนเข้าเรียน แต่ละกลุ่มต้องเขียนบันทึกสรุปเอกสารที่อ่านแล้วเตรียมคำถามมา 4-5 คำถาม ใครไม่อ่าน ก็จะไม่ได้อะไรจากการเรียน พอสัมมนาไปสักพัก ผมจะบรรยายสรุปประเด็นปิดท้าย (ดูเอกสารประกอบการบรรยายบางส่วน)

 

นอกจากนั้น ผมให้ทุกคนทำงานเดี่ยว ทุกคนต้องอ่านหนังสือหรือวิทยานิพนธ์หนึ่งเล่ม แล้วเขียน “บทปริทัศน์หนังสือ” คนละ 5-7 หน้า อีกส่วนที่ต้องทำคือ มีโครงการวิจัยเล็กๆ ของแต่ละคน เป็นงานเดี่ยว พวกเขาจะต้องเลือกหัวข้อที่สนใจเอาเอง แล้วจัดสรรเวลาไปเก็บข้อมูล ในสัปดาห์ท้ายๆ ของการเรียน เราจะนำ "บันทึกภาคสนาม" มาแลกเปลี่ยนกัน ถกเถียงกัน คัดเลือกของบางคนที่น่าสนใจมานำเสนอหน้าชั้นเรียนกัน สุดท้าย ทุกคนจะต้องเขียน “บทประพันธ์เชิงชาติพันธ์ุนิพนธ์” คนละ 10-12 หน้า

 

เมื่อวาน ผมเพิ่งอ่าน “บทประพันธ์เชิงชาติพันธ์ุนิพนธ์” ของนักศึกษาเสร็จ นักศึกษาวิชานี้ปีนี้มีทั้งสิ้น 65 คน คนละหนึ่งชิ้น ชิ้นละ 10-12 หน้า รวมแล้วราว 700 กว่าหน้าจบ ขอแชร์บันทึกสั้นๆ ที่ผมประมวลภาพรวมของผลงานทั้งหมดไว้ดังนี้

 

(1) เนื้อหาของงานมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่เรื่องดาราเกาหลี อินสตาแกรม ศาสนา ความเชื่อ ไปจนถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ การเขียนนิยาย การแต่งรถ แรงงานอพยพ คนสูงวัย เทคโนโลยี คนพิการ การแต่งหน้า การศัลยกรรม กลุ่มชาติพันธ์ุ ฯลฯ

 

แต่โดยภาพรวมแล้วส่วนใหญ่สนใจสังคมใกล้ตัว คนใกล้ตัว หรือสนใจตนเอง ทำให้เห็นว่านักศึกษาสนใจทำความเข้าใจตนเอง มากกว่าทำความเข้าใจสังคมที่กว้างห่างไกลตนเอง หรือไม่อย่างนั้นก็สนใจสังคมรอบข้างที่ใกล้ตนเอง

 

(2) ส่วนประเด็นศึกษาหรือแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่เพศสถานะ ความเป็นหญิง-ชาย เรือนร่าง อัตลักษณ์ วัฒนธรรมการต่อต้าน วัฒนธรรมความจน ไปจนถึงมานุษยวิทยาทัศนา ความเป็นชายขอบ ความเป็นพื้นที่ เป็นต้น หรือที่ซื่อๆ ก็ยังเห็นมีคนใช้ทฤษฎีการแพร่กระจาย ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และทฤษฎีบทบาททางสังคมอยู่ 

 

บางคนเลือกพรรณนารายละเอียดของชีวิตคนโดยแทบจะไม่มีการตีความทับเลย และส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดมากเท่ากับสาระของวิถีชีวิตที่หลากหลาย ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ดีหากทำได้อย่างละเอียดละออและหากสามารถแสดงให้เห็นแง่มุมของชีวิตผู้คนได้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ

 

(3) ในแง่การนำเสนอ โจทย์ที่ผมตั้งให้พวกเขาคือ "surprise me" คือจะทำอย่างไรก็ตามที่จะทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นกับงานเขียนของพวกเขา 

 

หลายคนจึงเลือกวิธีการเขียนที่ไม่ธรรมดา ไม่ได้อยู่ในขนบของการเขียน "งานวิชาการ" ทั่วไป เช่น บางคนเขียนเรื่องสั้น บางคนเขียนบทความวิชาการปนเรื่องสั้นปนภาพประกอบนามธรรมเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ บางคนเขียนการ์ตูนมาส่ง บางคนเขียนจดหมาย บางคนเขียนบทนำเป็นกลอนที่ไพเราะและได้เนื้อหาทางวิชาการดีมากด้วย 

 

แต่งานเขียนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการเขียนในขนบของงานวิชาการ บางคนเขียนเป็นวิทยาศาสตร์เสียจนบางทีก็น่าเบื่อไปบ้าง สุดท้ายผมพบว่า งานชิ้นไหนยิ่งชวนให้ใช้เวลาอ่านนานเท่าไหร่ จูงใจให้อ่านได้มากตัวอักษรเท่าไหร่ ยิ่งจะได้คะแนนดี

 

(4) แน่นอนว่างานเขียนของพวกเขาหลายคนยังมีปัญหา ปัญหาที่พบบ่อยๆ คือ การเขียนโดยไม่มีย่อหน้า หรือเรื่องราวทั้งหัวข้อใหญ่ๆ เนื้อหายาวๆ แต่กลับมีเพียงย่อหน้าเดียว ผมบอกเขาหลายครั้งแล้วว่า นั่นแสดงว่าคุณจัดระบบความคิด จัดลำดับการนำเสนอไม่ได้ หรือไม่ได้จัดโครงสร้างการนำเสนอก่อนหรือหลังการเขียน 

 

บางคนเหมือนพวกบ้าทฤษฎี หรือบางทีพวกเขาจะพยายามเอาใจนักทฤษฎีเสียจนล้นพ้น ทำให้เนื้อที่สำหรับการเสนอผลงานตนเองน้อยไป พวกเขานึกว่าอาจารย์จะอยากอ่านทฤษฎีที่พวกเขาเพียรลอกๆๆ มาอย่างนั้นหรือ ไม่ทราบเมื่อไหร่จะเข้าใจกันเสียที

 

ปัญหาการเขียนทั่วๆ ไปยังมีอีกมาก แต่ที่สำคัญอยากยกมาสรุปตรงนี้คือปัญหาการนำเสนอด้วยมุมมองจากเบื้องบน (omniscient point of view) คือสรุปความโดยไม่มี "ผู้มอง" ไม่มีผู้พูด กล่าวราวกับเป็นความจริงสูงสุด ทั้งๆ ที่สรุปมาจากเพียงการศึกษาคน 2-3 คน ไม่ปล่อยเสียงของผู้คนที่พวกเขาศึกษาเข้ามาในงานบ้างเลย บางคนคงเชื่อว่าการเขียนด้วยการบังตนเองและขจัดเสียงหลากหลายออกไปให้หมดคือวิธีที่ทำให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความชัดเจน แต่จริงๆ แล้วนั่นคือวิธีลดทอนความจริงที่มีสีสัน ให้กลายเป็นเพียงข้อสรุปที่ตายด้าน

 

สรุปรวมแล้ว งานหลายชิ้นทำให้ผมทึ่งทั้งด้วยเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และประเด็นที่พวกเขานำเสนอ งานหลายชิ้นทำให้ผมต้องสารภาพว่า เมื่อตอนที่อายุเท่าพวกเขา ผมยังไม่สามารถเขียนอะไรได้ขนาดนี้เลยด้วยซ้ำ งานหลายชิ้นให้ความบันเทิงมากกว่างานนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก งานส่วนใหญ่ให้ความหวังทางวิชาการมากกว่างานวิจัยและบทความวิชาการของนักวิชาการหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย แถมบางชิ้นยังให้ความรู้และน่าอ่านมากกว่างานเขียนของศาสตราจารย์บางคน

 

การอ่านงานของนักศึกษาชวนให้เกิดอารมณ์หลายๆ อย่าง งานบางชิ้นชวนให้โกรธ งานบางชิ้นชวนให้หน่าย ให้ง่วง ให้น้อยใจในวาสนาของตนเอง แต่งานหลายชิ้นก็ชวนให้ตื่นเต้น ชวนให้ปลื้มใจ ทำให้ยิ้มได้และอยากเอาไปอวดผู้คน

 

นักศึกษาหลายคนอาจเพิ่งเคยเขียนงานลักษณะนี้ หลายคนอาจจะยังมีโอกาสเขียนงานลักษณะนี้อีก แต่หลายคนอาจจะเขียนงานลักษณะนี้เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตการเรียนของพวกเขา 

 

หวังว่าพวกเขาจะนำเอา "การเขียนชีวิตผู้คน" ไปใช้ทำความเข้าใจชีวิตตนเองและคนอื่นที่พวกเขาจะพบเจอในภายหน้าได้บ้างตามสมควรแก่โอกาส และหากโชคดี สังคมอาจจะได้ต้อนรับงานเขียนจากนักเขียนหน้าใหม่อีกมากมายในอนาคตอันใกล้นี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ