Skip to main content

เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้

ผมเข้าไปถึงหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้กลับบ้าน ไม่มีการเลือกตั้งแล้ว ผมโมโหมาก ถามเจ้าหน้าที่ว่าใครสั่ง เจ้าหน้าที่บอกว่า กกต. บอกให้เลื่อนเลือกตั้งแล้ว บางคนบอกผอ.เขตให้ยกเลิก ผมขอหนังสือยกเลิก ก็ไม่มีใครชี้แจงอะไรผมเดินไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าที่ สน. มีใครรับแจ้งความไหม เขาบอกมี ผมก็วิ่งไปที่สน.บางมด จะไปแจ้งความ

ไปถึงสน. ตำรวจบอกไม่ต้องแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งกับเจ้ากกต.กำลังแจ้งความว่ามีผู้ชุมนุมมาปิดหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่จากสนง.เขตบอกให้กลับไปที่สนง.เขตเพื่อลงทะเบียนแจ้งรักษาสิทธิ์เลือกตั้ง ผมทำตามโดยดี โดยไม่ได้ทันเฉลียวใจว่า ที่จริงผมก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับคนที่มาผิดหน่วยเลือกตั้งและมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับการไม่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

แต่อีกใจ ผมก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ ว่าเขาคงถูกข่มขู่คุกคามอย่างรุนแรง ไม่อยากถือโทษว่าพวกเขาเองก็อาจสมรู้ร่วมคิดกับการปิดหน่วยเลือกตั้งด้วย เมื่อได้เห็นประกาศปิดหน่วยเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่า "มีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดสำนักงานเขตจอมทอง" ผมก็ลงทะเบียนรักษาสิทธิ์ไว้ทันที

พวกคุณที่เป่านกหวีดร่วมกับ กปปส. น่ะ พวกคุณคิดหรือว่าการทำแบบนี้แล้วจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปได้ 

แต่ที่เสียใจที่สุดคือ พวกคุณทำไมต้องมาตัดสิทธิของผม ทำไมต้องมาคิดแทนผมว่าคะแนนเสียงผมไม่มีค่า เป็นอันว่าผมไม่สามารถเลือกได้ว่าผมจะให้ใครบริหารประเทศ ผมไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตผมได้ แม้ว่าผมจะเลือกคนที่พวกคุณเห็นว่าชั่วร้ายขนาดไหน แต่ในเมื่อคนเหล่านั้นยังมีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผมก็มีสิทธิ์เลือกคนเหล่านั้นอยู่ดี 

พวกคุณดีกว่าผมอย่างไรจึงมาตัดสินใจแทนผมได้ พวกคุณรู้ดีกว่าผมอย่างไรจึงจะมาตัดสิทธิ์การตัดสินใจของผม พวกคุณคือใคร ก็แค่คนเท่าผม 

พวกคุณไว้ใจคนที่พวกคุณเดินตามเขาอยู่ได้อย่างไร ผมคนหนึ่งที่ไม่ไว้ใจ แต่หากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการของการเคารพหนึ่งคนหนึ่งเสียงแล้วได้เป็นผู้บริหารประเทศ ผมก็จะยอมรับอำนาจเขา แต่ก็จะวิจารณ์เขา โต้เถียงกับพวกเขา แต่หากพวกเขาเข้ามาสู่อำนาจ มีอำนาจการบริหารโดยวิธีพิเศษแล้ว พวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะฟังใคร

ตกเย็น ผมไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะลดความโกรธได้ ก็เลยออกไปจุดเทียน เป็นเทียนเล่มแรกที่จุดในขบวนการจุดเทียนเพื่อรักษาสิทธิ์ เป็นแสงเทียนริบหรี่ที่ไม่ส่งเสียงให้ใครได้ยินได้ เพราะเสียงของผมถูกริบไปแล้วด้วยอำนาจป่าเถื่อนในการเลือกตั้งครั้งนี้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้