Skip to main content

มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม

ว่าแล้วจะหาว่าคุย ความหนาวแบบเกียวโตขณะนี้น่ะหรือ ที่วิสคอนซินน่ะแค่ฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูใบไม้ผลิเท่านั้นเอง ที่วิสคอนซิน บางปีตอนฤดูหนาว หนาวเหน็บมาก กระทั่งเมื่อเริ่มฤดูใบไม้ผลิ วันไหนอุณหภูมิแตะสัก 40 ฟาเรนไฮต์ คือสัก 1-2 เซลเซียส พวกสาวๆ เธอก็นุ่งสั้น บางคนเว่อร์ขนาดนุ่งบิกินี่มาอาบแดดกันทีเดียว

เครื่องกันหนาวที่วิเศษอย่างหนึ่งของเกียวโตคือเสื้อ heattech เขาคุยว่าเป็น Japan Technology ผมก็ไปซื้อมา ไม่ได้แพงบ้าบออะไร เสื้อตัวละสามร้อยบาท กางเกงตัวละสามร้อยบาท ใส่แบบแนบเนื้อทั้งล่างและบน แล้วใส่เสื้อสเว็ตเตอร์ทับ แล้วเสื้อแจ๊คเก็ตดีๆ (พาเสื้อขนเป็ดที่เขาว่าวิธีเอาขนมานั้นทรมาณเป็ดนักหนานั่นแหละมาหนึ่งตัว ไม่ได้แพงมากมาย ซื้อตอนเขาลดราคา) นุ่งยีนส์ธรรมดา รองเท้าก็แบบใส่ที่เมืองไทย ใส่ถุงมือหน่อย ใส่หมวกหน่อย เอาผ้าพันคอหนาๆ พันคอสักรอบนึง แค่นี้ก็เดินเล่นในเกียวโตขณะนี้ได้อย่างสบายอารมณ์แล้ว

ความรู้เรื่องการแต่งตัวหน้าหนาวส่วนใหญ่ได้มาจากการใช้ชีวิตที่วิสคอนซิน ฝรั่งเขาว่า ต้องใส่ชั้นในแนบเนื้อเพื่อรักษาความร้อนเอาไว้ในตัว การใส่หมวกจะช่วยเก็บความร้อนของร่างกายได้ด้วย เพราะเขาว่าความร้อนจะระบายออกทางหัว ถุงมือต้องมี เพราะอาจโดนฟรอสไบท์ หรือนำ้แข็งกัดเอาได้ คือหมายถึงมือมันจะแข็งน่ะ หากหนาวมากๆ อาจต้องหาอะไรมาปิดหู ไม่งั้นหูจะแข็งได้ บางทีต้องใส่หมวกคลุมหัวที่ปิดหูได้ด้วย แบบที่พวกแร็บเตอร์ใส่น่ะ (เคยเห็นเด็กไทยใส่ที่แบงค์ค่อกแล้วจะบ้าตาย ไม่ร้อนตายรึไงครับขุ่นหนู)

แต่ที่ลำบากสำหรับผมคือ ชาวเกียวโตบ้าแฟชั่น ช่างแต่งตัว พวกเขาแต่งตัวกันสวยงามกันทุกฤดูกาล ส่วนผมน่ะ ประสบการณ์ความหนาวก็มาจากวิสคอนซิน เมืองบ้านนอกที่ผู้คนชอบแต่งตัวราวกับจะไปล่ากวางตลอดเวลา (ที่นั่นมีฤดูล่ากวางกับล่าไก่งวงจริงๆ เพราะมันเยอะ เขาให้นักล่าซื้อใบอนุญาตล่าสัตว์ ล่ากันตอนฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน แล้วเอามาทำอาหารกินกันตอน Thanksgiving) 

ตอนอยู่วิสคอนซิน เงินทองไม่ค่อยมีใช้ ต้องประหยัดขนาดไปหาซื้อเสื้อผ้ามือสองใส่ เจออะไรพอใส่ได้กันหนาวก็ซื้อมา ไม่ได้สนใจแฟชั่นอะไร เรียกว่าแต่งตัวตกยุคพ้นสมัยเสียยิ่งกว่าคนวิสคอซินเสียอีก เคยมีบางทีที่ไปสัมมนาวิชาการที่เมืองใหญ่ๆ อย่างชิคาโก ชาววิสคอนซิน ก็พวกเพื่อนๆ ร่วมชั้นไปกันหลายๆ คนนั่นแหละ เดินในชิคาโกแล้วอายเขาแทบแทรกหิมะหนี สีสันแจ๊คเก็ตชาววิสคอนซินนี่มันบ้านน้อกบ้านนอก

ยังอยู่หนาวอีกหลายวัน เอาไว้หากมีโอกาสฝ่าหนาวไปเยี่ยมชมที่ไหนที่น่าสนใจจะมาทยอยเล่าให้ฟังครับ (วันนี้เพิ่งไปพิพิธภัณฑ์มังกะมา เอาไว้ค่อยเล่า)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้