Skip to main content

วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยริซูเมคาน (Ritsumeikan University) ในปี 1992 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ว่าด้วยเรื่องสันติภาพแห่งเดียวในโลกที่ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย (เขาว่าอย่างนั้น) มีผู้รู้เพิ่มเติมข้อมูลให้อีกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม แม้ระยะแรกจะจำเป็นต้องเข้าร่วมเพราะถูกบังคับ ในท้ายสุด มหาวิทยาลัยริซูเมคานจึงเป็นหัวหอกในการต้านการนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามและมีดำริสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพโลกนี้ขึ้นมา

สิ่งที่หนึ่งน่านับถือคือ ความกล้าหาญ ของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนคือ "ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย" ที่ยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า "คนเราฆ่ากัน แล้วคนที่ฆ่าเขาไม่ใช่ใครที่ไหน คือทหารหาญของประเทศเราเอง ที่เที่ยวออกไปฆ่าใครต่อใคร ข่มเขงชำเราใครต่อใครเขาไปทั่วหล้า ในนามของ ทหารของพระราชา" 

ถ้าจะแบ่งพื้นที่การจัดแสดง กว่าครึ่งหนึ่งของการจัดแสดงว่าด้วย "สงคราม 15 ปี" หรือที่ชาวโลกรู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นเขานับจากปี 1931-1945 (ปีที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกท้ิงที่ฮิโรชิมาและนากาซากิ) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่อ้อมค้อม เริ่มเรื่องด้วยกระบวนการก่อตัวของสงคราม ที่ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมา สร้าง "สังคมแห่งสงคราม" ให้คนยอมรับและเข้าร่วมอย่างกระตือรือล้นในทุกๆ มิติ ทุกๆ ส่วนของสังคม กระทั่งการกินอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามที่ "เราต้องอดทน" จนกระทั่งเมื่อดูรายละเอียดไปเรื่อยๆ คนดูอาจถามว่า "เขาจะก่อสงครามไปเพื่ออะไร" 

ความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม 15 ปีเริ่มเมื่อญี่ปุ่นขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลี จีน ไต้หวัน แล้วเรื่อยลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี "โกโบริ" กับ "อังศุมาลิน" ในเรื่องเล่านี้ มีแต่ทหารญี่ปุ่นกับ sex slaves หรือบรรดาหญิงชาวเกาหลี ชาวจีน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมายที่ถูกข่มขืน ถูกส่งลงเรือไปเป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่นในต่างแดน จำวนมากตั้งครรภ์และถูกทอดทิ้ง (หรืออังศุมาลินใฝ่ฝันอยากเป็นดั่งหญิงเหล่านี้) 

พิพิธภัณฑ์นี้เล่าอย่างไม่ขวยเขินว่า การขยายอำนาจในนามพระราชานี้ ทหารญี่ปุ่นได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปทั่ว กองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นค่าแม้กระทั่งชีวิตของทหารญี่ปุ่นด้วยกันเอง กองทัพญี่ปุ่นปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างโหดร้าย กองทัพญี่ปุ่นใช้แบคทีเรียกับแกสพิษเป็นอาวุธด้วย 

ภาพหลอนส่วนหนึ่งที่ชวนให้ขนลุก เสมือนหนึ่งเห็นชนกลุ่มน้อยในบางประเทศที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และวัฒนธรรมของศัตรูแห่งกลุ่มชนตนเอง คือการเดินขวนเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นโดยนักเรียนประถมต้นในประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไต้หวัน จนทุกวันนี้ยังมีประชากรไต้หวันบางส่วนพูดภาษาญี่ปุ่น 

พิพิธภัณฑ์เล่าถึงกระบวนการต่อต้านสงคราม ทั้งในประเทศต่างๆ ที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง และชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการก่อสงครามของญี่ปุ่นเอง (again) ไม่เห็นเขาเล่าว่ามีคู่รักอย่างโกโบริกับอังศุมาลินที่ไหนในโลกหรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะลำเอียงเข้าข้างการตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามมากเกินไป ไม่รู้จักมองแง่งามของสงครามการขยายอำนาของญี่ปุ่นเสียบ้าง แย่จริง 

ในส่วนนั้น พิพิธภัณฑ์ก็ไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับการให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อของสงคราม เพราะนอกจากคำถามอื่นใดแล้ว พลเรือนที่ต้องตายไป 100,000 คนในคืนเดียวที่มีการโจมตีทางอากาศที่โตเกียวโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และพลเรือนบริสุทธิ์ที่ต้องตายและได้รับผลกระทบอีกนับไม่ถ้วนจากระเบิดปรมาณูของอเมริกันล่ะ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ใครคืออาชญากรสงครามในการก่อกรรมนี้ ไม่เห็นโลกดำเนินการใดๆ 

อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องกระบวนการสันติภาพในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ และกลับกลายเป็นว่า ในนามของสันติภาพและประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาก่อสงครามไปทั่วโลก 

หากจะมีพิพิธภัณฑ์สันติภาพในประเทศไทย เราจะกล้าตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันทหารหรือไม่ ทหารจะยอมให้เล่าเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เราจะเล่าเรื่องสงครามกลางเมือง สงครามที่รัฐกระทำต่อประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เราจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างไร  

เราจะระลึกถึงความโหดร้ายของความรุนแรงแล้วเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพได้หรือไม่ หากเราไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาได้ หรือว่าประเทศไทยยังไม่มีสงครามที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึงสันติภาพ หรือว่าเราจะต้องฆ่ากันให้มากขึ้น สันติภาพจึงจะเกิดขึ้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์