Skip to main content

สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน

บางคนถามผมว่าทำไมไปไหนต่อไหนนักหนา คำตอบเฉพาะหน้าคือ ผมไปเสนอผลงานบ้าง ไปทำงานบ้าง ไปพบเพื่อนบ้าง ไปเยี่ยมครูบ้าง แต่ตอบอย่างกว้างๆ คือ ผมไปหาอะไรใหม่ๆ

เมื่อตอบอย่างนั้นแล้วก็นึกถึงตัวเองเมื่อร่วมยี่สิบปีก่อน ที่ไม่ค่อยชอบไปท่องเที่ยว ผมอธิบายตัวเองว่า ไม่อยากไปเพราะเมื่อไปแล้วก็ต้องกลับมาอยู่ที่เดิม ไม่เห็นได้อะไรขึ้นมา แต่ส่วนหนึ่งของการอธิบายอย่างนั้นก็เพราะ การเดินทางต้องอาศัยอำนาจ เบื้องต้นคืออำนาจทางเศรษฐกิจ มากกว่านั้นคืออำนาจทางสังคมและการเมือง

นิสัยชอบเดินทางของผมคงได้มาจากการเรียนมานุษยวิทยาด้วยส่วนหนึ่ง ถ้าจะมีใครที่แยกการท่องเที่ยวกับการทำงานออกจากกันไม่ค่อยถูก ก็คงจะเป็นนักมานุษยวิทยานี่แหละ ผมถูกพี่สาวกระแนะกระแหนว่า "พวกเธอไม่เคยไปเที่ยวกันในความหมายที่คนทั่วไปเขาเที่ยวกันสักที เห็นไปไหนทีไรก็คือไปทำงานทุกที" พี่สาวก็เลยเตือนแม่ว่า อย่าคิดไปเที่ยวกับลูกชายคนนี้เลย เพราะจะไม่สนุกในแบบของนักท่องเที่ยวหรอก แถมเขาจะพาไปที่ลำบากๆ กินอะไรแปลกๆ 

ผมเคยรู้จักกวีคนหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนกันได้ เธอเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สอน creative writing หรือการเขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์ เพื่อนคนนี้มีประวัติชีวิตสุดเหวี่ยงทีเดียว เธอเป็นคนผิวสี เกิดในเวียดนามช่วงสงคราม แล้วได้รับการเลี้ยงดูโดยครอบครัวคนขาวในสหรัฐฯ แต่เธอพูดภาษาอังกฤษเลียนแบบสำเนียงคนดำ บทกวีเธอมักเกี่ยวกับสถานที่ เธอบอกว่า "ฉันต้องเดินทางทุกปี ไม่ใช่ว่าเพื่อเขียนเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ หรอก แต่เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ ๆ สำหรับงานเขียน" ผมฟังตอนนั้นแล้วเหมือนจะเข้าใจ แต่ก็งงๆ 

นั่นชวนให้นึกถึงอมิทาฟ กอช (Amitav Ghosh) นักเขียนอินเดียชื่อดังในปัจจุบัน คนทั่วไปรู้จักกอชในฐานะนักเขียนนิยายแนวประวัติศาสตร์ ที่จริงเขาจบปริญญาเอกมานุษยวิทยาจากออกซ์ฟอร์ด กอชเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ที่เลือกเรียนมานุษยาก็เพราะชอบเดินทาง แล้ววิธีเดียวที่จะเดินทางได้ดีที่สุดคือการเป็นนักมานุษยวิทยา" เพราะนักมานุษยวิทยามีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง สุดท้าย กอชบอกว่า "งานเขียนทุกชิ้นของผมคืองานวิจัยทางมานุษยวิทยา ผมไม่ได้ถือว่ามันเป็นเรื่องแต่ง (fiction) เลย"

กลับมาที่ผมเอง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เขียนอะไรยิ่งใหญ่ได้เท่ากอช ยังไม่คิดเป็นกวีอย่างเพื่อนคนนั้น แต่ก็ยังสนุกกับการเรียนรู้ผ่านการเดินทาง ถ้าจะลองตอบตัวเองอีกทีว่า ทุกวันนี้เดินทางไปโน่นมานี่มากมายเพื่ออะไร ผมก็อยากตอบว่า ส่วนหนึ่งเพื่อหาคำตอบใหม่ๆ ให้กับคำถามเดิมๆ อีกส่วนหนึ่งคือเพื่อตั้งคำถามใหม่ๆ ให้กับเรื่องราวคุ้นเคยเดิมๆ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก