Skip to main content

การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้

หากดูเฉพาะในฝ่ายของผู้ชุมนุมเองแล้ว ผมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมมีความแตกต่างกันมากมายหลายกลุ่ม หลายวัตถุประสงค์ ภายใต้จุดร่วมเดียวกันคือ "หวังดีต่อประเทศชาติ" หากเรายึดเอาความหวังดีต่อประเทศชาติเป็นแกนพิจารณาหลัก ผมว่าคู่ขัดแย้งต่างๆ ก็น่าจะพอคุยกันได้

สำหรับ กปปส. พรรคปชป. และกลุ่มมวลชนที่ร่วมชุมนุมกลุ่มอื่นๆ พวกเขาคงอยากได้อำนาจมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และกำจัดทักษิณให้สิ้นซาก ส่วนผู้พยายามเป็น king maker ก็คงคิดว่าหากกำจัดทักษิณได้และครองอำนาจไว้สักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถทำให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปอย่างที่พวกเขามั่นใจได้ แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น พวกเขากำลังเอาชีวิต ความปลอดภัยของประชาชนเป็นตัวประกันหรือไม่ 

ประชาชนที่เข้าร่วมทั่วไปจำนวนมากเขาอยากเห็นอะไร ผมเชื่อโดยสนิทใจว่า พวกเขาอยากเห็นประเทศชาติเจริญขึ้นในประเด็นใหญ่ที่มีไม่น่าจะเกิน 2 ประเด็น คือการธำรงสถาบันกษัตริย์ไว้ และการกำจัดนักการเมืองโกง 

หากปัญหามีเท่านี้ เราควรมาพิจารณาว่า การรักษาสถาบันฯ ไว้และการกำจัดคนโกงนั้น ทำด้วยวิธีที่ศิวิไลซ์กว่าการชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้หรือไม่ กระบวนการยุติธรรมที่เรามีอยู่ก็ทำงานกำจัดคนโกงและปกป้องสถาบันฯ มาตลอดไม่ใช่หรือ

ถ้าอย่างนั้น คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การรักษาสถาบันฯ และการไล่คนโกงนั้น เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองหนึ่ง ของคนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง จากอีกกลุ่มการเมืองหนึ่ง อีกชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง แกนนำการชุมนุมและพวกผู้ถือหางระดับสูง พวกเขานำเอาความหวังดีต่อประเทศชาติของผู้เข้าร่วมชุมนุม มาเป็นข้ออ้างหล่อเลี้ยงการชุมนุม ที่ตัวเขาเองมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อตนเองหรือไม่ 

และเมื่อมาถึงทุกวันนี้แล้ว ที่เราห็นความสูญเสียต่อประชาชนอันเนื่องมาจากความรุนแรงจากฝ่ายต่างๆ เราเห็นความเกลียดชัง ละเลงเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ความเกลียดชังที่สร้างด้วย "ถ้อยคำเหยียดคน" (hate speech) หรือคำพูดรุนแรงทำร้ายจิตใจกันนั่นแหละ ที่มันจะกลับมาหล่อเลี้ยง "ความรุนแรงทางตรง" ด้วยกระสุนปืน 

ในบรรดากลุ่มนักกิจกรรมและนักวิชาการ ผมเห็นความหวังดี ความกระตือรือล้นของคนทุกกลุ่ม แต่ที่น่าเสียใจคือ คนบางคนดูจะให้ความสำคัญกับเป้าหมาย มากกว่าวิธีการ และผมคิดว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมแตกหักกับเพื่อนๆ ที่ยังหนุนการชุมนุมอยู่ 

ที่ร้ายกว่านั้นคือ พวกนักวิชาการและ NGOs ที่กระสันจะปฏิรูป พวกเขาดูเหมือนจะยอมเลี้ยงวิกฤตของประเทศเอาไว้เป็นตัวประกัน เพื่อแลกโอกาสที่จะให้ตนได้อำนาจปฏิรูปนอกวิถีทางประชาธิปไตย 

สุดท้าย ผมก็สงสัยว่า เราจะปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย หรือจะยอมสูญเสียชีวิตคนมากไปกว่านี้อีก เพียงเพื่อพยุงอำนาจต่อรองไว้ จะต้องรอให้สูญเสียอีกเท่าไหร่ พวกคุณที่ชุมนุมอยู่และที่เลี้ยงกระแสการชุมนุมไว้จึงจะยอมกลับมาสนับสนุนการเลือกตั้ง หยุดการชุมนุม เปิดการเจรจา แล้วค่อยคิดเรื่องการปฏิรูปกันหลังจากที่อะไรต่อมิอะไรมันสงบนิ่งกว่านี้ ไม่ดีกว่าหรือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก