Skip to main content

อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน

ปีนี้อาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอกผมอายุ 61 แล้ว แต่เธอยังไม่หยุดเขียนงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นวารสารวิชาการหรือหนังสือ ที่จริงเธอขยันขันแข็งอย่างนี้มาตั้งแต่ผมยังเรียนไม่จบ มีอาจารย์อีกคนที่อายุ 60 กว่าแล้ว แต่ยังไม่เกษียณ และยังตีพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์เล่มหนาๆ ในอัตราสองปีต่อหนึ่งเล่ม 

ระบบมหาวิทยาลัยที่อเมริกาไม่มีการให้ออกตามอายุ แต่ก็ต้องผลิตผลงานต่อเนื่องจึงอยู่ต่อได้ จะทำอย่างนั้นก็ต้องมีวินัยที่เข้มแข็งมาก ต้องไม่หลุดจากวงการ ต้องได้ทุนวิจัยสม่ำเสมอ ต้องเก็บข้อมูลสม่ำเสมอ ต้องอ่านหนังสือใหม่สม่ำเสมอ ต้องเขียนสม่ำเสมอ ต้องไปเสนอผลงานสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือ ต้องไม่ว่อกแว่กนอกลู่นอกทางตามสิ่งเย้ายวน

ความเย้ายวนในโลกวิชาการที่อเมริกาคงไม่เหมือนในไทย สิ่งเย้ายวนในโลกทางวิชาการไทยๆ มีมากมาย เช่นว่า หากคุณดูมีแววในทางการบริหาร มีไอเดียอะไรบางอย่าง มีบุคคลิกประนีประนอม จะมีตำแหน่งบริหารแวะเวียนมาเคาะประตูห้องทำงานเสมอ ตำแหน่งเหล่านี้มาพร้อมเกียรติ พร้อมเงิน พร้อมบริวารและการแห่แหนของผู้คน 

ถ้าคุณพูดเก่ง ออกสื่อได้ไม่อายใคร ตอบโต้ได้ฉับไว คิดคำคมได้เสมอๆ ตอบได้แทบทุกคำถาม มีความเห็นในเรื่องใหญ่ๆ ได้แทบทุกเรื่อง คุณจะกลายเป็นเหยื่อของสื่อมวลชน ที่ทั้งขูดรีดและฉวยใช้คราบไคลความเป็นนักวิชาการของคุณ แลกกับการหยิบยื่นความเป็นเซเล็บทางวิชาการ ให้คุณไปไหนมาไหนแล้วมีเด็กติ่งมาคอยวิ่งกรูชูป้ายไฟเอียงหน้าขอถ่ายรูป

ผมไม่ได้ดูแคลนผู้ใดที่ไปอยู่ในที่สาธารณะเหล่านี้ ไม่ได้อิจฉาใครที่แสดงบทบาทเหล่านั้น และออกจะนับถือหลายคนที่เลือกเดินทางนั้นอย่างบริสุทธิ์ใจไม่ได้เพื่อให้เด่นดังหรือมั่งคั่ง เพียงแต่ยังอยากทำงาน "วิชาการ" ที่บางครั้งตอบโจทย์สาธารณะตรงๆ ไม่ได้ง่ายๆ อยู่เหมือนกัน จึงคอยเตือนตนให้มีระยะห่างกับความเย้ายวนลักษณะนั้น และเห็นว่าถึงเวลาต้องหลบออกมาบ้างแล้ว

ในโลกหอคอยงาช้างเองก็ใช่ว่าจะไม่มีความเย้ายวน ถ้าคุณมีแววเป็นนักวิจัยมือดี มีผลงานสม่ำเสมอ จะมีทุนวิจัยวิ่งมาหาคุณจากทุกทิศทาง และหากคุณหมุนตามงานวิจัยเหล่านั้น คุณอาจลืมไปแล้วว่าความสนใจทางวิชาการของคุณคืออะไร คุณจะกลายไปเป็นเครื่องประดับทางวิชาการของนักวิจัยรุ่นใหญ่ที่สามารถระดมทุนได้เสมอ หรือไม่ก็กลายเป็นผู้รับใช้ตอบคำถามที่คุณไม่ได้เป็นคนตั้งขึ้นมาเอง พร้อมรับเงินค่าตอบแทนที่หรูหรา จนบางคนอาจไม่อยากสอนหนังสือ

ในท่ามกลางสิ่งเย้ายวนเหล่านี้ ผมนับถือครูบาอาจารย์และนักวิชาการรุ่นพี่ที่มั่นคงต่อวิชาชีพของตน บางท่านสมาทานชีวิตสมถะ หลีกเลี่ยงสื่อมวลชน ทำงานบริหารอย่างจำกัดแล้วรีบหลบออกมาเมื่อมีโอกาส บางคนแม้ไม่ปฏิเสธการอยู่ในที่แจ้ง แต่ก็เลือกพูดเฉพาะสิ่งที่ตนเองรู้ ที่สอดคล้องกับงานหลักของตนเอง บางคนเลือกทำงานบริหารเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะสร้างสรรค์อะไรในระดับกว้าง แล้วหลบออกมาเมื่อบรรลุเป้าหมายในระดับหนึ่ง

แต่คำถามที่ยากกว่านั้นคือ ผมถามตัวเองว่า "สมัยยังเด็ก ที่เคยเรียกร้องนักวิชาการรุ่นพี่ รุ่นอาวุโสให้ทำโน่นทำนี่ แล้วตอนนี้ตนเองทำอะไรบ้างหรือแล้วยัง" "ที่เคยดูเบาว่านักวิชาการคนโน้นคนนี้ไม่ได้ผลิตอะไรใหม่ๆ เป็นไม้ตายซาก แล้วตอนนี้ตนเองเสนออะไรใหม่ๆ บ้างหรือยัง" คำถามพวกนี้ตอบยากกว่ามากนัก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...