Skip to main content

หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 

โจทย์ของสังคมไทยในอดีตกับในปัจจุบันย่อมแตกต่างกัน ในอดีตนักศึกษาต่อสู้กับเผด็จการทหาร โจทย์มันน่ากลัว ท้าทาย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่ก็มีเป้าที่ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาที่ก็มองเห็นผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง แม้จะก้าวออกมาในนามของมวลชน แต่ท้ายสุด พวกเขาก็ทำเพื่อผลประโยชน์ของการเติบโตของชนชั้นตนเองนั่นแหละ 

ที่พูดอย่างนั้นเพราะอย่างที่เราเห็นคือ สุดท้ายในปัจจุบัน เมื่อพวกเขากลับออกจากป่าและก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ยังมีนักศึกษาสมัยนั้นเหลืออยู่อีกสักกี่คนกันที่ยังคิดถึงมวลชนอย่างบริสุทธิ์ใจ ถ้าพวกเขายังยึดมั่นอุดมการณ์เดิม ทำไมพวกเขาจำนวนมากจึงเฉลิมฉลองกับการรัฐประหาร 19 กย. 49 แล้วทำไมหัวขบวนของพวกเขาจำนวนมากจึงเงียบสนิทกับการสังหารหมู่กลางกรุงเมื่อพฤษภาคม 53 ทำไมพวกเขาจำนวนมากกลายมาเป็นผู้ดูหมิ่นดูแคลนและร่วมกดขี่ข่มเหงประชาชนที่พวกเขาเคยรักเสียเอง 

นักศึกษาแต่ละรุ่นเผชิญกับโจทย์ของตนเองและสังคมที่แตกต่างกัน อย่าว่าแต่รุ่น 40 ปีก่อนกับรุ่นนี้เลย นักศึกษารุ่นผม ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างรุ่น "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนกับนักศึกษาปัจจุบัน ก็ยังแตกต่างทั้งจากคนเดือนตุลาและนักศึกษาปัจจุบัน คนรุ่นผมยังสนใจเรื่องใหญ่ๆ เรื่องอำนาจรัฐ สังคมชนบท การพัฒนา กระทั่งยังมีคนฝันถึงสังคมนิยม ยังหาทางวิพากษ์ระบบทุนนิยม ยังวิพากษ์บริโภคนิยม พร้อมๆ กันนั้น ก็เริ่มเปิดรับความคิดใหม่ๆ เรื่องการเมืองวัฒนธรรม ความกระจัดกระจายของอำนาจ การต่อต้านอำนาจในชีวิตประจำวัน แต่ดูเหมือนความสนใจทั้งสองเรื่องนี้ในปัจจุบันยิ่งห่างจากกันไปทุกที

ที่จริงนักศึกษาปัจจุบันที่สนใจ "เรื่องใหญ่ๆ" ก็มีอยู่หรอก ดูได้จาก "ไอดอล" ของพวกเขาสิ อย่าง "สศจ." ก็พูดแต่เรื่องใหญ่ๆ นี่ก็แสดงว่านักศึกษาปัจจุบันก็หาทางต่อกรกับอำนาจเผด็จการแบบใหม่ที่น่าเกรงกลัวแต่ซ่อนรูปอย่างแยบยลอยู่เหมือนกัน แต่พร้อมๆ กันนั้น พวกเขาก็เข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์แรงๆ ของ "ธเนศ วงศ์ฯ" แล้วหาซื้องานเขียนอ่านยากของไอดอลคนนี้มาถือไปมา ทั้งที่ก็ล้วนเป็นงานเกี่ยวกับการเมืองวัฒนธรรม แต่จะว่าไป นักศึกษาที่ "ชาบู" สองไอดอลนี้ก็น่าจะเป็นนักศึกษาส่วนน้อย 

ความจริงก็คือ วัยรุ่นปัจจุบันส่วนใหญ่สนใจเรื่องสังคมวงกว้างน้อยลง ผมไม่เข้าใจตั้งแต่กลับมาสอนหนังสือใหม่ๆ แล้วว่าทำไมนักศึกษาชอบทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์เรื่องร้านกาแฟ ร้านเหล้า การดูหนังฟังเพลง ยิ่งเรื่องเซ็กซ์ยิ่งชอบศึกษากัน ชอบทำเป็นรายงานมาส่ง จนกระทั่งหลังๆ ผมต้องเตือนพวกเขาว่า "ถ้าใครจะทำเรื่องเซ็กซ์โดยไม่มีประเด็นใหม่ๆ แตกต่างไปจากที่รุ่นพี่ๆ คุณเคยทำมาแล้ว ผมจะไม่ให้ทำแล้ว เบื่ออ่านชีวิตเซ็กซ์ของพวกคุณเต็มทีแล้ว" 

แต่พอหลายปีเข้า ก็เริ่มเห็นประโยชน์ว่า ก็ดีเหมือนกันที่ทำให้เข้าใจโลกของคนยุคปัจจุบันมากขึ้น เช่น เข้าใจวรรณกรรมยุคใหม่ๆ เข้าใจเพลงปัจจุบัน เข้าใจภาษาใหม่ๆ เข้าใจการบริโภคของพวกเขา เข้าใจทัศนคติต่อเรื่องเพศของคนปัจจุบัน เข้าใจการให้ความหมายกับชีวิตตนเองของพวกเขา ฯลฯ ยิ่งหากพวกเขาไม่พยายามใช้ทัศนะแบบผู้ใหญ่หัวเก่ามาครอบตนเองแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เห็นชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันได้ชัดเจนมาก 

จากตรงนั้น ผมก็จะอาศัยบทเรียนจากวิชาที่สอนอยู่ สอดแทรกแลกเปลี่ยนกับประเด็นปัญหาใกล้ตัวที่พวกเขาสนใจไปทีละเล็กละน้อย เพื่อเชื่อมโยงประเด็นใกล้ตัวเขาให้ไปสู่ประเด็นที่กว้างใหญ่ของสังคม และพยายามให้เขาเข้าใจผู้คนที่มีชีวิตและฐานะความเป็นอยู่แตกต่างจากพวกเขาบ้าง เห็นใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกบ้าง เข้าใจความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมบ้าง ก็ทำเท่าที่พวกเขาจะรับได้ 

ผมไม่ชอบยัดเยียดให้นักศึกษาจะต้องกลายเป็นคนรับผิดชอบต่อสังคมในนามของ "จิตอาสา" ภายในหนึ่งภาคการศึกษาแบบที่อาจารย์บางคนทำหรอก เพราะผมสงสัยว่าปัจจุบันน้ียังมียังมีชนบทที่ไหนให้นักศึกษาไปพัฒนาอยู่อีกหรือ ยังมีชาวบ้านที่ไหนเดินขบวนไม่เป็น ยังเหลือประเด็นทางสังคมอะไรอีกที่รัฐและเอ็นจีโอที่ก็กินเงินเดือนรัฐยังไม่ได้เข้าไปจับต้อง สู้แลกเปลี่ยนกับพวกเขาในประเด็นที่พวกเขาสนใจไม่ดีกว่าหรือ 

สุดท้าย แน่นอนว่าสังคมไทยยังจะต้องรำลึกและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ตุลา 16, ตุลา 19 กันต่อไป แต่ผมคิดว่า ควรเลิกเอา "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนมาเป็นอุดมคติกดดันหรือกระทั่งยัดเยียดคนหนุ่มสาวยุคต่อๆ มาเสียทีเถอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก