Skip to main content

 

ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแำ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
 
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว"
 
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ"
 
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
 
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
 
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
 
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอวใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
 
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
 
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง