Skip to main content

จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร

นอกจากนั้น เขาผู้นี้ยังมีประวัติในการแสดงความเห็นทางการเมืองในเชิงวิพากษ์ต่อการสลายการชุมนุมทางการเมืองของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปี 2553 ถึงขนาดที่ว่า นักวิชาการหัวก้าวหน้ายังต้องทึ่งในการมีท่าทีแบบทหารประชาธิปไตยของเขามาแล้ว

แต่แล้วเขากลับเลือกที่จะเล่นการเมืองวัฒนธรรมแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ทั้งที่เขาไม่ได้รู้ดีไปกว่าใครๆ เลย ดีกรีปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากเมืองนอกแบบเขาน่ะมีเกลื่อนไป ไม่ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้จักวิเคราะห์สังคมได้ดีไปกว่าคนทั่วไปเสียเมื่อไหร่ แต่เขาเลือกที่จะใช้มาตรวัดทางศีลธรรมแคบๆ ไปกำหนดความเป็นไปของสังคมข่าวสารที่ผู้คนเขาสามารถตัดสินได้เอง 

เช่นที่เขาว่า "เป็นเรื่องของการบริหารควบคุมความเหมาะสมในสังคม" ก็ใช่ว่าเขาคนนี้จะรู้ดีกว่าคนอื่นว่าอะไรเหมาะสมกับสังคมนี้ที่ตรงไหน หรือที่ว่า "ชวนให้ผู้รับชมคิดและจินตนาการในทางที่ไม่ดีได้ เช่น ฉากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ยังสวมชุดนักเรียนอยู่" ก็ใช่ว่าเขาจะแสดงความเข้าใจสถานะของเครื่องแบบนักเรียนในสังคมปัจจุบันเสียเมื่อไหร่ รู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาน่ะกลายเป็นสื่อยั่วยุกามารมณ์ไปแล้ว 

แล้ว "การทำแท้ง หรือการไปหาซื้อยาคุมมาใช้เอง" ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องผิดเสียหายไปเสียทุกกรณี สังคมเขาถกเถียงกันไปถึงไหนต่อไหนแล้วว่า การทำแท้งต้องพิจารณาด้วยกรอบที่กว้างกว่าแค่ความผิดบาปไปเสียทุกกรณี แต่ถึงเขาคนนี้จะระบุว่า เขาต่อต้านการคุมกำเนิด และไม่เคยใช้การคุมกำเนิด ก็เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมาใช้มาตรฐานทางศีลธรรมส่วนตนเที่ยวไปตัดสินคนอื่นอย่างง่ายๆ เช่นนั้น

เรารู้กันดีอยู่ว่าสังคมนี้มีอะไรเลวร้ายอยู่บ้าง มีอะไรอุจาดมากมายที่เรารู้ๆ กันอยู่แต่ไม่มีใครกล้าจัดการ เช่นว่า เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าชีวิตทางครอบครัวของครอบครัวบางครอบครัวไม่ได้สวยหรูดีงามจนถึงขั้นล้มเหลว แต่เราก็ยังพยายามช่วยกันสร้างภาพหลอกตัวเองเพื่อกราบไหว้ กสทช. ท่านนี้จะกล้าเสนอตัวมาแก้ไขความเลวร้ายนี้หรือเปล่า คุณไม่กล้าหรอก เพราะคุณกล้าดีแต่กับผู้ที่ด้อยอำนาจกว่าคุณเท่านั้นแหละ

แบบแผนและสไตล์ชีวิตที่หลากหลายของการกิน ขี้ ปี้ เยี่ยว เป็นวัฒนธรรมสามัญ มีอยู่เป็นปกติ ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หากสังคมไทยจะมีโอกาสได้ทำความเข้าใจ ได้ถกเถียง ได้พิจารณากัน ในที่สาธารณะบ้าง อย่างใกล้เคียงความจริงบ้าง ว่าแบบไหนเหมาะสม แบบไหนพอรับได้ แค่ไหน อย่างไร สังคมไทยก็พร้อมที่จะรับมือกับมันได้

ในเมื่อคุณก็ไม่ได้กล้าหาญทางศีลธรรมมากไปกว่าคนอื่นเขา ไม่ได้รู้ดีกว่าใครเขา ไม่ได้เป็นคนดีเหนือใครเขา แล้วจะมาตัดสินสิ่งที่สังคมเขาตัดสินเองได้ได้อย่างไร หรือถ้ารู้ดีจริง เป็นคนดีเหนือคนอื่นเขาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณคนเดียวจะมากำกับว่าอะไรควรดูอะไรไม่ควรดู นอกเสียจากว่าคุณอยากจะเป็นผู้เผด็จการทางวัฒนธรรม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้