Skip to main content

ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน

ในปีนี้ ผมเข้าร่วมพิธีด้วยความเต็มใจและปิติยินดียิ่ง หากไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือจริงๆ คงไม่ไปนั่งร่วมแสดงความยินดี ที่จริงมีผู้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพเข้ารับปริญญาด้วย ผมก็เลยถือเป็นโชคสองชั้นที่ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแด่ทั้งสองท่าน พร้อมๆ กับปลาบปลื้มใจที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา โชคดีที่นักศึกษาคณะผมนั่งด้านหน้าเวทีเลย จึงได้เห็นพวกเขาจากมุมที่ผมนั่งชัดเจน

พิธีกรรมจากมุมมองบนเวทีดูแปลกตาไปจากที่เคยเข้าร่วมพอสมควร ผมเคยอ่านรายชื่อผู้เข้ารับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษา แต่ในพิธีที่มีเฉพาะรูปของประธานในพิธีนั้น ไม่น่าเกรงขามมากเท่ากับการที่ประธานส่งผู้แทนที่มีฐานะสูงพอๆ กันมาแทน 

ในมุมของผู้เข้าร่วมเมื่อวันก่อน ที่แปลกคือ ผมกลับรู้สึกได้ถึง "ความเป็นมนุษย์" ของเหล่าผู้คนบนเวทีได้มากกว่าเมื่อนั่งอยู่ในฐานะอื่นๆ คงเพราะเป็น "พยาน" ในพิธี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความอลังการของพิธีจึงดูลดน้อยลงไปมาก ผมจึงไม่ต้องกลัวทำอะไรผิด สามารถลุกขึ้น เดินเข้าออก หรือหลบออกไปจากพิธี และงีบหลับ (โดยสำรวม) ได้อย่างค่อนข้างสะดวก หลังเก้าอี้ประธาน 

ผมจึงได้เห็นด้านที่ "เป็นคน" ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย เช่น มีจังหวะหนึ่งที่บนเวทีตื่นเต้นกันพอสมควรที่ประธานสะดุดพื้น ทำให้เห็นว่า แม้การควบคุมอย่างเข้มงวดเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสที่ "คน" จะพลาดพลั้ง ผิดบทได้เช่นกัน แต่ในบริบทนั้น "คน" ก็พยายามปรับให้พิธีกรรมดำเนินไปตามสคริปที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่กระมังที่การเป็นผู้สังเกตการณ์ เป็นคนนอกที่เข้าร่วม จะทำให้เห็นอะไรแปลกตาไป ผมเห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างพิธีกรรมในฐานะ "การแสดง" ชัดเจนขึ้น การแสดงนี้ประกอบสร้างด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยการจัดลำดับเวลา ด้วยการควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดจังหวะของพิธีกรรม ด้วยมารยาทระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ควบคุมทุกคน ตั้งแต่ผู้รับปริญญาจนถึงประธานในพิธี

แต่อีกด้านที่ย้อนแย้งกันคือ การรับปริญญาในปัจจุบันดำเนินไปอย่าง "เป็นอุตสาหกรรม" มากๆ มากเสียจนสะท้อนการปั๊มปริญญาบัตร สะท้อนอุตสาหกรรมการศึกษาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน กลไกการรับปริญญาในปัจจุบันรวดเร็วมาก เป็นจังหวะของโรงงานที่ต้องผลิตตามสายพานมากกว่าจังหวะของพิธีกรรม มากจนผมคิดว่าพิธีรับปริญญาเป็นอุตสาหกรรมความศักดิ์สิทธิ์ที่มาช่วยฉาบเคลือบอุตสาหกรรมการศึกษา

นอกจากนั้น ไม่เพียงผู้รับปริญญาในพิธีจะได้รับการยกระดับทางสังคมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่แยกผู้รับปริญญาออกจากผู้ไม่ได้รับปริญญา แต่ผู้มอบปริญญาก็ได้รับการเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน เรื่องเล่าขาน ความพลาดพลั้ง ความเป็นมนุษย์ ถูกลบกลบเกลื่อนไปในพิธีกรรม

หากยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมได้ ผมหวังว่าผู้ให้ความรู้จะทำให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีค่าในตัวของมันเองเหนือพิธีรับปริญญา และหวังว่าผู้เรียนรู้จะเห็นค่าของความรู้และกระบวนการเรียนรู้เหนือปริญญาและพิธีกรรมที่พวกคุณเข้าร่วมและผ่านพ้นมา

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน