Skip to main content

ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้

ผมเดาว่าการลดประชากรนักเรียนนั้นมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดน้อยลงของประชากร คือเด็กเกิดน้อยลง จากที่เคยมีลูก 7-8 คน ปัจจุบันในชนบทก็มีกันแค่ 2-3 คนเป็นอย่างมาก แต่จากประสบการณ์ตอนที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งไม่ได้ห่างไกลกรุงเทพฯ มากมายเลย ผมมีข้อสังเกตต่อนโยบายนี้สั้นๆ ว่า 

1) โรงเรียนในหมู่บ้านที่ผมศึกษามีปัญหามากในการรักษาจำนวนนักเรียนให้ได้เกินร้อย วิธีหนึ่งก็คือการดึงเด็กไปเข้าโรงเรียนเร็วขึ้น คือเด็กจะเรียนชั้นอนุบาลและประถมเร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะก่อปัญหาอีกลักษณะหนึ่ง คือเด็กยังไม่พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้แบบกระทรวงศึกษาประเทศไทย

2) แต่เอาเข้าจริงๆ โรงเรียนไม่มีครูเพียงพอแก่การสอน วิธีแก้ปัญหาของครูใหญ่ (จะเรียกหรูๆ ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้) วิธีหนึ่งคือ ใช้โครงการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เปิดทีวีนำสัญญาญภาพทางไกลมาให้นักเรียนดู เป็นครูตู้ไป ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนครูมีไม่น้อยกว่าปัญหาการขาดแคลนเด็กนักเรียน 

3) เมื่อยุบโรงเรียน ปัญหาหนึ่งคือการเดินทาง อย่าคิดว่าเส้นทางสัญจรในชนบทจะดีเหมือนในกรุงเทพฯ ในกทม. ฝนตกหน่อยเราก็ร้องแทบเป็นแทบตายว่ารถติด เฉอะแฉะ เด็กเปียกปอน กลัวลูกหลานเป็นหวัด ฯลฯ 

แต่ในต่างจังหวัด ถนนไม่ได้ดีอย่างนี้ ถนนภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำท่วมทุกปี ถนนพังเสมอ ใครที่ว่าอบต. มักหากินกับการรับเหมาก่อสร้าง ก็ควรเข้าใจด้วยว่า ในชนบทน่ะ ถนนไม่ได้คอยถูกเนรมิตให้เรียบเนียน สะอาด แบบถนนหน้าบ้านพวกคุณในกทม.

เมื่อโรงเรียนถูกยุบรวมกัน นักเรียนต้องเดินทางไปต่างหมู่บ้านที่ไกลกันสัก 5-10 กิโลเมตร เส้นทางแค่นี้ดูไม่ไกลสำหรับคนมีรถขับในกทม. แต่ผู้ปกครองในต่างจังหวัดอย่างมากก็มีมอร์เตอร์ไซค์รับส่งลูก น้อยนักที่จะมีรถกะบะ หรืออย่างหรูปลอดภัยกว่ามอร์'ไซค์ก็รถอีแต๋น-อีแต๊กซึ่งก็ทุลักทุเล ไม่มีหรอกรถโรงเรียน หรือแม้แต่รถประจำทางก็แทบไม่มี การคงโรงเรียนขนาดเล็กในบางท้องถิ่นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ปกครอง

4) ผมเห็นโรงเรียนที่ถูกปิดตัวลงแล้วก็น่าเห็นใจ เพราะขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็ไม่รู้ว่าหลังจากปิดตัวลงแล้วที่ดินและทรัพยากรที่รกร้างเห่านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป

5) หากไม่มองปัญหาแบบเหมารวมรวบยอดและคิดว่าจะแก้ไขได้ด้วยการใช้นโยบายเดียวกันสาดไปทั่วประเทศ บางทีอาจจะต้องคิดถึงการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ไปว่า พื้นที่ไหนควรจัดการการศึกษาอย่างไร เช่น พื้นที่ไหนพร้อมที่ท้องถิ่นจะจัดการโรงเรียนเองได้ ก็ปล่อยเขาไปโดยกระทรวงศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่กำกับควบคุม พื้นที่ไหนยุบรวมแล้วไม่ก่อปัญหากับนักเรียนและผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้เลย พื้นที่ไหนจำเป็นต้องยอม "ขาดทุน" แต่ในเมื่อต้นทุนทางสังคมสูงกว่าหากจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐก็ต้องยอมขาดทุน ยอมจ่ายเพื่อเด็กๆ บ้างจะไม่ได้เชียวหรือ

คำพูดของรัฐมนตรีฯ สั้นๆ แต่มีความหมายและมีผลใหญ่หลวง หากแต่การศึกษาข้อเท็จจริงและทางเลือกของการแก้ปัญหาในระยะยาวแบบเข้าใจโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม เข้าใจโครงสร้างปัญหาที่นอกเหนือจากความคุ้มทุนที่คำนวนเฉพาะจำนวนนักเรียนกับห้องเรียน เห็นปัญหาการขาดแคลนครู รวมทั้งเห็นทางเลือกอื่นๆ เช่นการสร้างโรงเรียนนิติบุคคลให้อบต.ดูแลแล้วผู้ปกครองในท้องถิ่นมีส่วนร่วม จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าไหม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...