Skip to main content

จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ

การค้านนิรโทษกรรมอย่างคับแคบของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ มุ่งค้านการล้างผิดทักษิณ ชินวัตรโดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นของการนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 และความจำเป็นในการรักษาหลักการของการไม่งดเว้นความผิดให้ผู้สั่งการใช้ความรุนแรงแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐก่อการทำร้ายประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดได้อีก 

จากรายงานของ ศปช. และจากคำสั่งศาลในการไต่สวนการตายหลายกรณีที่ผ่านมา ให้ข้อสรุปชัดเจนตรงกันหลายกรณีแล้วว่า พลเรือนหลายรายเสียชีวิตจากวิถีกระสุนที่มาจากเจ้าหน้าที่ และผู้ตายเหล่านั้นไม่มีอาวุธ นอกจากนั้น ผู้ตายจำนวนมากยังไม่ได้เป็นผู้ร่วมชุมนุม แต่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา นี่ยังไม่นับว่ามีคนเจ็บและผู้ต้องขังจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลับต้องมีมลทินและต้องโทษโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิด 

นี่เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน การที่ประชาชนส่วนหนึ่งคัดค้านการเหมาเข่งนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้สั่งการไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สังคมได้ก้าวหน้ามาถึงจุดที่ไม่อาจยอมรับการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกต่อไปแล้ว 

แต่ที่น่าละอายใจคือ คณาจารย์ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ กลับกระตือรือล้นท่ีจะคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งนี้ ด้วยการเน้นสาระสำคัญของการคัดค้านอยู่ที่การคัดค้านการล้างผิดคนโกง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการไม่งดเว้นความผิดให้กับผู้สั่งการสลายการชุมนุม 

หากจะไม่ลำเลิกกันเกินไป ข้าพเจ้าก็ขอตั้งคำถามว่า คณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ได้เคยแยแสกับการสลายการชุมนุมด้วยการใข้กำลังอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้เคยเหลียวแลที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 มาก่อนเลยนั้น มาบัดนี้ทำไมจึงลุกขึ้นมาปกป้องหลักนิติธรรม 

หรือหลักนิติธรรมของท่านมีเพียงเพื่อป้องกันการกลับมาสู่อำนาจใครบางคนที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับท่านเท่านั้น หลักนิติธรรมของท่านครอบคลุมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลการะทบจากการสลายการชุมนุม ที่ท่านเองอาจมีส่วนเผลอไผลยุยงหรือทำเป็นปิดตาข้างเดียวมองไม่เห็นหรือไม่ และนั่นยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า เจตนาของแถลงการณ์นี้จะเป็นไปเพื่อเร่งกระแสการต่อต้านรัฐบาลและเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งในสังคม หรือเพื่อธำรงความยุติธรรมของสังคมนี้กันแน่ 

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่คัดค้านร่างพรบ.ฉบับสุดซอยเหมาเข่งนี้ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย