Skip to main content

เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้

ผมเข้าไปถึงหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้กลับบ้าน ไม่มีการเลือกตั้งแล้ว ผมโมโหมาก ถามเจ้าหน้าที่ว่าใครสั่ง เจ้าหน้าที่บอกว่า กกต. บอกให้เลื่อนเลือกตั้งแล้ว บางคนบอกผอ.เขตให้ยกเลิก ผมขอหนังสือยกเลิก ก็ไม่มีใครชี้แจงอะไรผมเดินไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าที่ สน. มีใครรับแจ้งความไหม เขาบอกมี ผมก็วิ่งไปที่สน.บางมด จะไปแจ้งความ

ไปถึงสน. ตำรวจบอกไม่ต้องแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งกับเจ้ากกต.กำลังแจ้งความว่ามีผู้ชุมนุมมาปิดหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่จากสนง.เขตบอกให้กลับไปที่สนง.เขตเพื่อลงทะเบียนแจ้งรักษาสิทธิ์เลือกตั้ง ผมทำตามโดยดี โดยไม่ได้ทันเฉลียวใจว่า ที่จริงผมก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับคนที่มาผิดหน่วยเลือกตั้งและมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับการไม่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

แต่อีกใจ ผมก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ ว่าเขาคงถูกข่มขู่คุกคามอย่างรุนแรง ไม่อยากถือโทษว่าพวกเขาเองก็อาจสมรู้ร่วมคิดกับการปิดหน่วยเลือกตั้งด้วย เมื่อได้เห็นประกาศปิดหน่วยเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่า "มีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดสำนักงานเขตจอมทอง" ผมก็ลงทะเบียนรักษาสิทธิ์ไว้ทันที

พวกคุณที่เป่านกหวีดร่วมกับ กปปส. น่ะ พวกคุณคิดหรือว่าการทำแบบนี้แล้วจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปได้ 

แต่ที่เสียใจที่สุดคือ พวกคุณทำไมต้องมาตัดสิทธิของผม ทำไมต้องมาคิดแทนผมว่าคะแนนเสียงผมไม่มีค่า เป็นอันว่าผมไม่สามารถเลือกได้ว่าผมจะให้ใครบริหารประเทศ ผมไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตผมได้ แม้ว่าผมจะเลือกคนที่พวกคุณเห็นว่าชั่วร้ายขนาดไหน แต่ในเมื่อคนเหล่านั้นยังมีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผมก็มีสิทธิ์เลือกคนเหล่านั้นอยู่ดี 

พวกคุณดีกว่าผมอย่างไรจึงมาตัดสินใจแทนผมได้ พวกคุณรู้ดีกว่าผมอย่างไรจึงจะมาตัดสิทธิ์การตัดสินใจของผม พวกคุณคือใคร ก็แค่คนเท่าผม 

พวกคุณไว้ใจคนที่พวกคุณเดินตามเขาอยู่ได้อย่างไร ผมคนหนึ่งที่ไม่ไว้ใจ แต่หากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการของการเคารพหนึ่งคนหนึ่งเสียงแล้วได้เป็นผู้บริหารประเทศ ผมก็จะยอมรับอำนาจเขา แต่ก็จะวิจารณ์เขา โต้เถียงกับพวกเขา แต่หากพวกเขาเข้ามาสู่อำนาจ มีอำนาจการบริหารโดยวิธีพิเศษแล้ว พวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะฟังใคร

ตกเย็น ผมไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะลดความโกรธได้ ก็เลยออกไปจุดเทียน เป็นเทียนเล่มแรกที่จุดในขบวนการจุดเทียนเพื่อรักษาสิทธิ์ เป็นแสงเทียนริบหรี่ที่ไม่ส่งเสียงให้ใครได้ยินได้ เพราะเสียงของผมถูกริบไปแล้วด้วยอำนาจป่าเถื่อนในการเลือกตั้งครั้งนี้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี