Skip to main content

วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยริซูเมคาน (Ritsumeikan University) ในปี 1992 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ว่าด้วยเรื่องสันติภาพแห่งเดียวในโลกที่ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย (เขาว่าอย่างนั้น) มีผู้รู้เพิ่มเติมข้อมูลให้อีกว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นแห่งหนึ่งที่ต่อต้านการเข้าร่วมสงคราม แม้ระยะแรกจะจำเป็นต้องเข้าร่วมเพราะถูกบังคับ ในท้ายสุด มหาวิทยาลัยริซูเมคานจึงเป็นหัวหอกในการต้านการนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามและมีดำริสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพโลกนี้ขึ้นมา

สิ่งที่หนึ่งน่านับถือคือ ความกล้าหาญ ของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งแน่นอนคือ "ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย" ที่ยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า "คนเราฆ่ากัน แล้วคนที่ฆ่าเขาไม่ใช่ใครที่ไหน คือทหารหาญของประเทศเราเอง ที่เที่ยวออกไปฆ่าใครต่อใคร ข่มเขงชำเราใครต่อใครเขาไปทั่วหล้า ในนามของ ทหารของพระราชา" 

ถ้าจะแบ่งพื้นที่การจัดแสดง กว่าครึ่งหนึ่งของการจัดแสดงว่าด้วย "สงคราม 15 ปี" หรือที่ชาวโลกรู้จักกันในนามสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นเขานับจากปี 1931-1945 (ปีที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกท้ิงที่ฮิโรชิมาและนากาซากิ) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่อ้อมค้อม เริ่มเรื่องด้วยกระบวนการก่อตัวของสงคราม ที่ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมา สร้าง "สังคมแห่งสงคราม" ให้คนยอมรับและเข้าร่วมอย่างกระตือรือล้นในทุกๆ มิติ ทุกๆ ส่วนของสังคม กระทั่งการกินอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของสงครามที่ "เราต้องอดทน" จนกระทั่งเมื่อดูรายละเอียดไปเรื่อยๆ คนดูอาจถามว่า "เขาจะก่อสงครามไปเพื่ออะไร" 

ความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม 15 ปีเริ่มเมื่อญี่ปุ่นขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ ทั้งเกาหลี จีน ไต้หวัน แล้วเรื่อยลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี "โกโบริ" กับ "อังศุมาลิน" ในเรื่องเล่านี้ มีแต่ทหารญี่ปุ่นกับ sex slaves หรือบรรดาหญิงชาวเกาหลี ชาวจีน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากมายที่ถูกข่มขืน ถูกส่งลงเรือไปเป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่นในต่างแดน จำวนมากตั้งครรภ์และถูกทอดทิ้ง (หรืออังศุมาลินใฝ่ฝันอยากเป็นดั่งหญิงเหล่านี้) 

พิพิธภัณฑ์นี้เล่าอย่างไม่ขวยเขินว่า การขยายอำนาจในนามพระราชานี้ ทหารญี่ปุ่นได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปทั่ว กองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นค่าแม้กระทั่งชีวิตของทหารญี่ปุ่นด้วยกันเอง กองทัพญี่ปุ่นปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างโหดร้าย กองทัพญี่ปุ่นใช้แบคทีเรียกับแกสพิษเป็นอาวุธด้วย 

ภาพหลอนส่วนหนึ่งที่ชวนให้ขนลุก เสมือนหนึ่งเห็นชนกลุ่มน้อยในบางประเทศที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์และวัฒนธรรมของศัตรูแห่งกลุ่มชนตนเอง คือการเดินขวนเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นโดยนักเรียนประถมต้นในประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในไต้หวัน จนทุกวันนี้ยังมีประชากรไต้หวันบางส่วนพูดภาษาญี่ปุ่น 

พิพิธภัณฑ์เล่าถึงกระบวนการต่อต้านสงคราม ทั้งในประเทศต่างๆ ที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง และชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการก่อสงครามของญี่ปุ่นเอง (again) ไม่เห็นเขาเล่าว่ามีคู่รักอย่างโกโบริกับอังศุมาลินที่ไหนในโลกหรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะลำเอียงเข้าข้างการตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามมากเกินไป ไม่รู้จักมองแง่งามของสงครามการขยายอำนาของญี่ปุ่นเสียบ้าง แย่จริง 

ในส่วนนั้น พิพิธภัณฑ์ก็ไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับการให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อของสงคราม เพราะนอกจากคำถามอื่นใดแล้ว พลเรือนที่ต้องตายไป 100,000 คนในคืนเดียวที่มีการโจมตีทางอากาศที่โตเกียวโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และพลเรือนบริสุทธิ์ที่ต้องตายและได้รับผลกระทบอีกนับไม่ถ้วนจากระเบิดปรมาณูของอเมริกันล่ะ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ใครคืออาชญากรสงครามในการก่อกรรมนี้ ไม่เห็นโลกดำเนินการใดๆ 

อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องกระบวนการสันติภาพในโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ และกลับกลายเป็นว่า ในนามของสันติภาพและประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาก่อสงครามไปทั่วโลก 

หากจะมีพิพิธภัณฑ์สันติภาพในประเทศไทย เราจะกล้าตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันทหารหรือไม่ ทหารจะยอมให้เล่าเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เราจะเล่าเรื่องสงครามกลางเมือง สงครามที่รัฐกระทำต่อประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เราจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างไร  

เราจะระลึกถึงความโหดร้ายของความรุนแรงแล้วเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพได้หรือไม่ หากเราไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาได้ หรือว่าประเทศไทยยังไม่มีสงครามที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึงสันติภาพ หรือว่าเราจะต้องฆ่ากันให้มากขึ้น สันติภาพจึงจะเกิดขึ้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน