Skip to main content

วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยริซูเมคาน (Ritsumeikan University) ในปี 1992 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ว่าด้วยเรื่องสันติภาพแห่งเดียวในโลกที่ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย (เขาว่าอย่างนั้น) มีผู้รู้เพิ่มเติมข้อมูลให้อีกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม แม้ระยะแรกจะจำเป็นต้องเข้าร่วมเพราะถูกบังคับ ในท้ายสุด มหาวิทยาลัยริซูเมคานจึงเป็นหัวหอกในการต้านการนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามและมีดำริสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพโลกนี้ขึ้นมา

สิ่งที่หนึ่งน่านับถือคือ ความกล้าหาญ ของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนคือ "ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย" ที่ยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า "คนเราฆ่ากัน แล้วคนที่ฆ่าเขาไม่ใช่ใครที่ไหน คือทหารหาญของประเทศเราเอง ที่เที่ยวออกไปฆ่าใครต่อใคร ข่มเขงชำเราใครต่อใครเขาไปทั่วหล้า ในนามของ ทหารของพระราชา" 

ถ้าจะแบ่งพื้นที่การจัดแสดง กว่าครึ่งหนึ่งของการจัดแสดงว่าด้วย "สงคราม 15 ปี" หรือที่ชาวโลกรู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นเขานับจากปี 1931-1945 (ปีที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกท้ิงที่ฮิโรชิมาและนากาซากิ) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่อ้อมค้อม เริ่มเรื่องด้วยกระบวนการก่อตัวของสงคราม ที่ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมา สร้าง "สังคมแห่งสงคราม" ให้คนยอมรับและเข้าร่วมอย่างกระตือรือล้นในทุกๆ มิติ ทุกๆ ส่วนของสังคม กระทั่งการกินอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามที่ "เราต้องอดทน" จนกระทั่งเมื่อดูรายละเอียดไปเรื่อยๆ คนดูอาจถามว่า "เขาจะก่อสงครามไปเพื่ออะไร" 

ความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม 15 ปีเริ่มเมื่อญี่ปุ่นขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลี จีน ไต้หวัน แล้วเรื่อยลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี "โกโบริ" กับ "อังศุมาลิน" ในเรื่องเล่านี้ มีแต่ทหารญี่ปุ่นกับ sex slaves หรือบรรดาหญิงชาวเกาหลี ชาวจีน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมายที่ถูกข่มขืน ถูกส่งลงเรือไปเป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่นในต่างแดน จำวนมากตั้งครรภ์และถูกทอดทิ้ง (หรืออังศุมาลินใฝ่ฝันอยากเป็นดั่งหญิงเหล่านี้) 

พิพิธภัณฑ์นี้เล่าอย่างไม่ขวยเขินว่า การขยายอำนาจในนามพระราชานี้ ทหารญี่ปุ่นได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปทั่ว กองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นค่าแม้กระทั่งชีวิตของทหารญี่ปุ่นด้วยกันเอง กองทัพญี่ปุ่นปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างโหดร้าย กองทัพญี่ปุ่นใช้แบคทีเรียกับแกสพิษเป็นอาวุธด้วย 

ภาพหลอนส่วนหนึ่งที่ชวนให้ขนลุก เสมือนหนึ่งเห็นชนกลุ่มน้อยในบางประเทศที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และวัฒนธรรมของศัตรูแห่งกลุ่มชนตนเอง คือการเดินขวนเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นโดยนักเรียนประถมต้นในประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไต้หวัน จนทุกวันนี้ยังมีประชากรไต้หวันบางส่วนพูดภาษาญี่ปุ่น 

พิพิธภัณฑ์เล่าถึงกระบวนการต่อต้านสงคราม ทั้งในประเทศต่างๆ ที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง และชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการก่อสงครามของญี่ปุ่นเอง (again) ไม่เห็นเขาเล่าว่ามีคู่รักอย่างโกโบริกับอังศุมาลินที่ไหนในโลกหรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะลำเอียงเข้าข้างการตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามมากเกินไป ไม่รู้จักมองแง่งามของสงครามการขยายอำนาของญี่ปุ่นเสียบ้าง แย่จริง 

ในส่วนนั้น พิพิธภัณฑ์ก็ไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับการให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อของสงคราม เพราะนอกจากคำถามอื่นใดแล้ว พลเรือนที่ต้องตายไป 100,000 คนในคืนเดียวที่มีการโจมตีทางอากาศที่โตเกียวโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และพลเรือนบริสุทธิ์ที่ต้องตายและได้รับผลกระทบอีกนับไม่ถ้วนจากระเบิดปรมาณูของอเมริกันล่ะ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ใครคืออาชญากรสงครามในการก่อกรรมนี้ ไม่เห็นโลกดำเนินการใดๆ 

อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องกระบวนการสันติภาพในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ และกลับกลายเป็นว่า ในนามของสันติภาพและประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาก่อสงครามไปทั่วโลก 

หากจะมีพิพิธภัณฑ์สันติภาพในประเทศไทย เราจะกล้าตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันทหารหรือไม่ ทหารจะยอมให้เล่าเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เราจะเล่าเรื่องสงครามกลางเมือง สงครามที่รัฐกระทำต่อประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เราจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างไร  

เราจะระลึกถึงความโหดร้ายของความรุนแรงแล้วเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพได้หรือไม่ หากเราไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาได้ หรือว่าประเทศไทยยังไม่มีสงครามที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึงสันติภาพ หรือว่าเราจะต้องฆ่ากันให้มากขึ้น สันติภาพจึงจะเกิดขึ้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้