Skip to main content

 

ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแำ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
 
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว"
 
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ"
 
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
 
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
 
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
 
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอวใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
 
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
 
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ