Skip to main content

เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ" 

เขาคงไม่คิดว่าเขาจนแต้มหรอก แต่ผมถือว่านั่นคือการจนแต้ม ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยลองทำอะไรแบบนี้ แต่นั่นมันนานแสนนานมาแล้ว หรือเป็นเพราะตอนนั้นผมคงยังไม่แก่พอที่จะไม่อยากขวนขวายหาอะไรอื่นนอกจากพุทธศาสนาอีกแล้วมาตอบทุกคำถาม

เคยมีศาสตราจารย์ไทยคนหนึ่งถามนักศึกษามานุษยวิทยาว่า "มีทฤษฎีอะไรที่ตอบคำถามได้ทุกอย่างหรือเปล่า" นักศึกษาก็ตอบไปอย่างที่เรียนมาว่า "ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาต้องประกอบกันหลายๆ ทฤษฎี จึงจะสามารถทำความเข้าใจสังคม เข้าใจมนุษย์ได้ ไม่มีทฤษฎีอะไรที่ดีที่สุดที่สามารถตอบได้ทุกคำถาม" ศาสตราจารย์คนนั้นยังตื้อถามอีกว่า "มีสิ ลองคิดดูดีๆ" นักศึกษาก็เริ่มงง ศาสตราจารย์คนนั้นก็เลยตอบเองว่า "ก็ศาสนาพุทธไงล่ะ" 

ผมสงสัยว่าทำไม ศ. คนนั้นถึงไม่ไปบวชพระเสีย แล้วเดินทางธรรมไปเลย จะมากินเงินเดือนหากินเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำไม แต่คงเพราะเขาไม่ได้อยากเปลี่ยนชีวิตตนเองขนาดนั้น เขาแค่อยากคิดแบบนั้น ปรับตัวบ้างนิดหน่อย แล้วก็กินเงินเดือนเทศนาคนอื่นไปเรื่อยๆ 

จะว่าไปการคิดแนวพุทธศาสนาของนักคิดไทยส่วนมากก็เป็นการคิดแบบพุทธในแนวหนึ่ง อยากเรียกว่าแนวพุทธทาสหรือไม่ก็แนวพระประยุทธ์ ปยุตฺโต ซึ่งเน้นการใช้ความคิดใช้ "ปัญญา" มากกว่าการ "ปฏิบัติ" พูดง่ายๆ คือไม่มีใครออกแนวเจริญวิปัสสนา หรือไม่เห็นใครกลายเป็นพระธุดงค์ไปสักคน ยิ่งเรื่องปาฏิหาริย์ยิ่งไม่ต้องพูดกัน สำหรับผม แนววิปัสสนา แนวธุดงค์ แนวปฏิหาริย์น่ะ ไทยเสียยิ่งกว่าแนวนักคิดชราอีก

ก็เพราะว่าพุทธศาสนาแบบนี้ไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องปรับตัวอะไรมากมายนี่เอง ที่ทำให้พวกนักคิดไทยวัยชราเหล่านี้เลือกสมาทาน พุทธศาสนาแบบนี้จึงเป็นพุทธศาสนาของคนที่สามารถปรับศาสนาให้เข้ากับชีวิตประจำวันแบบชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองได้ง่าย พวกเขาไม่ต้องปรับการกินอยู่ ไม่ต้องลำบากปฏิวัติตนเอง ปฏิวัติจิตใจ แค่อาศัยการนำเอาหลักคิดแบบพุทธๆ ไปใช้ในการเข้าใจสังคม เข้าใจตนเอง

แต่จะว่าไป การคิดทางพุทธศาสนามักนำมาซึ่งการทดลองปฏิบัติอะไรตามความคิดนั้นอยู่เสมอ แต่ผมก็คิดว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงชาวพุทธที่เป็นชนชั้นกลางระดับสูงในเมือง แค่กินน้อยลง พูดช้าลงหน่อย นานๆ แสดงทัศนะที ไม่ต้องสุงสิงกับเรื่องปากท้อง เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการชิงอำนาจการเมือง เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องเขตแดน เรื่องอะไรก็ไม่ต้องสนใจทั้งนั้น เพราะคิดดี ทำดี อยู่แต่ในบ้าน แล้วก็ตระเวนเทศนาบ้างเป็นครั้งเป็นคราว จบ.

ความจริงการจนแต้มที่พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเฉพาะในแวดวงวิชาการทางสังคมศาสตร์ แนวทางแบบเข้าวัดในบั้นปลายชีวิตกลายเป็นแนวทางากรค้นหาความเป็นตัวของตัวเองในการทำงานศิลปะของศิลปินไทยเหมือนกัน ผมสงสัยว่านักเขียนไทยก็อาจจะลงเอยทางนี้กันมากเหมือนกัน ถ้าจะไม่ใช่พวกออกแนวแสวงหา "วัฒนธรรมชุมชน"

ดังนั้น นอกจากจะเป็นความสอดคล้องในด้านของวิถีชีวิตแล้ว อาจเป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ในโลกที่กำลังหมุนตามภาวะโลกาภิวัตน์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจเป็นวิกฤติอัตลักษณ์ของแต่ละคนในบั้นปลายของชีิวิต 

พูดง่ายๆ ว่า หลายคนหมดปัญญาและหมดศรัทธากับการวิ่งไล่โลกความคิดสากลไปแล้ว เลิกอ่านหนังสือใหม่ๆ ไปนานเกินกว่า 10 ปีแล้ว และพอได้ตำแหน่งวิชาการใหญ่โตก็เริ่มอยากสถาปนาความเป็น "เอตทัคคะ" คือเชี่ยวชาญเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งกับเขาบ้าง เรียกว่า ก็อยากเสนอทฤษฎีอะไรให้โลกสากลนั่นแหละ แต่คิดตามเขาไม่ไหว ก็เลยหันมาหาโลกพุทธศาสนา

น่าทำวิจัยศึกษานักคิดแก่ๆ เหล่านี้ว่าทำไมแก่แล้วต้องเข้าวัด แต่จะว่าไป ตัวเองจะเข้าก็เข้าไปกับพวกกลุ่มตัวเองสิ ทำไมจะต้องมาลากให้คนอื่นที่ยังมีหนทางอื่นๆ ให้เลือกเข้าตามไปด้วย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย