Skip to main content

เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ" 

เขาคงไม่คิดว่าเขาจนแต้มหรอก แต่ผมถือว่านั่นคือการจนแต้ม ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยลองทำอะไรแบบนี้ แต่นั่นมันนานแสนนานมาแล้ว หรือเป็นเพราะตอนนั้นผมคงยังไม่แก่พอที่จะไม่อยากขวนขวายหาอะไรอื่นนอกจากพุทธศาสนาอีกแล้วมาตอบทุกคำถาม

เคยมีศาสตราจารย์ไทยคนหนึ่งถามนักศึกษามานุษยวิทยาว่า "มีทฤษฎีอะไรที่ตอบคำถามได้ทุกอย่างหรือเปล่า" นักศึกษาก็ตอบไปอย่างที่เรียนมาว่า "ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาต้องประกอบกันหลายๆ ทฤษฎี จึงจะสามารถทำความเข้าใจสังคม เข้าใจมนุษย์ได้ ไม่มีทฤษฎีอะไรที่ดีที่สุดที่สามารถตอบได้ทุกคำถาม" ศาสตราจารย์คนนั้นยังตื้อถามอีกว่า "มีสิ ลองคิดดูดีๆ" นักศึกษาก็เริ่มงง ศาสตราจารย์คนนั้นก็เลยตอบเองว่า "ก็ศาสนาพุทธไงล่ะ" 

ผมสงสัยว่าทำไม ศ. คนนั้นถึงไม่ไปบวชพระเสีย แล้วเดินทางธรรมไปเลย จะมากินเงินเดือนหากินเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำไม แต่คงเพราะเขาไม่ได้อยากเปลี่ยนชีวิตตนเองขนาดนั้น เขาแค่อยากคิดแบบนั้น ปรับตัวบ้างนิดหน่อย แล้วก็กินเงินเดือนเทศนาคนอื่นไปเรื่อยๆ 

จะว่าไปการคิดแนวพุทธศาสนาของนักคิดไทยส่วนมากก็เป็นการคิดแบบพุทธในแนวหนึ่ง อยากเรียกว่าแนวพุทธทาสหรือไม่ก็แนวพระประยุทธ์ ปยุตฺโต ซึ่งเน้นการใช้ความคิดใช้ "ปัญญา" มากกว่าการ "ปฏิบัติ" พูดง่ายๆ คือไม่มีใครออกแนวเจริญวิปัสสนา หรือไม่เห็นใครกลายเป็นพระธุดงค์ไปสักคน ยิ่งเรื่องปาฏิหาริย์ยิ่งไม่ต้องพูดกัน สำหรับผม แนววิปัสสนา แนวธุดงค์ แนวปฏิหาริย์น่ะ ไทยเสียยิ่งกว่าแนวนักคิดชราอีก

ก็เพราะว่าพุทธศาสนาแบบนี้ไม่ได้เรียกร้องให้พวกเขาต้องปรับตัวอะไรมากมายนี่เอง ที่ทำให้พวกนักคิดไทยวัยชราเหล่านี้เลือกสมาทาน พุทธศาสนาแบบนี้จึงเป็นพุทธศาสนาของคนที่สามารถปรับศาสนาให้เข้ากับชีวิตประจำวันแบบชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองได้ง่าย พวกเขาไม่ต้องปรับการกินอยู่ ไม่ต้องลำบากปฏิวัติตนเอง ปฏิวัติจิตใจ แค่อาศัยการนำเอาหลักคิดแบบพุทธๆ ไปใช้ในการเข้าใจสังคม เข้าใจตนเอง

แต่จะว่าไป การคิดทางพุทธศาสนามักนำมาซึ่งการทดลองปฏิบัติอะไรตามความคิดนั้นอยู่เสมอ แต่ผมก็คิดว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงชาวพุทธที่เป็นชนชั้นกลางระดับสูงในเมือง แค่กินน้อยลง พูดช้าลงหน่อย นานๆ แสดงทัศนะที ไม่ต้องสุงสิงกับเรื่องปากท้อง เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการชิงอำนาจการเมือง เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องเขตแดน เรื่องอะไรก็ไม่ต้องสนใจทั้งนั้น เพราะคิดดี ทำดี อยู่แต่ในบ้าน แล้วก็ตระเวนเทศนาบ้างเป็นครั้งเป็นคราว จบ.

ความจริงการจนแต้มที่พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเฉพาะในแวดวงวิชาการทางสังคมศาสตร์ แนวทางแบบเข้าวัดในบั้นปลายชีวิตกลายเป็นแนวทางากรค้นหาความเป็นตัวของตัวเองในการทำงานศิลปะของศิลปินไทยเหมือนกัน ผมสงสัยว่านักเขียนไทยก็อาจจะลงเอยทางนี้กันมากเหมือนกัน ถ้าจะไม่ใช่พวกออกแนวแสวงหา "วัฒนธรรมชุมชน"

ดังนั้น นอกจากจะเป็นความสอดคล้องในด้านของวิถีชีวิตแล้ว อาจเป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ในโลกที่กำลังหมุนตามภาวะโลกาภิวัตน์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจเป็นวิกฤติอัตลักษณ์ของแต่ละคนในบั้นปลายของชีิวิต 

พูดง่ายๆ ว่า หลายคนหมดปัญญาและหมดศรัทธากับการวิ่งไล่โลกความคิดสากลไปแล้ว เลิกอ่านหนังสือใหม่ๆ ไปนานเกินกว่า 10 ปีแล้ว และพอได้ตำแหน่งวิชาการใหญ่โตก็เริ่มอยากสถาปนาความเป็น "เอตทัคคะ" คือเชี่ยวชาญเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งกับเขาบ้าง เรียกว่า ก็อยากเสนอทฤษฎีอะไรให้โลกสากลนั่นแหละ แต่คิดตามเขาไม่ไหว ก็เลยหันมาหาโลกพุทธศาสนา

น่าทำวิจัยศึกษานักคิดแก่ๆ เหล่านี้ว่าทำไมแก่แล้วต้องเข้าวัด แต่จะว่าไป ตัวเองจะเข้าก็เข้าไปกับพวกกลุ่มตัวเองสิ ทำไมจะต้องมาลากให้คนอื่นที่ยังมีหนทางอื่นๆ ให้เลือกเข้าตามไปด้วย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้