Skip to main content

ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม

เป็นต้นว่า อาหารมีความหมายอย่างไร (เราอ่านเรื่องสามเหลี่ยมอาหารของเลวี่-สโตรทส์ กับอาหารต้องห้ามของแมร ดักลาส) ความหมายของอาหารแต่ละยุคต่างกันอย่างไร (เราอ่านเรื่องข้าวญี่ปุ่นของโอนูกิ-เทียนี่ย์ความเป็นมาของอาหารสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมวัฒนธรรมอย่างไร (เราอ่านเรื่องน้ำตาลของมินทซ์อาหารกับการแบ่งแยกชนชั้น (เราอ่านเรื่องอาหารการกินกับการแยกชนชั้นของบูร์ดิเออ) เรื่องผัสสะกับอาหารและสังคม (เราอ่านเรื่องผัสสะของชาวเกาะโทรเบียนโดยฮาวส์) 

 

สุดท้าย เราอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยสองชิ้น หนึ่งคืองานศึกษาประวัติศาสตร์อาหารจีนในกรุงเทพฯ (ของธเนศ วงศ์ยานนาวา) และสองคือตำรับอาหารชาววังในกรุงเทพฯ (ของสุนทรี อาสะไวย์) น่าสนใจว่า อาหารชาววังเต็มไปด้วยอาหารที่ปัจจุบันนี้ต้องเรียกว่า "ฟิวชั่น" เพราะมีอาหารดัดแปลงมากมาย นัยว่าเป็นการแข่งกันระหว่างวังต่างๆ อีกชิ้นอ่านความเปลี่ยนแปลงของอาหารจีนในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอร่อยที่เคลื่อนผ่านยุคต่างๆ ผ่านหลักคิดความอร่อยต่างยุค กระทั่งจะหา "อาหารจีนแท้" ที่ไหนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ที่ไหนๆ ในโลกก็แทบไม่ได้ทั้งสิ้น 

 

คำถามคือ ความเข้าใจอาหารดังกล่าว จะทำให้คนเขียนและคนอ่านบทความประวัติศาสตร์อาหารจีน หรือคนเขียนบทความอาหารชาววัง ปลงต่ออาหารจีน อาหารไทย แล้วกินอะไรก็ได้ เพียงเพราะเขาเองได้ค้นพบว่า อาหารจีน อาหารไทย ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครกิน มันก็อร่อยแบบของมันทั้งนั้นแหละ 

หรือเราจะเลือกกินอาหารเพียงเพราะมันเป็นรสนิยมส่วนตัวของเรา เพราะไม่ว่าจะกินหูฉลามร้านไหนในกรุงเทพฯ ก็ "ไม่แท้" จะกินผัดผักโสภนที่ไหน ก็ไม่จริงทั้งนั้น จะกินขนมไทย กินแกงไทยอะไร ก็ไม่แท้ เพราะล้วนถูกตัดแต่งดัดแปลงทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือ

แล้วอย่างนี้เราจะเรียกว่าอะไรอร่อยกันได้อย่างไร จะให้ความอร่อยเป็นเรื่องของท้องถิ่น ช่วงเวลาขอประวัติศาสตร์ และความชอบส่วนตนของคนเฉพาะกลุ่ม เท่านั้นหรือ มีความเป็นสถาบันของความอร่อยอยู่หรือไม่ ความอร่อยเชิงสังคมถูกสถาปนาขึ้นมาได้อย่างไร  

ต่อคำถามเหล่านี้ ผมลองนึกย้อนกลับไปยังข้อเสนอ (ของปิแอร์ บูร์ดิเออ) ที่เสนอให้เห็นถึงพลังดึงดันกันระหว่าง autonomous principle หรือพลังที่ก่อให้เกิดการสร้างความเป็นเอกเทศของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม กับ heteronomous principle หรือพลังที่ผลักให้ผลิตภันฑ์ทางวัฒนธรรมหมดความเป็นเอกเทศ ทั้งสองพลังไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกันอย่างที่ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียว ทั้งสองพลังเกี่ยวพันกับอำนาจทางการเมืองและชนชั้น 

คำถามต่อมาจากข้อเสนอนั้นคือ อาหารอร่อยคืออาหารที่มีค่าทางวัฒนธรรมค่อนไปทางความเป็นเอกเทศ หรือค่อนไปทางการทำลายความเป็นเอกเทศ อาหารอร่อย อร่อยสำหรับใครคนเดียว หรือสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มน้อยหรือหรือหลายๆ คน อาหาร mass food อย่าง "ฟาสต์ฟู้ด" กับอาหารเฉพาะถิ่นอย่าง "ลูทะฟิช" อร่อยหรือไม่อร่อยอย่างไร เพราะอะไร

สำหรับมื้อเมื่อวันก่อน เสียดายอย่างเดียวที่อาหารจานเด็ดของร้านคือปลาตะเพียนทอดหมดเสียก่อน แต่ก็ยังดีที่เราไม่ได้คุยกันเรื่องอาหาร มีแต่กินอาหารแล้วคุยกันเรื่องอื่นๆ ไม่อย่างนั้นอาหารคงหมดอร่อยลงไปมากทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้