Skip to main content

 

ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแำ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
 
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว"
 
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ"
 
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
 
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
 
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
 
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอวใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
 
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
 
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้