Skip to main content

ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน 

1) เพราะเขาและเธอถูกมองว่าเป็น "เด็ก" แต่กลับมาพูดจาแสดงความเห็นต่อต้านสังคมของผู้ใหญ่ วิจารณ์ผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมา พวกเขาไม่ได้ใช้จริตตามวัย เช่นการใช้สรรพนามของทั้งสอง ใช้คำว่า "ดิฉัน" "ผม" "คุณ" พวกเขาแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ได้แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ และท้าทายผู้ใหญ่โดยไม่เกรงกลัวอำนาจของผู้ใหญ่ หรือวิธีที่พวกเขาแสดงออก เขาใช้หลักเหตุผล ไม่ได้หน่อมแน้มง๊องแง๊งเหมือนเด็กๆ ที่สังคมไทยมองแล้วน่าเอ็นดู

2) เขาและเธอท้าทายสังคมอำนาจนิยม สังคมที่เน้นอาวุโส สังคมที่ให้ความสำคัญกับการมีสัมมาคารวะเหนือเหตุผล เหนือความกล้าแสดงออก เหนือความเท่าเทียมกัน ที่จริงในอดีต "เด็กๆ" ก็เคยแสดงบทบาทเช่นเดียวกันนี้ และผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็เคยเป็นแบบพวกเขาและเธอมาก่อน แต่กลับลืมไปแล้วว่าตนก็เคยต่อต้านผู้ใหญ่ ต่อต้านสังคมในภาวะที่ตนเป็นเด็กมากก่อนเช่นกัน และกลับใช้ความเป็นผู้ใหญ่ข่มพวกเขาเพราะตอนนี้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว และอำนาจพวกตนกำลังถูกท้าทาย

3) เขาและเธอไม่ได้เป็นอีลีท ไม่ได้ใช้ความเป็น "ชนชั้นสูง" ที่อาศัยหน้ากากความหมดจด ผิวพรรณผ่องใส ตีหน้าซื่อบ้องแบ๊ว พูดจาอ่อนหวาน แสดงความเห็นแบบนุ่มนวล เขาและเธอไม่ได้ใช้จริต "เรียบร้อย" "สุภาพ" ในการแสดงออก หากแต่พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา กระทั่งคร่อมเส้นศีลธรรม ใช้หลักการเหนือวาทศิลป์ ใช้การกระชากอารมณ์เหนือความแยบยล เขาและเธอจึงถูกปฏิกิริยาต้านกลับจากสังคมไทยอย่างแรง

4) สังคม "โซเชียลมีเดีย" ได้สร้าง "พื้นที่สาธารณะ" อย่างใหม่ขึ้นมา ปัจจุบันสังคมโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง กระจายข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้กิจกรรมของพวกเขาเป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในอดีต ไม่ใช่ว่าไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ แต่ไม่เป็นกระแส เพราะคนรับรู้น้อย แต่ทุกวันนี้ แม้แต่ใครฉี่ราด ใครโกนขนจักแร้ ก็เป็นที่ล่วงรู้กระจายกันอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และมีพลังทั้งในด้านการครอบงำและการต่อต้าน

5) สังคมไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้มีด้านเดียว ไม่ได้เป็นสังคมปิด ไม่ได้เป็นสังคมที่คิดอะไรตามๆ กัน ไม่ได้มีแต่เฉพาะสังคมที่นิยมอำนาจนิยมเท่านั้นอีกต่อไป บรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนี้ จึงมีคนที่เห็นด้วยกับที่เขาและเธอเสนออยู่ไม่น้อย และจึงมีคนร่วมขยายประเด็นที่พวกเขานำเสนอไปต่อเนื่อง ซึ่งก็ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความชิงชังต่อเขาและเธอมากยิ่งขึ้น 

จะโต้จะต้านเขาและเธอย่างไรก็ตาม ตราบใดที่การถกเถียงยังอยู่ในกรอบของการใช้เหตุผล การใช้วาทกรรม ไม่ว่าจะล้อเลียน เสียดสี ถากถาง หรือแม้แต่จะมีการด่าทอกันอย่างรุนแรงบ้าง ก็ยังดีเสียกว่าสังคมไทยในอดีต ที่เงื่อนไขของสังคมปิดกั้น ทำให้ความเห็นของ "เด็กๆ" กลายเป็นอาชญากรรม และพวกเขาจึงต้องสังเวยชีวิตตนเองให้กับศีลธรรมดีงามของพวกผู้ใหญ่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี