Skip to main content

การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว

ผมมากัวลาลัมเปอร์ (KL) ครั้งนี้เพื่อมาเสนอผลงานทางวิชาการ มาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ครั้งนี้ดีหน่อยที่มีเวลามาก และอาจจะเพราะมาเป็นครั้งที่สี่แล้ว ก็เลยมีโอกาสที่การรับรู้ส่วนอื่นๆ นอกจากผัสสะแรกๆ คือการเห็นจะทำงาน ทำให้ได้มีโอกาสรับรู้และรู้สึกถึงอะไรอื่นๆ อีกมากมาย 

ที่สนามบิน LCCT (ที่จอดหลักของ Air Asia) เป็นสนามบิน low cost ที่ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อคราวก่อนๆ มาก็ไม่ได้สังเกตดีนอกจากความงุนงงว่า ทำไมมัน "เปลือยๆ" อย่างนี้ คือพื้นที่ส่วนใหญ่มันอยู่นอกอาคาร ไม่ติดแอร์ การตรวจคนเข้าเมืองก็รอนาน แต่นั่นก็ทำให้ไม่ต้องรอกระเป๋า เข้ามาก็ไปเลือกเอาจากที่พนักงานนำออกมาจากสายพานเรียงให้เรียบร้อยแล้วได้เลย การเดินทางเข้าเมืองก็นับว่าประหยัด เมื่อเทียบกับการนั่งรถแท็กซี่ราคาแพงใน KL 

เมื่อหยิบกระเป๋ามาแล้ว ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี ผมจึงมองหาของกิน เจอร้านอาหาร "พื้นเมือง" ร้านหนึ่ง บรรยายกาศจัดแบบที่คนกรุงเทพฯ จะต้องรู้สึกเหมือนไปกินร้านอาหารจีนเก่าๆ ที่โต๊ะ-เก้าอี้เป็นไม้สีเข้มๆ พื้นโต๊ะปูด้วยหินอ่อน (ยังพอมีร้านแบบนี้อยู่ในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัดบางแห่ง) ผมตั้งใจหาอะไรที่ไม่รู้จักมากิน 

แต่ไม่ว่าจะอากาศร้อนอย่างไร (สัก 30 เซลเซียสกว่าๆ ได้) ก็ต้องขอชานมร้อนด้วยสักแก้ว เพราะชาพวกนี้หากินยากมากในกรุงเทพฯ เมื่อชายกมา รสชาติจัดจ้านสมใจอยาก จัดขนาดต้องใส่น้ำตาลจนหมดซอง ซึ่งปกติผมจะไม่ใส่น้ำตาลมากขนาดนั้น ไม่ใส่เลยด้วยซ้ำหากกินกาแฟ 

ส่วนอาหารจานหลัก ผมสั่ง Asam Laksa ร้อนๆ เมื่อได้เห็นและได้กินแล้ว ไม่มีวิธีไหนจะบรรยายได้ดีไปกว่าการแปลรสชาติที่เหมือนจะต่างแต่คล้ายกับจะรู้จัก ให้ตนเองและคนรู้จักเข้าใจ 

ผมแปล Asam Laksa โดยไม่รู้ภาษามาเลย์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวแก็ญส้ม" คือสำหรับผม มันมีทั้งความเป็นอาหารเวียดที่เส้นแบบ Bánh Canh ของเวียดนาม หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ก๋วยจั๊บญวน" คือเส้นใสๆ กลมๆ เหนียวนุ่ม เพียงแต่เส้น "หมี่" (ที่ร้านนี้เรียกอย่างนั้น) ที่นี่ไม่เป็นเมือกๆ แบบเส้นในประเทศไทย (ไม่รู้ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมกินที่เวียดนามก็ไม่เห็นเป็นอย่างนั้น) ปนๆ กับเป็นอาหารจีนที่มันเป็นก๋วยเตี๋ยว ขณะเดียวกันมันก็ "แขก" หรือน่าจะ "มาเลย์"

ที่สะดุดลิ้นมากคือน้ำแกง ผมเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็น "แกงส้ม" แบบภาคกลางของประเทศไทย เหมือนแกงส้มที่โขลกเนื้อปลาลงไปกับน้ำแกง แถมน้ำแกงยังเหมือนใส่กระชาย ไม่ใช่ขมิ้น รสออกเปรี้ยวนิดๆ แบบเปรี้ยวแหลม ไม่เปรี้ยวแบบใส่มะขามเปียก แต่เขาก็ตัดรสเปรี้ยวด้วยความฝาดของหัวปลีซอย โรยมาพร้อมหอมแดงซอย กับรสซ่าปร่าลิ้นของสะระแหน่ กับรสเผ็ดแทรกอยู่แต่ไม่มาก เขาโรยพริกแดงซอยมาด้วย ทำให้ได้ทั้งสี ทั้งรส ทั้งกลิ่น ทั้งสัมผัส

อาหารจานนี้จึงแปลก แต่ก็พอจะแปลได้ แต่ก็ได้แค่แปล ไม่สามารถเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาแบบที่มันเป็นได้ เพราะผมไม่ได้รู้จักบริบทของมันดีพอ ไม่รู้ว่าใครกินอาหารประเภทนี้ ใครทำ น่าจะกินเมื่อไหร่ มีโอกาสเฉพาะของมันไหม ปลาที่ใช้ควรเป็นปลาอะไรแน่ รสน่าจะไปทางไหนกันแน่ ใส่อะไรเคียงดีที่สุด ฯลฯ

แต่สำหรับผม มันอร่อย อร่อยแบบที่เข้าใจได้ด้วย แต่ก็อร่อยตามความเข้าใจของตนเอง อร่อยอยู่คนเดียวตามจินตนาการที่กินไปแปลรสไป ชิมไปในหัวก็นึกตีความอ่านไปว่า "มันคืออะไร" แบบที่พวกเราคุ้นเคย

การศึกษาข้ามวัฒนธรรมมันจึงยากก็ตรงนี้แหละ ตรงที่ทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามการแปล ไปสู่การเข้าใจที่ลึกซึ้งจากความเข้าใจของเจ้าของวัฒนธรรมเองได้ และถึงแม้จะทำได้บ้าง ทำได้มากกว่าการรับรู้แรกเริ่มก็ตาม สุดท้ายเมื่อต้องบอกเล่าให้ "พวกเรา" รับรู้ ให้รู้สึกตามด้วย ก็ยากที่จะพ้นไปจากการอธิบายด้วยอไรที่เรารับรู้ร่วมกัน มากกว่าที่คนอื่นหรือเจ้าของวัฒนธรรมอื่นๆ นั้นรับรู้อยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง