Skip to main content

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา

ช่วงท้ายของการบรรยาย ประชาชน นักศึกษา นักวิชาการที่เข้าร่วม ได้ส่งเสียงสะท้อนถึงความคิดต่อประชาธิปไตยของประชาชนเองหลายประการ ผมจึงขอใช้พื้นที่นี้บอกเล่าเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากคนสามจังหวัดภาคใต้ที่ผมบันทึกมา ให้ได้ยินกันทั่วประเทศดังนี้

"ประชาธิปไตยไปด้วยกันได้กับหลักศาสนาอิสลาม พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนต้นทุนเดียวกัน แม้ว่าคุณจะเป็น มรว. หรือใคร ก็ถูกสร้างขึ้นมาจากต้นทุนที่เท่ากัน"

"ในระบบที่เห็นคุณค่าคนเท่าๆ กัน คนมลายูจะไม่แตกต่างกับคนไทย จะเท่าเทียมกับความเป็นคนไทย แต่ในระบบเผด็จการ คนมลายูอาจจะไม่มีตัวตน" 

"ประชาธิปไตยคือกระบวนการของสันติภาพ อย่าเริ่มนับศูนย์ใหม่เลย หากเริ่มใหม่ กระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินไปจะสะดุดหมด จะทำลายความหวังประชาชนหมด" 

"ฉันเป็นตำรวจชาวพุทธในปัตตานี ถูกชาวพุทธด่าว่าตำรวจชั่ว ไม่รักชาติ อ้าว.. แล้วที่ฉันมาอยู่สามจังหวัดนี่ไม่รักชาติยังไง เสี่ยงตายขนาดนี้" 

"การเลือกตั้งทำให้ประชาชนเลือกผู้ปกครองได้ เลือกนโยบายได้ เลือกว่าชอบหรือไม่ชอบพรรคการเมืองไหนได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะสั่งสอนนักการเมืองได้อย่างไร" 

"คนที่นี่มีความรู้มาก พูด อ่าน เขียนได้หลายภาษามากกว่าคนกรุงเทพ" 

"คนเท่ากันเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คนอาจมีคุณธรรมไม่เท่ากัน มีความรู้ไม่เท่่ากัน แต่มีสิทธิเท่ากัน" 

"คน 3 จังหวัดมีความเป็นประชาธิปไตยและเข้าใจการเลือกตั้งมากกว่าอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ด้วยกัน" 

"วันที่ 2 กุมภาฯ จะตัดสินว่า เราจะปฏิรูปทุกอย่างไหม หรือจะปฏิรูปแค่ไม่ให้ทักษิณกลับบ้าน" 

เสียงเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเป็นหลักประกันวิถีชีวิตชาวปัตตานี ชาวยะลา และชาวนราธิวาส เสียงจากประชาชนเหล่านี้คือเสียงปกป้องประชาธิปไตย คือเสียงเดินหน้าเลือกตั้ง คือเสียงต่อต้านรัฐประหาร 

ประชาธิปไตยจึงไม่ไช่หลักการนามธรรมจากตะวันตก ไม่ว่าชนชั้นนำหรือนักวิชาการเจ้าหลักการที่ไหนก็ไม่สามารถนำประชาธิปไตยมายัดเยียดให้ประชาชนได้ แต่ประชาธิปไตยคืออำนาจทางการเมืองของประชาชน ประชาชนชาว 3 จังหวัดภาคใต้ได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่า ประชาธิปไตยคือวิถีชีวิตของประชาชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก