Skip to main content

ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม

เป็นต้นว่า อาหารมีความหมายอย่างไร (เราอ่านเรื่องสามเหลี่ยมอาหารของเลวี่-สโตรทส์ กับอาหารต้องห้ามของแมร ดักลาส) ความหมายของอาหารแต่ละยุคต่างกันอย่างไร (เราอ่านเรื่องข้าวญี่ปุ่นของโอนูกิ-เทียนี่ย์ความเป็นมาของอาหารสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมวัฒนธรรมอย่างไร (เราอ่านเรื่องน้ำตาลของมินทซ์อาหารกับการแบ่งแยกชนชั้น (เราอ่านเรื่องอาหารการกินกับการแยกชนชั้นของบูร์ดิเออ) เรื่องผัสสะกับอาหารและสังคม (เราอ่านเรื่องผัสสะของชาวเกาะโทรเบียนโดยฮาวส์) 

 

สุดท้าย เราอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยสองชิ้น หนึ่งคืองานศึกษาประวัติศาสตร์อาหารจีนในกรุงเทพฯ (ของธเนศ วงศ์ยานนาวา) และสองคือตำรับอาหารชาววังในกรุงเทพฯ (ของสุนทรี อาสะไวย์) น่าสนใจว่า อาหารชาววังเต็มไปด้วยอาหารที่ปัจจุบันนี้ต้องเรียกว่า "ฟิวชั่น" เพราะมีอาหารดัดแปลงมากมาย นัยว่าเป็นการแข่งกันระหว่างวังต่างๆ อีกชิ้นอ่านความเปลี่ยนแปลงของอาหารจีนในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอร่อยที่เคลื่อนผ่านยุคต่างๆ ผ่านหลักคิดความอร่อยต่างยุค กระทั่งจะหา "อาหารจีนแท้" ที่ไหนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ที่ไหนๆ ในโลกก็แทบไม่ได้ทั้งสิ้น 

 

คำถามคือ ความเข้าใจอาหารดังกล่าว จะทำให้คนเขียนและคนอ่านบทความประวัติศาสตร์อาหารจีน หรือคนเขียนบทความอาหารชาววัง ปลงต่ออาหารจีน อาหารไทย แล้วกินอะไรก็ได้ เพียงเพราะเขาเองได้ค้นพบว่า อาหารจีน อาหารไทย ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครกิน มันก็อร่อยแบบของมันทั้งนั้นแหละ 

หรือเราจะเลือกกินอาหารเพียงเพราะมันเป็นรสนิยมส่วนตัวของเรา เพราะไม่ว่าจะกินหูฉลามร้านไหนในกรุงเทพฯ ก็ "ไม่แท้" จะกินผัดผักโสภนที่ไหน ก็ไม่จริงทั้งนั้น จะกินขนมไทย กินแกงไทยอะไร ก็ไม่แท้ เพราะล้วนถูกตัดแต่งดัดแปลงทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือ

แล้วอย่างนี้เราจะเรียกว่าอะไรอร่อยกันได้อย่างไร จะให้ความอร่อยเป็นเรื่องของท้องถิ่น ช่วงเวลาขอประวัติศาสตร์ และความชอบส่วนตนของคนเฉพาะกลุ่ม เท่านั้นหรือ มีความเป็นสถาบันของความอร่อยอยู่หรือไม่ ความอร่อยเชิงสังคมถูกสถาปนาขึ้นมาได้อย่างไร  

ต่อคำถามเหล่านี้ ผมลองนึกย้อนกลับไปยังข้อเสนอ (ของปิแอร์ บูร์ดิเออ) ที่เสนอให้เห็นถึงพลังดึงดันกันระหว่าง autonomous principle หรือพลังที่ก่อให้เกิดการสร้างความเป็นเอกเทศของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม กับ heteronomous principle หรือพลังที่ผลักให้ผลิตภันฑ์ทางวัฒนธรรมหมดความเป็นเอกเทศ ทั้งสองพลังไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกันอย่างที่ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียว ทั้งสองพลังเกี่ยวพันกับอำนาจทางการเมืองและชนชั้น 

คำถามต่อมาจากข้อเสนอนั้นคือ อาหารอร่อยคืออาหารที่มีค่าทางวัฒนธรรมค่อนไปทางความเป็นเอกเทศ หรือค่อนไปทางการทำลายความเป็นเอกเทศ อาหารอร่อย อร่อยสำหรับใครคนเดียว หรือสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มน้อยหรือหรือหลายๆ คน อาหาร mass food อย่าง "ฟาสต์ฟู้ด" กับอาหารเฉพาะถิ่นอย่าง "ลูทะฟิช" อร่อยหรือไม่อร่อยอย่างไร เพราะอะไร

สำหรับมื้อเมื่อวันก่อน เสียดายอย่างเดียวที่อาหารจานเด็ดของร้านคือปลาตะเพียนทอดหมดเสียก่อน แต่ก็ยังดีที่เราไม่ได้คุยกันเรื่องอาหาร มีแต่กินอาหารแล้วคุยกันเรื่องอื่นๆ ไม่อย่างนั้นอาหารคงหมดอร่อยลงไปมากทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์