Skip to main content

 

ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน

<--break->เมื่อไม่นานมานี้ มีนักการทูตจากประเทศหนึ่งถามผมว่า "ในภาวะการณ์ทางการเมืองที่มีการแบ่งฝ่ายทางการเมืองอย่างรุนแรงนี้ ส่งผลต่อเสรีภาพในการพูด (freedom of speech) ของนักวิชาการบ้างหรือเปล่า" ผมตอบว่า ที่ผมประสบมาและที่ทราบมามีหลายกรณีด้วยกัน

หนึ่ง เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมถูกปฏิเสธ ไม่ให้เข้ารับตำแหน่งบริหารขององค์กรหนึ่ง เมื่อก่อนองค์กรนี้มีบทบาททางวิชาการอย่างสำคัญ แต่ระยะหลังซบเซาไป มีเพื่อนนักวิชาการไม่กี่คนที่รู้การทาบทามนี้ ทุกคนสงสัยแต่แรกว่าจะเป็นไปได้จริงหรือ ผมเองก็สงสัยแต่แรก แต่อีกใจก็อยากรู้ว่าจะเดาผิดหรือเปล่า ผลก็คือ ผู้ใหญ่ ๆ ในองค์กรนั้นบอกผู้ใหญ่ที่มาทาบทามผมว่า "คนนี้ใส่เสื้อมีสี ให้มาทำงานที่นี่ไม่ได้เด็ดขาด" เล่นเอาผู้ใหญ่ที่มาทาบทามผมงงงวยไปเลย

สอง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมได้รับการทาบทามให้ไปเป็นองค์ปาฐกให้กับการประชุมทางวิชาการใหญ่รายการหนึ่งจากเพื่อนนักวิชาการ แต่แล้วเมื่อรายการจัดออกมา ปรากฏว่าไม่มีรายชื่อผม ผมก็ไม่ได้ติดใจถามไถ่อะไร เนื่องจากคิดว่าตนเองคงยังไม่มีคุณวุฒิเพียงพอ แต่เพิ่งมารู้ภายหลังว่า แหล่งทุนที่ให้เงินสนับสนุนระบุมาว่า "อย่าให้มีพวกใส่เสื้อสี...มากนัก" ชื่อผมก็เลยหลุดไป

สาม ในตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ผมหมดวาระแล้ว และผมไม่ได้รับตำแหน่งต่อ เพราะอยากทำงานเขียนให้มากขึ้นและเห็นว่าเพื่อนร่วมงานก็น่าจะได้ลองทำงานบริหารกันบ้าง แต่ในระหว่างอยู่ในตำแหน่ง เมื่อใดที่ขอห้องประชุมจัดงาน ฝ่ายบริหารซึ่งดูแลสถานที่จะต้องแขวะกลับมาทุกทีว่า "เป็นงานเสื้อ...อีกแล้วใช่ไหม" หากไม่มีการเมืองสีเสื้อ งานเหล่านี้จะเป็นกิจกรรมบริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนเป็นอย่างดี

สี่ ในการขอทุนทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาคนหนึ่งที่ผมเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ แหล่งทุนปฏิเสธการสนับสนุนวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในมิติทางสังคม-วัฒนธรรม หน่วยงานดังกล่าวซึ่งเป็นแหล่งทุนที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศนี้ ให้เหตุผลว่าแหล่งทุนไม่มีนโยบายสนับสนุนให้ทำวิทยานิพนธ์ประเด็นดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในสังคมไทย และเรายังขาดความรู้อีกมาก

ห้า ในการทำงานวิจัยที่ผ่านมา ผมและเพื่อนร่วมวิจัยทุกคนประสบกับอุปสรรคใหญ่ในการเขียนรายงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ การวิจัยศึกษาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยจากมุมมองของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ส่วนหนึ่งของข้อมูลคือความเห็นของประชาชนต่อบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน แหล่งทุนบังคับว่าจะต้องตัดความเห็นเหล่านั้นออกจากงานวิจัย มิฉะนั้นจะไม่ยอมรับผลการวิจัย

หก นี่เป็นเรื่องไกลตัว ผมไม่ได้ประสบเอง แต่รับรู้มาว่า การสลับสับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัย สถาบันวิชาการสำคัญ ๆ หลายสถาบันเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เขี่ยนักวิชาการที่มีผลงานโดดเด่นและเป็นที่นับถือทั้งในแวดวงวิชาการและแวดวงบริการสังคมออกไปเป็นจำนวนมาก คนเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยนักวิชาการตายซาก ด้วยบรรดาคนเฒ่าคนชราที่เลิกอ่านหนังสือไปหลายสิบปีแล้ว ผมสงสัยว่าจะเกี่ยวอะไรกันกับการติดสติ๊กเกอร์ "เสื้อตัวนี้สี..." อีกหรือเปล่า

นี่คือเหตุผลที่ทำไมนักวิชาการส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเดินบนเส้นทางที่ค้ำจุนการคงไว้ซึ่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทย และทำไมนักวิชาการอีกจำนวนมากจึงนิ่งดูดายกับความไม่ยุติธรรมในสังคมนี้ และดังนั้น ในภาพรวมของแวดวงการศึกษา ผมไม่หวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นภายในระยะ 10 ปีนี้เป็นอย่างน้อย

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง