Skip to main content

การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้

หากดูเฉพาะในฝ่ายของผู้ชุมนุมเองแล้ว ผมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมมีความแตกต่างกันมากมายหลายกลุ่ม หลายวัตถุประสงค์ ภายใต้จุดร่วมเดียวกันคือ "หวังดีต่อประเทศชาติ" หากเรายึดเอาความหวังดีต่อประเทศชาติเป็นแกนพิจารณาหลัก ผมว่าคู่ขัดแย้งต่างๆ ก็น่าจะพอคุยกันได้

สำหรับ กปปส. พรรคปชป. และกลุ่มมวลชนที่ร่วมชุมนุมกลุ่มอื่นๆ พวกเขาคงอยากได้อำนาจมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และกำจัดทักษิณให้สิ้นซาก ส่วนผู้พยายามเป็น king maker ก็คงคิดว่าหากกำจัดทักษิณได้และครองอำนาจไว้สักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถทำให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปอย่างที่พวกเขามั่นใจได้ แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น พวกเขากำลังเอาชีวิต ความปลอดภัยของประชาชนเป็นตัวประกันหรือไม่ 

ประชาชนที่เข้าร่วมทั่วไปจำนวนมากเขาอยากเห็นอะไร ผมเชื่อโดยสนิทใจว่า พวกเขาอยากเห็นประเทศชาติเจริญขึ้นในประเด็นใหญ่ที่มีไม่น่าจะเกิน 2 ประเด็น คือการธำรงสถาบันกษัตริย์ไว้ และการกำจัดนักการเมืองโกง 

หากปัญหามีเท่านี้ เราควรมาพิจารณาว่า การรักษาสถาบันฯ ไว้และการกำจัดคนโกงนั้น ทำด้วยวิธีที่ศิวิไลซ์กว่าการชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้หรือไม่ กระบวนการยุติธรรมที่เรามีอยู่ก็ทำงานกำจัดคนโกงและปกป้องสถาบันฯ มาตลอดไม่ใช่หรือ

ถ้าอย่างนั้น คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การรักษาสถาบันฯ และการไล่คนโกงนั้น เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองหนึ่ง ของคนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง จากอีกกลุ่มการเมืองหนึ่ง อีกชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง แกนนำการชุมนุมและพวกผู้ถือหางระดับสูง พวกเขานำเอาความหวังดีต่อประเทศชาติของผู้เข้าร่วมชุมนุม มาเป็นข้ออ้างหล่อเลี้ยงการชุมนุม ที่ตัวเขาเองมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อตนเองหรือไม่ 

และเมื่อมาถึงทุกวันนี้แล้ว ที่เราห็นความสูญเสียต่อประชาชนอันเนื่องมาจากความรุนแรงจากฝ่ายต่างๆ เราเห็นความเกลียดชัง ละเลงเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ความเกลียดชังที่สร้างด้วย "ถ้อยคำเหยียดคน" (hate speech) หรือคำพูดรุนแรงทำร้ายจิตใจกันนั่นแหละ ที่มันจะกลับมาหล่อเลี้ยง "ความรุนแรงทางตรง" ด้วยกระสุนปืน 

ในบรรดากลุ่มนักกิจกรรมและนักวิชาการ ผมเห็นความหวังดี ความกระตือรือล้นของคนทุกกลุ่ม แต่ที่น่าเสียใจคือ คนบางคนดูจะให้ความสำคัญกับเป้าหมาย มากกว่าวิธีการ และผมคิดว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมแตกหักกับเพื่อนๆ ที่ยังหนุนการชุมนุมอยู่ 

ที่ร้ายกว่านั้นคือ พวกนักวิชาการและ NGOs ที่กระสันจะปฏิรูป พวกเขาดูเหมือนจะยอมเลี้ยงวิกฤตของประเทศเอาไว้เป็นตัวประกัน เพื่อแลกโอกาสที่จะให้ตนได้อำนาจปฏิรูปนอกวิถีทางประชาธิปไตย 

สุดท้าย ผมก็สงสัยว่า เราจะปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย หรือจะยอมสูญเสียชีวิตคนมากไปกว่านี้อีก เพียงเพื่อพยุงอำนาจต่อรองไว้ จะต้องรอให้สูญเสียอีกเท่าไหร่ พวกคุณที่ชุมนุมอยู่และที่เลี้ยงกระแสการชุมนุมไว้จึงจะยอมกลับมาสนับสนุนการเลือกตั้ง หยุดการชุมนุม เปิดการเจรจา แล้วค่อยคิดเรื่องการปฏิรูปกันหลังจากที่อะไรต่อมิอะไรมันสงบนิ่งกว่านี้ ไม่ดีกว่าหรือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย