Skip to main content

จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ

การค้านนิรโทษกรรมอย่างคับแคบของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ มุ่งค้านการล้างผิดทักษิณ ชินวัตรโดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นของการนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 และความจำเป็นในการรักษาหลักการของการไม่งดเว้นความผิดให้ผู้สั่งการใช้ความรุนแรงแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐก่อการทำร้ายประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดได้อีก 

จากรายงานของ ศปช. และจากคำสั่งศาลในการไต่สวนการตายหลายกรณีที่ผ่านมา ให้ข้อสรุปชัดเจนตรงกันหลายกรณีแล้วว่า พลเรือนหลายรายเสียชีวิตจากวิถีกระสุนที่มาจากเจ้าหน้าที่ และผู้ตายเหล่านั้นไม่มีอาวุธ นอกจากนั้น ผู้ตายจำนวนมากยังไม่ได้เป็นผู้ร่วมชุมนุม แต่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา นี่ยังไม่นับว่ามีคนเจ็บและผู้ต้องขังจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลับต้องมีมลทินและต้องโทษโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิด 

นี่เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน การที่ประชาชนส่วนหนึ่งคัดค้านการเหมาเข่งนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้สั่งการไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สังคมได้ก้าวหน้ามาถึงจุดที่ไม่อาจยอมรับการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกต่อไปแล้ว 

แต่ที่น่าละอายใจคือ คณาจารย์ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ กลับกระตือรือล้นท่ีจะคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งนี้ ด้วยการเน้นสาระสำคัญของการคัดค้านอยู่ที่การคัดค้านการล้างผิดคนโกง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการไม่งดเว้นความผิดให้กับผู้สั่งการสลายการชุมนุม 

หากจะไม่ลำเลิกกันเกินไป ข้าพเจ้าก็ขอตั้งคำถามว่า คณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ได้เคยแยแสกับการสลายการชุมนุมด้วยการใข้กำลังอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้เคยเหลียวแลที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 มาก่อนเลยนั้น มาบัดนี้ทำไมจึงลุกขึ้นมาปกป้องหลักนิติธรรม 

หรือหลักนิติธรรมของท่านมีเพียงเพื่อป้องกันการกลับมาสู่อำนาจใครบางคนที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับท่านเท่านั้น หลักนิติธรรมของท่านครอบคลุมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลการะทบจากการสลายการชุมนุม ที่ท่านเองอาจมีส่วนเผลอไผลยุยงหรือทำเป็นปิดตาข้างเดียวมองไม่เห็นหรือไม่ และนั่นยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า เจตนาของแถลงการณ์นี้จะเป็นไปเพื่อเร่งกระแสการต่อต้านรัฐบาลและเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งในสังคม หรือเพื่อธำรงความยุติธรรมของสังคมนี้กันแน่ 

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่คัดค้านร่างพรบ.ฉบับสุดซอยเหมาเข่งนี้ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)