Skip to main content

อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผมรู้จักอาจารย์ชาญวิทย์มาตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่่ายการนักศึกษา ผมทำกิจกรรมนักศึกษา จึงมีโอกาสโต้เถียงท้าทายท่านบ้าง ตามประสาคู่กัด "รองฯ ฝ่ายการฯ กับเด็กกิจกรรม" สมัยนั้น

แต่ผมน่ะเป็นเพียงระดับรองบ่อน พวกพี่ๆ ที่ปะทะคารมกับอาจารย์ซึ่งๆ หน้า สมันนั้นน่ะเหรอ เอ่ยชื่อมาก็ล้วนแต่เป็นคนที่ทำกิจกรรมสังคมร่วมกันกับอาจารย์ชาญวิทย์ในขณะนี้แทบจะทั้งสิ้น

ผมไม่ได้เคยทำงานใกล้ชิดอาจารย์เลย ส่วนใหญ่ก็เห็นท่านเพียงห่างๆ แต่ก็ได้ร่วมสนทนากับท่านบ้างก็เมื่อผมศึกษาปริญญาเอกจบแล้ว ท่านมักให้โอกาสไปบรรยายในงานวิชาการที่ท่านจัดขึ้นบ่อยๆ

เวที "วิชาการสไตล์อาจารย์ชาญวิทย์" นั้นเป็นเวทีพิเศษ แตกต่างจากเวทีวิชาการที่ผมคุ้นเคยตรงที่มีผู้คนสนใจกว้างขวาง ผู้เข้ารับฟังส่วนใหญ่เรียนรู้ประเด็นและเนื้อหาใหม่ๆ ที่ต้องนำเสนอแบบ "เคี้ยวได้ ย่อยง่าย ไม่ต้องปีนบันไดเรียน" ผมไม่มีทางนำเสนองานแบบท่านได้ แต่ก็ได้เรียนรู้และพยายามปรับวิธีการสื่อสารกับสังคม จากการได้เข้าร่วมเวทีวิชาการของอาจารย์ชาญวิทย์

แต่ที่ประทับใจมากคือครั้งหนึ่งและทำให้ผมรู้สึกสนิทใจที่จะพูดคุยสนทนากับอาจารย์เสมอมาคือ เมื่อหลายปีก่อนที่อาจารย์ไปประชุมที่ฮานอย ระหว่างนั้นผมยังค้นคว้าและเก็บข้อมูลภาคสนามอยู่ที่นั่น ช่วงนั้นมีเพื่อนๆ นักวิชาการไทยวิจัยที่เวียดนามอยู่พร้อมๆ กันหลายคน พวกเรา 4-5 คนชวนอาจารย์ไปนั่งกินดื่มเบียร์สดสไตล์ฮานอยกันที่ร้านข้างถนนแห่งหนึ่ง 

ผมทึ่งว่าอาจารย์สุขภาพดีมาก คอแข็งมาก คุยสนุกมาก อาจารย์เปรยว่า "พวกที่เมืองไทยมันไม่กล้ามาคุยกับผมแบบนี้หรอก มันกลัว เลยไม่สนุก" เราพูดคุยกันจนดึกดื่น แล้วพวกเราก็เดินจากร้านมาส่งอาจารย์ถึงที่พัก ฮานอยเดือนนั้นอากาศดี เดิน 4-5 กิโลฯ ก็ยังไม่เหนอะหนะ

จนเมื่อเร็วๆ นี้ ผมแทบไม่เชื่อว่าอาจารย์จะก้าวออกมาอยู่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน 

อาจารย์ชาญวิทย์ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพียงในฐานะ "นักวิชาการบัญชีหางว่าว" อาจารย์ไม่เพียงเคลื่อนไหวแต่ในนาม หากแต่ท่านยังแสดงตัว พูด เขียน ออกสื่อ เผยแพร่ความคิดให้ประชาชน เพื่อนนักวิชาการ และสหายใน "สังคมชนชั้นนำ" ให้เข้าใจชีวิต ความหวัง และความเดือดร้อนของประชาชนสามัญ

ข้อเขียนนี้สั้นเกินไปที่จะบอกกล่าวความนับถือที่ผมมีต่ออาจารย์ชาญวิทย์ น้อยไปที่จะบอกเล่าความภูมิใจที่ได้ร่วมงานแม้เพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์สร้างสรรค์ขึ้น 

แต่ผมก็อยากใช้พื้นที่เล็กน้อยนี้กล่าวว่า อาจารย์ชาญวิทย์เป็นแบบอย่างของนักวิชาการที่ไม่หวาดหวั่นต่อความสุ่มเสี่ยงในการนำชื่อเสียงของตนเองมาปกป้องเพื่อนมนุษย์ ไม่กอดกุมเสวยสุขจากบารมีทางวิชาการของตนเองจนหันหลังให้ประชาชนในที่สุด

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง