Skip to main content

เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน

ตอนแรกผมเริ่มวิตกว่าไม่ได้เอาสมุดบันทึกเข้าไปในโรงหนัง กลัวลืมรายละเอียด แต่ก็คิดได้ว่า บ้าไปแล้ว มาดูหนังไม่ใช่มาทำวิจัยภาคสนาม

 

ผมว่าหนังเรื่องนี้บูชาความรักเหนือสิ่งอื่นใดจริงๆ เริ่มเรื่อง เราไม่ต้องรู้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นเป็นการรบระหว่างใครกับใคร รบไปทำไม รบที่ไหน ยุคไหนสมัยไหน รู้แต่ว่า พี่มากขาต้องเอาชีวิตรอดกลับไปให้ได้เพื่อเจอนางนาค

 

ความรักของพี่มากขาที่อยู่เหนือชาติเหนือแผ่นดินถูกยืนยันหนักแน่นเมื่อมากจู๋จี๋จ๊ะจ๋ากับนางนาคที่เรือน ประโยคเด็ดนั้นพูดว่าอะไร หลายคนก็น่าจะรู้ๆ กันดีอยู่แล้ว เพราะถูกหยิบไปพูดถึงกันมากแล้ว ถึงตรงนี้ ผมนึกชื่นชมกองเซ็นเซอร์ที่ปล่อยให้ประโยคนั้นหลุดออกมา แต่อีกใจก็นึกว่า สงสัยกองเซ็นเซอร์คงไม่ฉลาดพอจะเข้าใจว่า นี่มันเป็นการตบหน้าอาการคลั่งชาติบ้าสงครามของรัฐไทยชัดๆ

 

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่า บทหนังยังล้อเลียนความคลั่งชาติบ้าสงครามด้วยการเสียดสีสงครามแห่งความพ่ายแพ้หลายสงครามที่มักถูกหยิบมาอ้างให้คนไทยรักชาติในฉากแรกๆ ของหนัง

 

แล้วไม่ทราบใครเห็นพระถูกพี่มากถีบบ้าง ผมเห็นเต็มตาว่าพระที่ทำทีจะต่อกรกับนางนาคถูกพี่มากถีบ แม้จะโดยไม่ตั้งใจ นี่เป็นอีกฉากที่น่าสรรเสริญความรักของพี่มากขา เพราะศาสนาซึ่งควรจะมีเมตตาอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของความรัก กลับไม่ใช้ความรักเพื่อเข้าใจความรัก แต่จะว่าไป พี่มากคงไม่ได้ถึงกับถีบศาสนา เพียงแต่ถีบผู้สืบทอดศาสนาที่ไม่เข้าใจความจริงของโลก

 

หนังพิสูจน์ว่าความรักอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยกเว้นอารมณ์ขัน เพราะสัดส่วนของเสียงหัวเราะในโรงหนังมีมากกว่าสัดส่วนของอมยิ้มขวยเขินยามเข้าพระเข้านางและน้ำตาซาบซึ้งกับความรัก น่าสนใจที่ทำไมหนังไทยและคนไทยที่ดูหนังไทยจึงสามารถปนเปความกลัวกับเรื่องตลกได้ (แม้ไม่ถึงกับแปลงความกลัวให้เป็นเรื่องตลก) สงสัยว่าคนไทยจะขำกับความกลัวของผู้คน เสมือนว่าจริงๆ แล้ว อะไรที่น่ากลัวไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น จึงขันว่าทำไมตัวละครถึงกลัวกันลนลานจนสูญเสียความเป็นคนกันไปจนน่าขัน

 

ผมสงสัยว่าใครในโลกหล้านี้จะดูหนังเรื่องนี้รู้เรื่องบ้าง หรือจะขำอย่างที่คนไทยยอมจ่ายตังค์ไปขำกันบ้าง แม้หนังจะมีกลวิธีผูกเรื่องให้มีเกร็ดเล็กน้อยให้งงแล้วมาเฉลย จนทำให้หนังดูมีเหตุมีผลไปเสียแทบทุกอย่าง เช่น เรื่องแหวน เรื่องเจ้าเอ เรื่องมากรู้ความจริงเกี่ยวกับนาค ที่ทำให้หนังดู "สากล" แต่มุกเจ้าเอรับกรรมที่ก่อกับนาค มุกพวกมาก-นาคถูกม็อบชาวบ้านขับไล่ มุกเก็บลูกมะนาว มุกผีไทยในบ้านผีสิง ฯลฯ จะมีใครในโลกหล้าเข้าใจกันบ้างล่ะเนี่ย

 

แต่ยังไงผมก็ชอบและชื่นชมหนังนี้มากนะ ที่ชอบที่สุดคือภาษาพูด ที่ไม่กระแดะพูด "ภาษาโบราณ" ความจริงนี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หนังล้อเลียนได้ดีเยี่ยม และเป็นอีกสิ่งที่ "แปล" ให้ชาวโลกเข้าใจไม่ได้ นอกจากนั้นยังชอบที่หนังคงความเป็นตำนานนางนาค ที่ต้องมี motif หลักๆ ของตำนานนี้ครบครัน (เก็บมะนาว ห้อยหัว เปลไกวเอง บ้านรก หนอนในอาหาร ฯลฯ) และชอบที่มีมุกหลอกคนดูให้คิดพลิกกลับไปมา จนเกือบเชื่อว่า หรือเราเข้าใจสถานภาพของนาคผิดไปจริงๆ

 

เหนืออื่นใดคือชอบที่หนังหานิยามความรักใหม่ให้กับคู่รักอมตะมาก-นาค เป็นรักเหนือชาติ ศาสน์ กะ..คำตีตราของสังคม จนกลายเป็นรักที่มีพลังพ้นความเป็นอื่นอันห่างไกลกันแม้ข้ามภพภูมิ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี