Skip to main content

เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 

ผู้ประกาศว่า "จงศึกษาผู้คนสามัญ" ศึกษา "มวลชนนิรนาม" ผู้เป็น "คนส่วนใหญ่ที่ดูต่ำต้อยเสมอชนกลุ่มน้อย" และคือผู้ประกาศว่า "การอ่านคือการฉกฉวย" ก็ชวนให้นึกถึงคำชวนเชิญของมิตรออนไลน์ผู้หนึ่ง ที่ให้เขียนเรื่องการอ่าน

ทุกวันนี้ดูเหมือนโลกออนไลน์ชวนให้เราอ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก เราอยากอ่านเรื่องราวของคนอื่น อยากอ่านเรื่องส่วนตัวที่คนแชร์ อยากอ่านเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับรู้ อยากอ่านเรื่องน่ารู้เจือประสบการณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ทั้งนั้น เร่่ืองน่าอ่านต้องสั้น ต้องไม่ซับซ้อนนัก ต้องไม่เฉพาะเจาะจงลึกลับจนเกินไป 

ในโลกออนไลน์ เหมือนคนอ่านสร้างงานเขียน ด้วยการกดไลท์หรือการเงียบงัน ด้วยการแซว จนถึงถากถาง ของชนเสมือนนิรนามต่อนักเขียนนามระบือ กระทั่งนักเขียนบางคนถึงกับทนคำเสียดสี ถากถางเหล่านั้นไม่ไหว จนนักอ่านช่างถากถางบางคนต้องไปสร้างพื้นที่ลี้ภัยการ "บล๊อก" ปิดกั้นการเข้าถากถางของนักเขียนนิรนามบางคน

ในยามที่ต้องกลับมา "อ่านซ้ำ (ๆๆๆ)" งานเขียนของบรมครูทางมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ตามคำเชื้อเชิญของ "เจ้าห้องอ่าน" (The Reading Room) ผมไม่ได้คิดถึง "อสัญกรรมของประพันธกร" หรือ "ประพันธกรคืออะไร?" ของนักวิเคราะห์วัฒนธรรมการเขียน-การอ่านอีกสองผู้ แต่ผมกลับคิดถึง "การอ่านคือการฉกฉวย" ของผู้ที่เพิ่งจั่วหัวข้อเขียนนี้ไป นั่นเพราะไม่ได้อยู้ในอารมณ์ที่จะถอดรื้อการเขียน มากเท่ากับอยากเฉลิมฉลองการอ่าน

ท่านว่า การอ่านคือการผลิตในกระบวนการของการบริโภค ความหมายของตัวบทที่มีผู้ผลิตขึ้นมา ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าความหมายที่การอ่านประกอบสร้างขึ้นมา การอ่านคือการฉกฉวยเนื้อหา ฉกฉวยความหมาย ที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ 

แต่อย่าสับสนกับการขโมยผลงานคนอื่นนะครับ นี่ไม่ได้ต้องการยุให้เที่ยวขโมยงานใครต่อใครไปใช้นะครับ การฉกฉวยที่ว่านี้คือการฉกฉวยด้วยการผลิตความหมาย ต่างจากการขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน

ครูทางการอ่านของผมอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอ่านสิ่งที่เราอยากอ่าน เราอ่านเอาเรื่องที่เราอยากรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่ผู้เขียนอยากบอกเล่าเท่านั้น ท่านว่า จงอ่านเพื่อหาว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ข้อเขียนนั้นๆ บอกอะไรในตัวเรา จงอ่านเพื่อหาสิ่งที่หนังสือพูดกับเรา และหากพบว่ามีความหมายบางอย่างที่หนังสือพูดกับเราเพียงคนเดียว ไม่ได้พูดกับผู้อ่านคนอื่น นั่นแหละที่เราได้เจออะไรใหม่ๆ เข้าให้แล้ว 

หรือหากจะกลับมาพูดแบบครูที่ว่าการอ่านคือการฉกฉวย เมื่อนั้นเองที่การอ่านคือการผลิต เมื่อนั้นเองที่ผู้อ่านไม่ได้เป็นเพียงผู้บริโภคความหมาย

นั่นคือ "เศรษฐกิจด้านการบริโภค" ของการอ่าน ยิ่งบริโภคยิ่งผลิต ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งกัดกินยิ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยิ่งบริโภคยิ่งล้างผลาญ ยิ่งฟุ่มเฟือย ยิ่งทำลายล้าง อย่างที่นักเทศน์ที่เข้าใจการบริโภคเพียงในแง่ร้ายเข้าใจ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง