Skip to main content

ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน 

1) เพราะเขาและเธอถูกมองว่าเป็น "เด็ก" แต่กลับมาพูดจาแสดงความเห็นต่อต้านสังคมของผู้ใหญ่ วิจารณ์ผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมา พวกเขาไม่ได้ใช้จริตตามวัย เช่นการใช้สรรพนามของทั้งสอง ใช้คำว่า "ดิฉัน" "ผม" "คุณ" พวกเขาแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ได้แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ และท้าทายผู้ใหญ่โดยไม่เกรงกลัวอำนาจของผู้ใหญ่ หรือวิธีที่พวกเขาแสดงออก เขาใช้หลักเหตุผล ไม่ได้หน่อมแน้มง๊องแง๊งเหมือนเด็กๆ ที่สังคมไทยมองแล้วน่าเอ็นดู

2) เขาและเธอท้าทายสังคมอำนาจนิยม สังคมที่เน้นอาวุโส สังคมที่ให้ความสำคัญกับการมีสัมมาคารวะเหนือเหตุผล เหนือความกล้าแสดงออก เหนือความเท่าเทียมกัน ที่จริงในอดีต "เด็กๆ" ก็เคยแสดงบทบาทเช่นเดียวกันนี้ และผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็เคยเป็นแบบพวกเขาและเธอมาก่อน แต่กลับลืมไปแล้วว่าตนก็เคยต่อต้านผู้ใหญ่ ต่อต้านสังคมในภาวะที่ตนเป็นเด็กมากก่อนเช่นกัน และกลับใช้ความเป็นผู้ใหญ่ข่มพวกเขาเพราะตอนนี้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว และอำนาจพวกตนกำลังถูกท้าทาย

3) เขาและเธอไม่ได้เป็นอีลีท ไม่ได้ใช้ความเป็น "ชนชั้นสูง" ที่อาศัยหน้ากากความหมดจด ผิวพรรณผ่องใส ตีหน้าซื่อบ้องแบ๊ว พูดจาอ่อนหวาน แสดงความเห็นแบบนุ่มนวล เขาและเธอไม่ได้ใช้จริต "เรียบร้อย" "สุภาพ" ในการแสดงออก หากแต่พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา กระทั่งคร่อมเส้นศีลธรรม ใช้หลักการเหนือวาทศิลป์ ใช้การกระชากอารมณ์เหนือความแยบยล เขาและเธอจึงถูกปฏิกิริยาต้านกลับจากสังคมไทยอย่างแรง

4) สังคม "โซเชียลมีเดีย" ได้สร้าง "พื้นที่สาธารณะ" อย่างใหม่ขึ้นมา ปัจจุบันสังคมโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง กระจายข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้กิจกรรมของพวกเขาเป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในอดีต ไม่ใช่ว่าไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ แต่ไม่เป็นกระแส เพราะคนรับรู้น้อย แต่ทุกวันนี้ แม้แต่ใครฉี่ราด ใครโกนขนจักแร้ ก็เป็นที่ล่วงรู้กระจายกันอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และมีพลังทั้งในด้านการครอบงำและการต่อต้าน

5) สังคมไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้มีด้านเดียว ไม่ได้เป็นสังคมปิด ไม่ได้เป็นสังคมที่คิดอะไรตามๆ กัน ไม่ได้มีแต่เฉพาะสังคมที่นิยมอำนาจนิยมเท่านั้นอีกต่อไป บรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนี้ จึงมีคนที่เห็นด้วยกับที่เขาและเธอเสนออยู่ไม่น้อย และจึงมีคนร่วมขยายประเด็นที่พวกเขานำเสนอไปต่อเนื่อง ซึ่งก็ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความชิงชังต่อเขาและเธอมากยิ่งขึ้น 

จะโต้จะต้านเขาและเธอย่างไรก็ตาม ตราบใดที่การถกเถียงยังอยู่ในกรอบของการใช้เหตุผล การใช้วาทกรรม ไม่ว่าจะล้อเลียน เสียดสี ถากถาง หรือแม้แต่จะมีการด่าทอกันอย่างรุนแรงบ้าง ก็ยังดีเสียกว่าสังคมไทยในอดีต ที่เงื่อนไขของสังคมปิดกั้น ทำให้ความเห็นของ "เด็กๆ" กลายเป็นอาชญากรรม และพวกเขาจึงต้องสังเวยชีวิตตนเองให้กับศีลธรรมดีงามของพวกผู้ใหญ่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์