Skip to main content

 

ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแำ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
 
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว"
 
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ"
 
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
 
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
 
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
 
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอวใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
 
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
 
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย