Skip to main content

จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ

การค้านนิรโทษกรรมอย่างคับแคบของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ มุ่งค้านการล้างผิดทักษิณ ชินวัตรโดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นของการนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 และความจำเป็นในการรักษาหลักการของการไม่งดเว้นความผิดให้ผู้สั่งการใช้ความรุนแรงแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐก่อการทำร้ายประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดได้อีก 

จากรายงานของ ศปช. และจากคำสั่งศาลในการไต่สวนการตายหลายกรณีที่ผ่านมา ให้ข้อสรุปชัดเจนตรงกันหลายกรณีแล้วว่า พลเรือนหลายรายเสียชีวิตจากวิถีกระสุนที่มาจากเจ้าหน้าที่ และผู้ตายเหล่านั้นไม่มีอาวุธ นอกจากนั้น ผู้ตายจำนวนมากยังไม่ได้เป็นผู้ร่วมชุมนุม แต่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา นี่ยังไม่นับว่ามีคนเจ็บและผู้ต้องขังจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลับต้องมีมลทินและต้องโทษโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิด 

นี่เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน การที่ประชาชนส่วนหนึ่งคัดค้านการเหมาเข่งนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้สั่งการไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สังคมได้ก้าวหน้ามาถึงจุดที่ไม่อาจยอมรับการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกต่อไปแล้ว 

แต่ที่น่าละอายใจคือ คณาจารย์ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ กลับกระตือรือล้นท่ีจะคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งนี้ ด้วยการเน้นสาระสำคัญของการคัดค้านอยู่ที่การคัดค้านการล้างผิดคนโกง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการไม่งดเว้นความผิดให้กับผู้สั่งการสลายการชุมนุม 

หากจะไม่ลำเลิกกันเกินไป ข้าพเจ้าก็ขอตั้งคำถามว่า คณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ได้เคยแยแสกับการสลายการชุมนุมด้วยการใข้กำลังอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้เคยเหลียวแลที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 มาก่อนเลยนั้น มาบัดนี้ทำไมจึงลุกขึ้นมาปกป้องหลักนิติธรรม 

หรือหลักนิติธรรมของท่านมีเพียงเพื่อป้องกันการกลับมาสู่อำนาจใครบางคนที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับท่านเท่านั้น หลักนิติธรรมของท่านครอบคลุมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลการะทบจากการสลายการชุมนุม ที่ท่านเองอาจมีส่วนเผลอไผลยุยงหรือทำเป็นปิดตาข้างเดียวมองไม่เห็นหรือไม่ และนั่นยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า เจตนาของแถลงการณ์นี้จะเป็นไปเพื่อเร่งกระแสการต่อต้านรัฐบาลและเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งในสังคม หรือเพื่อธำรงความยุติธรรมของสังคมนี้กันแน่ 

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่คัดค้านร่างพรบ.ฉบับสุดซอยเหมาเข่งนี้ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก