Skip to main content

วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยริซูเมคาน (Ritsumeikan University) ในปี 1992 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ว่าด้วยเรื่องสันติภาพแห่งเดียวในโลกที่ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย (เขาว่าอย่างนั้น) มีผู้รู้เพิ่มเติมข้อมูลให้อีกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม แม้ระยะแรกจะจำเป็นต้องเข้าร่วมเพราะถูกบังคับ ในท้ายสุด มหาวิทยาลัยริซูเมคานจึงเป็นหัวหอกในการต้านการนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามและมีดำริสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพโลกนี้ขึ้นมา

สิ่งที่หนึ่งน่านับถือคือ ความกล้าหาญ ของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนคือ "ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย" ที่ยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า "คนเราฆ่ากัน แล้วคนที่ฆ่าเขาไม่ใช่ใครที่ไหน คือทหารหาญของประเทศเราเอง ที่เที่ยวออกไปฆ่าใครต่อใคร ข่มเขงชำเราใครต่อใครเขาไปทั่วหล้า ในนามของ ทหารของพระราชา" 

ถ้าจะแบ่งพื้นที่การจัดแสดง กว่าครึ่งหนึ่งของการจัดแสดงว่าด้วย "สงคราม 15 ปี" หรือที่ชาวโลกรู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นเขานับจากปี 1931-1945 (ปีที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกท้ิงที่ฮิโรชิมาและนากาซากิ) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่อ้อมค้อม เริ่มเรื่องด้วยกระบวนการก่อตัวของสงคราม ที่ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมา สร้าง "สังคมแห่งสงคราม" ให้คนยอมรับและเข้าร่วมอย่างกระตือรือล้นในทุกๆ มิติ ทุกๆ ส่วนของสังคม กระทั่งการกินอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามที่ "เราต้องอดทน" จนกระทั่งเมื่อดูรายละเอียดไปเรื่อยๆ คนดูอาจถามว่า "เขาจะก่อสงครามไปเพื่ออะไร" 

ความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม 15 ปีเริ่มเมื่อญี่ปุ่นขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลี จีน ไต้หวัน แล้วเรื่อยลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี "โกโบริ" กับ "อังศุมาลิน" ในเรื่องเล่านี้ มีแต่ทหารญี่ปุ่นกับ sex slaves หรือบรรดาหญิงชาวเกาหลี ชาวจีน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมายที่ถูกข่มขืน ถูกส่งลงเรือไปเป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่นในต่างแดน จำวนมากตั้งครรภ์และถูกทอดทิ้ง (หรืออังศุมาลินใฝ่ฝันอยากเป็นดั่งหญิงเหล่านี้) 

พิพิธภัณฑ์นี้เล่าอย่างไม่ขวยเขินว่า การขยายอำนาจในนามพระราชานี้ ทหารญี่ปุ่นได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปทั่ว กองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นค่าแม้กระทั่งชีวิตของทหารญี่ปุ่นด้วยกันเอง กองทัพญี่ปุ่นปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างโหดร้าย กองทัพญี่ปุ่นใช้แบคทีเรียกับแกสพิษเป็นอาวุธด้วย 

ภาพหลอนส่วนหนึ่งที่ชวนให้ขนลุก เสมือนหนึ่งเห็นชนกลุ่มน้อยในบางประเทศที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และวัฒนธรรมของศัตรูแห่งกลุ่มชนตนเอง คือการเดินขวนเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นโดยนักเรียนประถมต้นในประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไต้หวัน จนทุกวันนี้ยังมีประชากรไต้หวันบางส่วนพูดภาษาญี่ปุ่น 

พิพิธภัณฑ์เล่าถึงกระบวนการต่อต้านสงคราม ทั้งในประเทศต่างๆ ที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง และชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการก่อสงครามของญี่ปุ่นเอง (again) ไม่เห็นเขาเล่าว่ามีคู่รักอย่างโกโบริกับอังศุมาลินที่ไหนในโลกหรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะลำเอียงเข้าข้างการตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามมากเกินไป ไม่รู้จักมองแง่งามของสงครามการขยายอำนาของญี่ปุ่นเสียบ้าง แย่จริง 

ในส่วนนั้น พิพิธภัณฑ์ก็ไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับการให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อของสงคราม เพราะนอกจากคำถามอื่นใดแล้ว พลเรือนที่ต้องตายไป 100,000 คนในคืนเดียวที่มีการโจมตีทางอากาศที่โตเกียวโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และพลเรือนบริสุทธิ์ที่ต้องตายและได้รับผลกระทบอีกนับไม่ถ้วนจากระเบิดปรมาณูของอเมริกันล่ะ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ใครคืออาชญากรสงครามในการก่อกรรมนี้ ไม่เห็นโลกดำเนินการใดๆ 

อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องกระบวนการสันติภาพในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ และกลับกลายเป็นว่า ในนามของสันติภาพและประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาก่อสงครามไปทั่วโลก 

หากจะมีพิพิธภัณฑ์สันติภาพในประเทศไทย เราจะกล้าตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันทหารหรือไม่ ทหารจะยอมให้เล่าเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เราจะเล่าเรื่องสงครามกลางเมือง สงครามที่รัฐกระทำต่อประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เราจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างไร  

เราจะระลึกถึงความโหดร้ายของความรุนแรงแล้วเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพได้หรือไม่ หากเราไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาได้ หรือว่าประเทศไทยยังไม่มีสงครามที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึงสันติภาพ หรือว่าเราจะต้องฆ่ากันให้มากขึ้น สันติภาพจึงจะเกิดขึ้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ