Skip to main content

 

ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแำ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
 
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว"
 
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ"
 
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
 
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
 
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
 
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอวใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
 
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
 
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก