Skip to main content

นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ

ใครก็ตามที่ดูเบาการเคลื่อนไหวเรื่องเครื่องแบบนักศึกษา ทรงผมนักเรียน คงไม่เข้าใจการเมืองในความหมายหลังมาร์กซิสม์ ที่ลงรายละเอียดไปถึงเรื่องเรือนร่าง พื้นที่ ถ้อยคำ กระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ นี่เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาทางสังคมศาสตร์เปลี่ยนไปรวดเร็วจนทันได้เห็นความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้าและลูกศิษย์ลูกหา(บ)ของพวกเขาได้ทันตาในชั่วอายุคน

ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่บรรดาครูบาอาจารย์รุ่นเก่าก่อน บรรดา "คนเดือนตุลา" บางคนที่หยุดพัฒนาการทางความคิดของตนไปแล้วเคยสมาทาน กำลังส่อเค้าเป็นเผด็จการมากขึ้นนั้น (ตั้งแต่ทศวรรษ 1920 แล้ว) จนเสื่อมสลายลงไปในยุโรปตะวันออกโดยสิ้นเชิงในที่สุด (ในทศวรรษ 1980) กระแสวิชาการในสายที่ภายหลังเรียกกันว่า "มาร์กซิสม์สายตะวันตก" บ้างล่ะ "มาร์กซิสม์สายวัฒนธรรม" บ้างล่ะ ก็ได้เริ่มก่อตัวขึ้น นักคิดคนสำคัญของสายนี้ได้แก่ Antonio Gramsci (1891-1937) 

กรัมชีเสนอแนวการวิเคราะห์ปัญหาการครอบงำทางวัฒนธรรม/อุดมการณ์ (hegemony) ซึ่งซ้อนทับกับการครอบงำด้วย "กำลังบังคับ" (coersion) ที่สำคัญคือ การครอบงำด้วยอำนาจทางวัฒนธรรมนี้ได้มาด้วย "การสมยอม" (consent) ของประชาชน และโอกาสที่ประชาชนจะต่อต้านไม่ยอมรับการสมยอมนั้น

งานของกรัมชีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการวิพากษ์วัฒนธรรมต่อเนื่องมาถึงสำนักแฟรงค์เฟิร์ท สำนักมาร์กซิสม์สายวัฒนธรรมอื่นๆ ที่โด่งดังได้แก่ Louis Althusser (1918-1990) ผู้วิเคราะห์กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ แนวคิดเหล่านี้สานต่อมาสู่การวิเคราะห์สัญญะว่าเป็นมายาคติ ผ่านงานของ Roland Barthes (1915-1980)  

ในทศวรรษ 1970 กลุ่มนักวิชาการมาร์กซิสม์สายตะวันตกที่พัฒนางานจนกระทั่งสร้างงานเชิงทฤษฎีที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยได้อย่างดีคือนักวิชาการมาร์กซิสม์ในอังกฤษ มีสำนักวัฒนธรรมศึกษาที่เบอร์มิงแฮมเป็นแกนกลาง นักวิชาการคนสำคัญผู้เป็นคนชายขอบชาวเวลช์ที่พัฒนาแนวคิดของกรัมชี จนสร้างแนวการวิเคราะห์วัฒนธรรมของตนเอง คนหนึ่งชื่อ Raymond Williams (1921-1988) 

แนวคิดสำคัญของวิลเลี่ยมส์ได้แก่การวิเคราะห์โครงสร้างอารมณ์ (structures of feelings) วิลเลียมส์ชี้ว่า อุดมการณ์นั้นมีทั้งฝ่ายครอบงำและต่อต้าน และทั้งสองด้านของอุดมการณ์ไม่ได้แบ่งแยกได้ง่ายๆ ชัดเจนว่าเป็นฝ่ายใด ต่างหยิบยืม ฉกฉวยกันและกัน และต่างก็มีพลวัตเปลี่ยนแปลงสูง จนมีทั้งภาวะเป็นอารมณ์และภาวะที่เป็นตัวเป็นตนมีโครงสร้าง 

ในระยะเดียวกันนั้น นักคิดในฝรั่งเศสที่ได้รับอิทธิพลจากนิชเชอร์ (และผมว่าเวเบอร์ด้วยนะ) อย่าง Michel Foucault (1926-1984) ได้ปลิดการวิพากษ์วัฒนธรรม ให้พ้นจากคราบไคลของมาร์กซิสม์ แล้วเสนอแนวการวิเคราะห์ "โบราณคดี" และ "วงศาวิทยา" ของวาทกรรม เสนอให้เห็นถึงการที่อำนาจแผ่ซ่านผ่านปฏิบัติการของภาษา ความรู้ และการจัดการระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์นี้ดึงเอารัฐและชนชั้นออกไป เพราะเห็นว่า ไม่ว่าจะคนชนชั้นใด หรือไม่ว่าใครจะสังกัดองค์กรทางการเมืองหรือไม่ ต่างก็มีส่วนใช้อำนาจครอบงำต่อกันได้ทั้งสิ้น 

แนวคิดเหล่านี้เสนออะไรใหม่ๆ ให้กับสังคมศาสตร์หลังทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาบ้าง ประการแรก การวิพากษ์การเมืองรุ่นใหม่หยิบประเด็นทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิบัติการในชีวิตประจำวันต่างๆ มาเป็นประเด็นวิพากษ์อย่างสำคัญ การเมืองของแนววิเคราะห์เหล่านี้จึงไม่ได้จำเป็นต้องเป็นการเมืองมวลชน การเมืองของสถาบันทางการเมือง หรือการเมืองของชนชั้นอีกต่อไป 

ประการที่สอง การวิพากษ์แนวนี้วิเคราะห์ว่าการครอบงำของอำนาจมีอยู่ทุกหัวระแหงของปริมณฑลที่วัฒนธรรมทำงานอยู่ การวิเคราะห์แนวนี้ไม่ได้มองวัฒนธรรมเป็นสิ่งดีงามที่ตกทอดมา แต่มองว่าวัฒนธรรมเป็นอุดมการณ์ครอบงำ ที่ตัวมันเองก็มีพลวัต

ประการที่สาม อย่างไรก็ดี การครอบงำนี้มีขีดจำกัด มีการต่อต้าน มีการพลิกผัน มีการเสนอทางเลือกใหม่ๆ ในกระบวนการทางวัฒนธรรมนี้ตลอดเวลา

ข้อเสนอสำคัญอีกประการหนึ่งคือ นักวิพากษ์เหล่านี้ไม่เสนอแนวทางปฏิวัติสังคม ไม่เสนอทางเลือกที่เป็นระบบ เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการครอบงำแบบใหม่ดังที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติรัสเซียอีกต่อไป บางคนเสนอว่าจะเป็นการปฏิวัติอันยาวนาน ค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในกระบวนการของการครอบงำและต่อต้านนี้ 

การวิพากษ์การเมืองของนักศึกษาสมัยนี้จึงใหม่ แตกต่างจากแนววิพากษ์ของคนรุ่นก่อนหน้า และไม่ใช่ว่าพวกเขาที่ต่อสู้ในการเมืองเรือนร่างนี้จะไม่สนใจการเมืองภาพใหญ่ แต่การวิพากษ์อำนาจบนเรือนร่างก็เป็นการเมืองแบบหนึ่งเหมือนกัน ใครที่ยังดูเบาการเมืองแบบนี้ก็ควรหาเวลาศึกษาการวิพากษ์การเมืองเพิ่มเติม 

ส่วนใครที่เป็นหัวๆ ในขบวนการนักศึกษารุ่นก่อน แล้วยังติดกับการเมืองแบบเก่าและคิดว่านักศึกษาปัจจุบันควรแสดงบทบาทเชิงวิพากษ์ด้วยการสนใจการเมืองของสาธารณชนนั้น ที่จริงแล้วควรภูมิใจที่นักศึกษาปัจจุบันก้าวหน้ากว่านักศึกษารุ่นคุณๆ ที่หยุดแสวงหาไปนานแล้วมากนัก เพราะพวกคุณเหล่านั้นได้กลายไปเป็นผู้สร้างอำนาจครอบงำสังคมปัจจุบันเสียเองแล้ว

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...